ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา


ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา   

          ท่านเคยสังเกตไหมครับว่า เวลาที่เราเห็นคนที่อยู่ข้างๆ กอดอก แคะขี้ตา เกาคาง  แล้วทำไมเราถึงมีแนวโน้มทำตาม มันเป็น พฤติกรรม ที่เกิดการ เลียนแบบ โดยไม่รู้ตัว เรามักเห็นเด็กตัวเล็กๆ ชอบทำท่าเลียนแบบดาราการ์ตูน อุลตราแมน ที่เขาเห็นจากทีวี พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ที่พยายามเลียนแบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ปกครอง คุณครูจะนำพฤติกรรมเลียนแบบไปใช้พัฒนาพฤติกรรมของลูก/ผู้เรียน   มีนักวิชาการบางท่านเรียกการมีพฤติกรรมเลียนแบบนี้ว่า   ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา

 

ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา คือ อะไร
       มื่อไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์ในอิตาลี ( Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero) ซึ่งทำงานอยู่ มหาวิทยาลัยปาร์มา ในประเทศอิตาลี ได้ศึกษาวิจัยเรื่องของ เซลล์สมองกระจกเงา (The Mirror-Neuron System ) และนำเผยแพร่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์การแพทย์   โดยค้นพบว่าในสมองของมนุษย์ มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Mirror Neuron หรือ เซลล์สมองกระจกเงา ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่นการตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน และการได้กลิ่น ตัวกระตุ้นที่เรารับผ่านประสาทสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น ถ้าเราต้องการที่จะอยู่รอด เราต้องเข้าใจการกระทำของคนอื่น ถ้าปราศจากสิ่งนี้ ก็ไม่มีสังคมมนุษย์ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น คือสามารถเรียนรู้จากการสังเกต และเลียนแบบผู้อื่น ซึ่งเราสามารถอธิบายจาก ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา

         การศึกษาวิจัยครั้งแรก ได้ทำการศึกษาในลิง ต่อมามีการศึกษาในคน ได้ข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง เซลล์กระจกเงา และภาษา จากการทดลองในลิง พบว่าเซลล์สมองเฉพาะบางส่วน จะถูกกระตุ้นเมื่อลิงใช้มือเคลื่อนไหว เช่นหยิบจับสิ่งของ และเซลล์ก็ถูกกระตุ้นเช่นเดียวกัน เมื่อมันเห็นลิงตัวอื่นใช้มือเคลื่อนไหวแบบเดียวกัน

           นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันกลไก ของเซลล์กระจกเงาแบบเดียวกันในมนุษย์ โดยมีการใช้เครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก หรือที่เรียกกันว่า MRI. เพื่อศึกษาตำแหน่งของสมอง ที่ถูกกระตุ้นเมื่อได้สังเกตเห็น การเคลื่อนไหวของผู้อื่นเช่น ปาก มือ เท้า พบว่าบริเวณของสมอง ที่เรียกว่า พรีมอเตอร์ คอร์เทค (premotor cortex ) จะถูกกระตุ้นตามตำแหน่งของกล้ามเนื้อนั้น การพบครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัว ในการค้นคว้าวิจัยบทบาทของเซลล์ชนิดนี้ ทั้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ การแพทย์ จิตวิทยา และสังคมวิทยา เป็นอย่างมาก รวมทั้งส่งผลให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองของมนุษย์ อย่างมากมาย

         ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ในระยะเริ่มแรก ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่อง การพัฒนาเด็ก เพราะสมองของเด็กนั้น มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้เด็กเห็น และทำให้เด็กเกิดการเลียนแบบ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ ในการนำมาใช้ขัดเกลาคนในสังคม ขณะเดียวกันการพยายามที่จะ ปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น ยังมีส่วนนำมาพัฒนาควบคู่กับการ เข้าถึงภาวะจิตใจของผู้อื่นอีกด้วย กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของบุคลิกภาพของมนุษย์

       ทฤษฎีเซลล์กระจกเงานอกเหนือจากการนำไปใช้พัฒนาเด็กแล้ว ในปัจจุบัน ยังถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรคอีกด้วย เช่น อัมพาตครึ่งซีก และ โรคออทิสติก มีการนำทฤษฏีเซลล์กระจกเงา มาใช้ในการฟื้นฟู ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต โดยทำควบคู่ไปกับการฝึกกายภาพบำบัด ซึ่งแนวทางในการใช้ก็คือ พยายามควบคุมบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น จากการเลียนแบบ หรือเกิดจากการจินตนาการ

การสื่อสารที่ผิดธรรมชาติ

          
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเซลล์สมอง กระจกเงาอาจนำมาใช้อธิบายว่า ทำไมเด็กเล็ก 1-2 ขวบ ที่ดูทีวี วิดีโอซีดี มากๆ ( 8 ชั่วโมง/วัน) จึงมีผลต่อพัฒนาการทางภาษา และสังคม พูดช้า มีภาษาแปลกๆ ไม่ค่อยทำตามสั่ง เป็นไปได้ หรือไม่ว่า เซลล์กระจกเงาในสมอง ถูกกระตุ้นจากการเคลื่อนไหว หรือการสื่อสารที่ผิดธรรมชาติ เช่นการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูน หรือหุ่น ร่วมกับถูกกระตุ้น ด้วยการสื่อสารทางเดียว

            กรณี เด็กป่า (Farewell child ) คงเคยได้ทราบข่าว เด็กเล็กที่พลัดหลงเข้าไปใช้ชีวิตกับฝูงสัตว์ในป่า เช่น ลิง สุนัขป่า ในหลายๆ ประเทศ มักจะพบเหมือนกันว่า เมื่อเด็กได้รับการช่วยเหลือออกมาแล้ว เด็กมักจะพูดไม่ได้ มีพัฒนาการทางภาษา และสังคมช้า ส่งเสียงร้อง และมีท่าทางคล้ายสัตว์ป่า ที่เด็กได้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ด้วย เป็นไปได้หรือไม่ว่า เซลล์สมองกระจกเงาของเด็กเหล่านี้ ถูกกระตุ้นด้วยการสื่อสาร และพฤติกรรมของสัตว์ป่า ภาพ และพฤติกรรมของสัตว์ป่าเหล่านี้ ก็สะท้อนเข้าไปในสมอง และเด็กก็แสดงออกมา ในลักษณะเดียวกัน จนเกิดเป็นความผิดปกติขึ้นนั่นเอง

พ่อแม่/คุณครู คือกระจกเงาของลูก/ลูกศิษย์

         
   หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เคยกล่าวไว้ว่า " พ่อแม่คือกระจกเงาของลูก" ถ้าพ่อแม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ไม่มีเหตุผล ภาพหล่านี้ ก็สะท้อนเข้าไปในสมองลูก และแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน และอาจใช้อธิบายว่า ครูมีความสำคัญมากต่อสังคม และระบบการศึกษา เพราะครู คือ กระจกเงาการเรียนรู้ นักเรียนมักเลียนแบบพฤติกรรมของครูที่เขาชื่นชอบ ( เช่นเดียวกับเลียนแบบดาราที่ชื่นชอบ) ถ้าครูแสดงพฤติกรรมที่ดี สุภาพ มีเหตผล แต่งกายสุภาพ ใฝ่เรียนรู้   ชอบค้นคว้า ชอบอ่านหนังสือ ภาพเหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองเด็ก แต่ครูมีลักษณะตรงกันข้าม ภาพเหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองเด็ก และแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน

 

บุคลิก / นิสัยของลูกมาจากสิ่งแวดล้อม

 

จากการค้นพบเซลล์กระจกเงา ช่วยตอบคำถามได้ว่า เด็กจะมีบุคลิกหรือนิสัยใจคอเหมือนกับคนรอบตัวในสังคม พ่อแม่ พี่เลี้ยงและจากสื่อที่เด็กเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น หากพ่อแม่พูดจาไพเราะกับลูก ลูกก็จะพูดเพราะ ถ้าพ่อแม่ชอบใช้ความรุนแรง ลูกก็จะใช้ความรุนแรงตามไปด้วย เนื่องจากเซลล์กระจกเงาจะทำหน้าที่ลอกเลียนสิ่งที่มนุษย์ได้พบเห็นแล้วซึมซับเข้าเป็นอารมณ์ความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ หากสิ่งที่มนุษย์ได้พบเป็นสิ่งที่ดีงามของมนุษย์ หากสิ่งที่มนุษย์ได้ประสบสิ่งที่ไม่ดี ผลที่จะได้ตรงกันข้าม

 

ผลงานวิจัยชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นอีกมุมหนึ่งว่า ขณะนี้สังคมไทยมีแบบที่ดีงามให้เลียนแบบมากพอแล้วหรือยัง เพราะเราจะเห็นว่าสื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนยุคนี้ มักจะมีแต่ด้านลบ อาทิ สื่อที่มีความรุนแรงผ่านทีวี เกม หรือแม้แต่การปฏิบัติของพ่อแม่ต่อลูก เซกซ์ถูกมองว่าเป็นเรื่องเปิดเผย ดารานักร้องนุ่งน้อยห่มน้อย แบบอย่างที่ดีในสังคมเหลือน้อยลงทุกที สิ่งเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก ถ้าพฤติกรรมของผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีกับลูกหลานด้วย

 

 

ตัวอย่างที่ดี สิ่งที่สังคมต้องการ

 

นพ. อุดม เพชรสังหาร กล่าวว่า ในขณะที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเต็มไปด้วยความเลวร้ายที่กระตุ้นให้เซลล์กระจกเงาของพวกเราซึมซับเข้าไปอยู่ตลอดเวลา สมองของเด็กในส่วนตัดสินผิดชอบชั่วดี การใช้เหตุผลยังไม่เตอบโตพอที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ สมองของเด็กจะทำงานด้วยอารมณ์และความรู้สึกเป็นหลัก อะไรสนุกๆ อะไรที่ประทับใจเซลล์กระจกเงาก็จะซึมซับสิ่งเหล่านั้นเข้าไปการสอนเหตุผลอย่างเดียวจึงไม่ได้ผล ต้องสอนด้วยสิ่งมราสามารถเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ด้วย

 

เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร

 

การเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะพัฒนาการและพฤติกรรมต่างๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ จะพัฒนาได้ดีเกิดจากการเลียนแบบ


 

    " เบ้าหลอมดี" ชิ้นงานที่ผลิตจากเบ้าหลอมย่อมดีมีคุณภาพ

              " พ่อแม่ /คุณครู /ผู้ใกล้ชิดเด็ก / คนในสังคม ถ้าเป็นแบบอย่างที่ดีย่อมช่วยให้เด็กเยาวชน คนในสังคมเลียนแบบสิ่งดีดี  

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากผู้รู้ที่ช่วยกันสร้างสิ่งดีในสังคม

 

ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 



00701 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2011-04-02 13:27:29 v : 5979



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา