รูปแบบการพัฒนาผู้นำ


             สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) ได้เริ่มโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในปี พ.ศ. 2543-2544 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการดำเนินงานทั้งโรงเรียนแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน

             เอกสารนี้เป็นรายงานผลการดำเนินงานโครงการนำร่องระดับชาติ เน้นเฉพาะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน : วิถีและวิธีไทย

             วัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อศึกาาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารต่อการรองรับการปฏิรูปการศึกษา และผลการพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อวัดสมรรถนะ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการพัฒนาสมรรถนะของผุ้บริหารกับลักษณะวิธีการบริหารจัดการการพัมนาบุคลากร การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยปฏิบัติการ การประกันคุณภาพของโรงเรียน และการพัฒนาชุมชน 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในโครงการ ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ที่พัฒนาผู้เรียน

            แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย 1) ข้อมูลจากแบบรายงานตนเอง ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของโรงเรียนในโครงการ 2) รายงานแบบสมบูรณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียน 3ป รายงานฉบับสมบูรณ์ของนักวิจัย 44 คณะ 4) ข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลในการไปเยี่ยมโรงเรียน 5 ) ข้อมูลจากการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียน ผู้ประสานงาน โครงการของโรงเรียน และนักวิจัย 4 ภาคของประเทศ รวมภาคละ 2 ครั้ง 6) ข้อมูลจากการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารและครูผู้ประสานงานที่คัดสรร (Focus Group Interview) 7 ) ข้อมูลจากการสนทนาออย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริการ ครู-อาจารย์ นักเรียน บุคลาการของโรงเรียนตัวแทนชุมชน ผู้นำองค์กรท้องถิ่น พระสงฆ์ ผู้นำศาสนา คริสต์ และอิสลาม 8) ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามเชิงการวัดและประเมินผล และ 9) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            เครื่องมือการสำรวจ วิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) ตัวบ่งชี้กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) คำถามแบบเติมข้อความเกี่ยงกับการพัฒนาบุคลากร กิจกรรมการเรียนรู้ และคุณภาพผู้เรียน 3) คำถามแบบมีโครงสร้างเพื่อใช้ในการสนทนาเจาะลึกกลุ่ม Focus Group ใน 4 ภูมิภาค และ 4) เกณฑ์การวิเคราะห์รายงานสรุปของโรงเรียน 250 โรง

ผลการศึกษาที่สำคัญ
          ก.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารโรงเรียนต่อการรองรับการปฏิรูปการศึกษา
ประกอบด้วย 1) ผู้ร่วมงานศรัทธา 2) ทำงานเป็นทีม 3) เป็น ผู้นำทางวิชาการ 4) มีวิสัยทัศน์ 5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6) มีมนุษย์สัมพันธ์ 7) มีความรู้ความสามารถในการบริหาร 8) กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบ 9) ซื่อสัตว์ โปร่งใส 10) เป็นผู้ประสานงานที่ดี 11) เป็นประชาธิปไตย 12) ส่งเสริมสนับสนุน 13) เป็นแบบอย่างที่ดี
โดยสมรรถนะที่ได้รับการจัดอันดับความสำคัญให้อยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ผู้ร่วมงานศรัทธา ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำทางวิชาการ มีวิสัยทัศน์ และมีคามคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามลำดับ
             ข.ตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
                 1) แสดงความคิดเห็นในการวางแผนพัฒนางานของโรงเรียนเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนเป็นสำคัญ 2) คิดวิเคราะห์เพื่อแปลงแนวคิดให้เป็นการปฏิบัติที่ได้ผลตามที่คิด 3) ทำงานแบบประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมงานทุกฝ่าย 4) กล้าที่จะตัดสินใจและเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนางาน 5) ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน 6) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนครู ผู้ปกครอง และชุมชน 7) จัดการให้เพื่อนครูทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8) ทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมกับบุคลากรทุกฝ่าย 9) ส่งเสริมให้ครูทุกคนเข้าร่วมเสนอแนะรูปแบบการบริหารด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน 10)วางแผนบริหารงานให้เอื้อต่อ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ครู และผู้บริหาร 11) ส่งเสริมให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมรับรู้ และดำเนินการจัดการทรัพยากรของโรงเรียน 12) ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 13) สนับสนุนให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน 14) เผยแพร่และนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงแผนงานต่อไป 15) สนับสนุนให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและตรวจสอบระบบการเงินของโรงเรียน

           หากพิจารณาสมรรถนะจากค่าเฉลี่ยตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานปรากฎว่าค่าเฉลี่ยตัวบ่งชี้ในปัจจุบันสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเข้าโครงการทุกตัวบ่งชี้ และมีความแตกต่างอย่างมีความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัวบ่งชี้

          ค. ผลการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับ
                 1. ลักษณะหรือวิธีการจัดการของผู้บริหารโรงเรียน พบว่ามีการกกระจายอำนาจในการบริหารงานในโรงเรียนมากขึ้น มีการจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้มากขึ้น มีการประชุมชี้แจงมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ มีการติดตามและประเมินผลโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ
                 2. การพัฒนาบุคลากรพบว่ามีการจัดทำโครงการมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรชัดเจนขึ้น รูปแบบและกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากรมีความหลากหลายมากขึ้น
                  3. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีการจัดกิจกรรมในการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดทำแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผู้บริหารและครู-อาจารย์ ร่วมปรึกษาและวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอนร่วมกัน มีการเชิญวิทยากรท้องถิ่น มีกาจัดหลักสูตรท้องถิ่น
                 4. การวิจัยปฏิบัติการ พบว่า ครู-อาจารย์มีการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนให้ตรงจุดมากขึ้น ในส่วนของการวิจัยปฏิบัติการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานก่อนให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กรหลายฝ่าย ทั้งผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา สมาชิกในชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น และพบว่าการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยวิธีดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทั้งโรงเรียนเป็นวิธีการที่สามารถนำไปสู่ประสิทธิผลของการปฏิรูปการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 5. การประกันคุณภาพภายในโรงเรียน พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน หลายโรงเรียนกำลังดำเนินการจัดทำคู่มือประกันคุณภาพ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินภายในสถานศึกษา
                 6. การพัฒนาชุมชน พบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือมากขึ้น ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ชุมชนมีความมั่นใจในวิธีการและคุณภาพของการจัดการศึกษาของสถานศึกษามากขึ้น ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาชุมชน

           ง. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
                 รูปแบบที่ 1 รูปแบบผู้นำสามประสาน (The Triarchic Leading Model) คือรูปแบบที่ผู้บริหาร ครู และชุมชน มีความพร้อมและตั้งใจที่จะพัฒนา รูปแบบนี้จะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้ง่าย ใช้เวลาน้อย
                 รูปแบบที่ 2 รูปแบบผู้บริหาร-ครู เป็นผู้นำ (Principal-Teachers Leading Model) คือรูปแบบที่ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ มีความพร้อมและมีความตั้งใจ แต่คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนยังไม่มีความเข้าใจและยังไม่พร้อม รูปแบบนี้ต้องอาศัยความตั้งใจและความร่วมมือของผู้บริหาร และครู-อาจารย์ต้องพยายามอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
                 รูปแบบที่ 3 รูปแบบผู้บริหารเป็นผู้นำ (The Principal Leading Model) คือรูปแบบที่ผู้บริหารมีคามตั้งใจที่จะพัฒนา แต่ครู-อาจารย์ และชุมชนยังขาดความพร้อมรูปแบบนี้ต้องใช้เวลามากในการดำเนินงาน แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าผู้บริหารกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
                 รูปแบบที่ 4 รูปแบบครู-ชุมชนเป็นผู้นำ (Teachers-Community Leading Model) คือรูปแบบที่ผู้บริหารย้ายมาจากที่อื่นในขณะที่ดรงเรียนได้ดำเนินการไปแล้ว โดยที่คณะครู-อาจารย์ และชุมชนในโรงเรียนนั้นได้รับผิดชอบอยู่ก่อนแล้ว รูปแบบนี้อาจต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่อให้ผู้บริหารได้ทำความเข้าใจและตัดสินใจ
ข้อค้นพบจากการศึกษาในการดำเนินงานครั้งนี้พบว่า ขนาดที่ตั้ง และสังกัดของโรงเรียนมิได้เป็นตัวแปรในการจำแนกรูปแบบการดำเนินงานของโรงเรียน หากแต่เกิดจากศรัทธาในตัวผู้บริหารเป็นสำคัญอันดับแรก นอกจากนั้นคือการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เข้าใจ อีกประการหนึ่งได้แก่ การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีของท้องถิ่นนั้นการดำเนินงานของโรงเรียนขนาดเล็กมีความคล่องตัวกว่าในการดำเนินงานและใช้วิธีการอย่งไม่เป็นทางการมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

 
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
          หน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน

              จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลปรากฎชัดเจนว่าโรงเรียนทุกสังกัดที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้มีการพัฒนาขึ้นทุกด้าน ทั้งในด้านการบริหารจัดการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ คณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน และชุมชนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาโรงเรียนของตนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อีกทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครู-อาจารย์ก็มีความเต็มใจที่จะดำเนินการปฏิรูปโรงเรียนต่อไป เพราะเห็นผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้นสังกัดจะส่งเสริมสนับสนุนให้ โรงเรียนและครูไขว้เขวในการดำเนินการได้ รวมทั้งการประกวดรางวัลประเภทต่าง ๆ ของแต่ละสังกัดที่จัดทำขึ้นอาจทำให้เกิดการไขว้เขว รวมทั้งเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบแต่ละสังกัดอาจยึดถือแตกต่างกันไปซึ่งล้วนแล้วแต่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูทั้งสิ้นหากมีการร่วมมือและประสานการทำงานร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติในเรื่องดังกล่าวอาจทำให้การปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติในฐานะผู้กำหนดนโยบาบเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ต้องทำหน้าที่ประสานงานการปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายกับหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติดังนี้

          1. หน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียนทุกสังกัด โดยจะต้องประสานการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและมีแนวทางในการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันเพราะถ้ามีแนวทางหรือข้อกำหนดแตกต่างกันจะทำให้ผุ้ปฏิบัติงานเกิดความบลังเลไม่แน่ใจ

          2. สถาบันผลิตครูทุกแห่ง ความเป็นผู้สานต่อโครงการนี้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาครูในอนาคต เพราะเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันวิชาชีพครูให้มีความผูกพันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ช่วยเหลือสนับสนุน อีกประการหนึ่งคือในการผลิตครู ของสถาบันผลิตครูนั้น นักศึกษาครูควรมีโอกาสเรียนรู้จากโรงเรียนให้มาก เพราะเป็นหน่วยงานที่ต้องไปปฏิบัติงานหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว นักศึกษาครูจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง เรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยอาจจะเรียนภาคทฤษฎีสลับกับการลงไปศึกษาสภาพจริงที่โรงเรียนหรืออาจจัดในรูปของโครงการก็ได้

          3. สถาบันที่ผลิตนักบริหารการศึกษา เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะที่จำเป็นผู้บริหารโรงเรียนเพื่อรองรับการปฏิรูปการเรียนรู้มี 13 สมรรถนะดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสมรรถนะ ดังกล่าว ซึ่งจำเป็นสำหรับวิธีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานทั้งในกลุ่มของ ผู้บริหารโรงเรียนในอนาคต และผู้บริหารโรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินงาน เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจจะประสานงานผ่านสภาคณบดี คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย และสภาผู้บริหารหลักสูตรบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทยอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น

 

ศักดิ์ชัย  ภู่เจริญ

 

 

ที่มา onec.go.th/publication/46062/bodsaloop_46062.htm - 15k -



00099 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-04-02 18:27:38 v : 4471



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา