เทศกาลเช็งเม้ง 清明节


เทศกาลเช็งเม้ง 清明节

วันเช็งเม้งเป็น 1 ของ 24 ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาต้นเดือนเมษายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน พอถึงวันนี้ผู้คนจะเดินทางไปชานเมือง เพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ เดินเที่ยวชมวิว และเก็บกิ่งหลิวกลับมาเสียบประตูบ้าน

ในท้องถิ่นบางแห่งของจีนเรียกวันเช็งเม้งว่าเป็นเทศกาลผี จะเห็นได้ว่านี่เป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เวลาก่อนและหลังวันเช็งเม้ง ทุกครอบครัวจะไปไหว้สุสานบรรพบุรุษ ตัดหญ้ารกที่ขึ้นตามสุสาน เติมดินใหม่บนหลุม แล้วจุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทองกราบไหว้แสดงความไว้อาลัย

มีกลอนโบราณยุคซ้องได้บรรยายถึงสภาพของประเพณีไหว้ที่ฝังศพว่า สุสานบนเขาเหนือใต้ ผู้คนกราบไหว้วันเช็งเม้ง กระดาษเงินทองปลิวว่อนดั่งผีเสื้อ เลือดและน้ำตาหลั่งชะโลมดอกตู้เจียนให้แดงสะพรั่ง

เล่ากันว่าวันเช็งเม้งเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ก่อนค.ศ.206 – ค.ศ 220) จนถึงสมัยราชวงศ์หมิงและสมัยราชวงศ์ชิง พิธีไหว้ที่ฝังศพบรรพบุรุษพัฒนาถึงขั้นสูงสุด บางคนไม่เพียงแต่เผากระดาษเงินกระดาษทองที่หน้าสุสานแล้ว แต่ยังทำกับข้าว 10 อย่างไปวางไว้หน้าสุสานด้วย

การไหว้สุสานบรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้งเป็นประเพณีสำคัญของจีน และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าพิธีไหว้จะเรียบง่ายกว่าสมัยก่อน มีรูปแบบทั้งการไหว้ของแต่ละครอบครัว และการไหว้ที่จัดโดยองค์กรและหมู่คณะต่าง ๆ  โดยผู้คนจะพากันไปไหว้สุสานของวีรบุรุษที่สละชีพเพื่อชาติ โดยวางดอกไม้สดหรือต้นสนต้นเล็กเพื่อแสดงความไว้อาลัย

วันเช็งเม้งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของจีน แม้ว่างานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้บรรพบุรุษเป็นหลักก็ตาม แต่ในระหว่างประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น ผู้คนยังถือโอกาสนี้เป็นการออกนอกบ้านท่องเที่ยวตามชานเมือง ชมต้นไม้สีเขียวที่ไม่ได้เห็นในฤดูหนาวเป็นเวลาหลายเดือน ท้องถิ่นบางแห่งของจีนจึงเรียกเทศกาลเช็งเม้งว่าเป็นเทศกาลวันเหยียบสีเขียว

ในสมัยโบราณยังมีประเพณีที่เดินเที่ยวชมสีเขียวตามชานเมืองและเด็ดดอกไม้ของผักสดชนิดหนึ่งชื่อว่า ฉีไช่ แต่ประเพณีนี้ยากที่จะเห็นได้ในสมัยปัจจุบัน คือก่อนและหลังวันเช็งเม้ง ผู้หญิงหรือสาว ๆ มักจะออกจากบ้านไปเที่ยวตามชานเมืองและเด็ดผักป่าสด ๆ กลับมาบ้าน ทำเป็นไส้เกี๊ยวน้ำ รสชาติอร่อยมาก ผู้หญิงบางคนยังเอาดอกสีขาวของผักฉีทำเป็นปิ่นผม

ช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ชาวจีนยังนิยมการเล่นว่าว เล่นชักเย่อและเล่นชิงช้าเป็นต้น

ทำไมวันเช้งเม้งใช้คำว่าเช็งเม้ง ตามภาษาจีนกลาง เช็งเม้งหมายความว่าสดชื่น สว่างและแจ่มใส ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสดชื่น หญ้ากำลังขึ้นเขียว ป่าไม้เริ่มผลิดอกออกใบ  เป็นช่วงเวลาเริ่มทำไร่ไถนา

ในสำนวนการเกษตรของจีนมีการบรรยายถึงเทศกาลเช็งเม้งกับการเกษตร เช่น ชิงหมิงเฉียนโฮ่ว จ้งกวาจ้งโต้ว ความหมายคือก่อนและหลังช่วงเวลาเช็งเม้ง เป็นเวลาเหมาะสมที่จะปลูกแตงปลูกถั่ว และยังมีสำนวนกล่าวว่า การปลูกต้นไม้ต้นใหม่ต้องไม่เกินเทศกาลเช็งเม้ง ช่วงเวลาก่อนเช็งเม้งพืชอะไรก็ปลูกขึ้นได้ดีหมด

 

ในเทศกาลเช็งเม้งยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ มีกลอนโบราณจีนที่บรรยายทิวทัศน์ว่า ต้นหลิวทั่วเมืองออกใบสีเขียวอ่อนเหมือนหมอกสีเขียวเต็มท้องฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่วงเทศกาลเช็งเม้ง

 

 

 

แหล่งที่มา  :  http://thai.cri.cn/chinaabc



00890 โดย วลัยลักษณ์ ภู่เจริญ 2011-07-09 20:45:51 v : 3180



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา