พัฒนาสมองด้วยดนตรี


พัฒนาสมองด้วยดนตรี

                ดนตรีเป็นพลังวิเศษอย่างหนึ่ง  เพราะดนตรีช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย  ลดความเครียด  ดนตรี           ช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์  ดนตรีช่วยพัฒนาสมองให้มีสมาธิในการเรียนดีขึ้น  ดนตรีช่วยให้เด็ก          สมาธิสั้นรู้จักนิ่งลง  ดนตรีช่วยรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้มีความสมดุล  ถ้าเธอเล่นดนตรี  เธอจะรู้ว่าดนตรีวิเศษเพียงใดต่อสมองของเรา

                สมองของเรามี  2  ซีก  คือ  ซีกขวากับซีกซ้าย  เวลาที่เรากำลังเรียนรู้  สมอง  2  ซีก  จะทำงานประสานกัน  โดยผ่านเส้นประสาทที่มีชื่อว่า  คอร์ปัสแคลโลซัม (corpus callosum)  ซึ่งมีอยู่ถึง  250 300  ล้านเส้น

                นักดนตรีจะมีคอร์ปัสแคลโลซัมใหญ่กว่าของคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นนักดนตรีถึงร้อยละ 15  การที่มีเส้นประสาทตรงนี้หนาย่อมแสดงว่า  สมองซีก  สามารถส่งข้อมูลผ่านไปมาระหว่างกันได้รวดเร็วขึ้น               การที่ข้อมูลวิ่งเร็วขึ้น  ย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ที่จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น  เธอจึงควรสนใจดนตรี  เล่นดนตรี   ฟังดนตรี  เพื่อพัฒนาสมองของเธอเอง

การฟังและการพูดช่วยพัฒนาสมอง

                เคยสังเกตหรือไม่ว่า  เวลาฟังคุณครูอธิบายเรื่องใหม่ ๆ  แม้ว่าเราจะเข้าใจแล้ว  แต่พอวันเวลาผ่านไป  เรากลับอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้  ถ้าต้องสอบบางทีเราอาจถึงขั้นสอบตก  เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

                สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ  แม้ว่าสมองจะได้ฟังสิ่งใดแล้ว  รับรู้แล้ว  ไม่ได้แปลว่าจะอธิบายมันออกมาได้ทันที  การอธิบายสิ่งใดได้  หมายถึง  สมองรับรู้ความรู้บางสิ่งเข้าไปแล้วในสมอง  ซึ่งต้องจำไว้ก่อน                 และเปลี่ยนสิ่งที่จำแล้วนั้นออกมาเป็นคำพูด  นั่นคือสมองต้องเรียบเรียงสิ่งที่รู้แล้วจำได้  ออกมาเป็นคำพูด ให้ได้  การที่เธอจะเปลี่ยนความจำและความคิดในสมองออกมาเป็นภาษา  คือ  พูดและเขียน  ก็ต้องฝึกให้เหมือนกัน  จึงจะทำได้ดี

                สรุปก็คือ  การที่คนเราเรียนแล้วเหมือนจะเข้าใจ  แต่กลับตอบคำถามในเรื่องที่เรียนมาไม่ได้นั้น  ปัญหามีสองอย่าง  คือ

                1.  จำไม่ได้  อาจมีคำศัพท์หลายคำในเรื่องนั้นที่เราจำไม่ไหว  เช่น  เรื่อง  สารละลาย  มีคำที่ต้องจำอย่างน้อย  6  คำ  คือ  การละลาย  สารละลาย  ตัวทำละลาย  สารละลายอิ่มตัว  ของผสม  การผสม  เป็นต้น  แม้เราจะเข้าใจ  แต่ถ้าเราจำ (ชื่อและความหมายของ)  คำทั้ง  6  คำนี้ไม่ได้  เราก็จะลืมความเข้าใจนี้ไป              จนหมด

                2.  เรียบเรียงไม่ได้  โดยเฉพาะถ้าสิ่งที่เราเรียนรู้มาใหม่นั้นซับซ้อน  สมองจะต้องฝึกฝนเปลี่ยน         ความเข้าใจในสมองออกมาเป็นภาษา  คือ  หัดพูดและเขียน  ในขั้นตอนนี้  บางทีสมองก็ทำได้ไม่ดี                     เพราะไม่เคยทำมาก่อน  หรือไม่ได้ทำบ่อย

                สมองของเรามีส่วนที่รับเสียงเข้าไป  และเปล่งเสียออกมา  อยู่คนละตำแหน่งกัน  ดังนั้น  แม้เรื่องที่ฟังและเข้าใจไม่ซับซ้อน  เราก็ยังต้องฝึกพูดอยู่ดี  เพราะการฟังแล้วรู้  กับรู้แล้วพูดได้เป็นการใช้งานสมองคนละส่วน

                สมองส่วนที่จะเปล่งเสียงออกมา  จะใช้ข้อมูลที่รับเข้าไปไว้มาใช้ถ้าเรามีแต่รับเข้าไป (ฟัง-อ่าน)            แต่ไม่ได้นำออกมาใช้  (พูด-เขียน)  วงจรการพูดและเขียนก็ไม่ได้ใช้  ทำให้ไม่มีความคล่องในการโต้ตอบไม่รู้จะพูดออกมาอย่างไร  ในที่สุดก็เหมือนกับคนโง่  ดังนั้น  สิ่งสำคัญคือต้องฝึกพูดสิ่งที่คิดว่าเขาใจแล้วนั้นออกมา

เปลี่ยนความคิดที่อยู่ในสมองออกมาเป็นภาษา

                เรามีความรู้และความคิดมากมายอยู่ในสมอง  และเราอาจจะมีความรู้  ความคิด  ที่เกิดในสมองเราเอง  เพิ่มเติมจากที่เราได้ยิน  ได้ฟัง  ได้อ่าน  แต่การที่จะนำออกมาใช้จนคล่อง  อธิบายให้คนอื่นเข้าใจ         ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  นอกจากว่าเราจะพูดเรื่องที่คิดอยู่บ่อย ๆ

                ลองนึกถึงข้อความต่อไปนี้

                ถนนสองสายนี้ขนานกัน

                ตึกนี้สูงตระหง่าน

                เมื่อเราเพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้สูงขึ้น  เราสามารถเทสารลงไปได้อีกเพราะสาระลายนั้นยังไม่อิ่มตัว

                ถ้าเราไม่ได้พูดหรือฝึกฝน  เราอาจเปลี่ยนคำพูดหรือข้อความให้ง่ายลงจนหาสาระที่ถูกต้องไม่ได้เลยก็เป็นได้  เช่น อาจเป็นข้อความดังนี้

                ก็ถนนตรงไปเรื่อย ๆ

                ประมาณว่าตึกมันสูง

                เป็นแบบสวน  มีต้นไม้เยอะ  อะไรแบบนี้

                การพูดและการเขียน  เป็นการฝึกใช้วงจรข้อมูลที่สมองเคยเก็บเอาไว้  การดึงเอาวงจรเหล่านี้            ออกมาใช้  จะทำให้เซลล์สมองที่เกี่ยวข้องถูกกระตุ้น  ถูกใช้งาน   เส้นใยประสาทนั้นๆ  จะมีข้อมูลเคลื่อนผ่าน  ในรูปสัญญาณไฟฟ้า  (action potential)  ทำให้ใยประสาทนั้นหนาขึ้น  จุดเชื่อมต่อในวงจร  กระชับขึ้น  ซึ่งทำให้สัญญาณผ่านได้ดีขึ้น  เท่ากับสมองมีการพัฒนามากขึ้น  ตามหลักการ  ยิ่งใช้ (สมอง)  ก็ยิ่งพัฒนา  (use it , boost it)  ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันกับคำพูดที่ว่า  ถ้าจะเลือกใช้ (งาน) สมองก็จะมีสมองไว้ใช้  ถ้าไม่ใช้สมองก็จะไม่มีสมองให้ใช้  เพราะมันจะฝ่อตายไป  (use it or lose it) 

                เวลาท่องหนังสือ  เวลาสอบ  ลองพูดเรื่องนั้น ๆ  ออกมาซิ  ว่าเธอพูดได้ตรงกับเนื้อหาที่เคยจดเอาไว้หรือไม่  และเธอเข้าใช้สิ่งที่เธอพูดออกมาไหม?  เวลาที่เธอพูดอธิบายออกมา  มีคำสำคัญ  (Keywords)               อยู่ครบถ้วนหรือไม่  คำไหนที่หายไป  ลองพูดให้เพื่อนฟังซิ  เพื่อนเข้าใจสิ่งที่เธอพูดไหม?  การฟังหรือ           การอ่านอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

                การเขียนออกมา  เช่น  เวลาเธอตอบข้อสอบ  ที่แท้ก็ต้องอาศัยวงจรการคิด  เปลี่ยนความเข้าใจเป็นภาษา  แทนที่จะพูดออกมา  ก็เปลี่ยนเป็นการเขียนแทน  ดังนั้น  การเขียนตอนคำถามใด ๆ  จะทำได้ดีต่อเมื่อเธอฝึกฝน  ทดลองเขียนอธิบายถึงสิ่งนั้น ๆ  ออกมา  เพื่อที่จะได้รู้ว่าเธอเขียนได้  และอ่านเข้าใจที่เธอเขียนหรือไม่

 

สมองต้องการความรักและความอบอุ่น

                ความรัก  ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นสบายใจมีความสุข

                ความรัก  ทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ

                เวลามีคนอวยพรวันเกิด  เรารู้สึกชอบมาก

                เวลาเราเหยียบเท้าคนอื่น  เราขอโทษถ้าเขาพูดว่า ไม่เป็นไรครับ  เรารู้สึกอบอุ่นใจ

                เวลาเงินเราหายมีคนพบแล้วเอามาคืน  เราซาบซึ้งใจ

                ความรู้สึกเหล่านี้ ทำให้สมองของเราพึงพอใจ  และมองเห็นว่าโลกนี้น่าอยู่  เราอยากจะอยู่ต่อไป  อยากให้มีพรุ่งนี้  มะรืนนี้  ปีหน้า  และเราไม่อยากตาย

                แต่ตรงข้าม  ความเข้าใจผิด  ความไม่หวังดี  ความโกรธ  ความเกลียดทำให้เรารู้สึกแย่  และเบื่อหน่าย

                ความรัก  ความอบอุ่น  เป็นสิ่งที่ดี  แต่วิธีการที่จะแสดงความรัก  บางทีอาจก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผิด  ในกรณีเช่นที่ว่านี้  เราเรียกว่า  บ้ายอจนเหลิง  ตามใจจนเสียคน

                วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับบริบทแห่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคล  ซึ่งใช้เวลา  หมายความว่า  ความรักความเข้าใจก่อเกิดบนความอดทน  อดกลั้นต่อกัน  เป็นระยะเวลาอันยาวนาน

                เวลาเรารู้สึกอบอุ่น  มีความรัก  ได้รับความรัก  สมองของเรารับรู้ความรู้สึกชนิดนี้  สมองจะหลั่งสารเคมีแห่งความสุขออกมา  สารชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า  โดปามีน  (dopamine)  โดปามีน  มีผลต่อสมองคือ   มันทำให้เกิดความรู้สึกถึงรางวัลชีวิตและมันสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น  มันช่วยผลักดันให้เราตั้งใจต่อไปที่จะทำสิ่งต่าง ๆ  แม้กระทั่งสิ่งใหม่ที่ท้าทายหรือยากลำบก  โดปามีนช่วยให้การเรียนรู้  การฝึกฝนทักษะหรือ         การปรับพฤติกรรมการแสดงออก  (เช่น  การเปลี่ยนนิสัย  การฝึกความเคยชิน)  เป็นไปได้ง่ายขึ้น  เราจึงควรมอบความรักให้กันและกัน  เพื่อพัฒนาสมองของทุก ๆ  คน



00691 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2011-02-17 15:59:04 v : 2671



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา