รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน โรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยา


ชื่อเรื่อง  รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายในโรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยา

ชื่อผู้รายงาน    นางวัลลภา  โพธิโต

ปีที่รายงาน     พ.ศ. 2561

 

บทคัดย่อ

 

                      การประเมินผลโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน โรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยาปีการศึกษา 2560 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CPO Model เป็นแนวทางในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน โรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยาซึ่งประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่
                          1.  ด้านความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของโครงการ                                                                                    2.  ด้านความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ                                                                3.  ด้านผลผลิตของโครงการ 3 ส่วน คือ ผลการประเมินการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน    และทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายใน                                                                                                                ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยครูและบุคลากร จำนวน 64 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,031 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 70 คน ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  119 คน                                                                                              เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล จำนวน 23 ฉบับ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของโครงการ แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ แบบประเมินผลการพัฒนาการจัดกิจกรรม 10กิจกรรมตามโครงการ และแบบประเมินทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายใน                                                                                          การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ได้ผลการประเมินดังนี้

                    1.  สภาพแวดล้อมของโครงการ (Context) พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติในการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน                                                                                                          2. กระบวนการดำเนินงาน (Process) พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก  ในขั้นการวางแผนดำเนินงาน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การประสานงานกับผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นการดำเนินงานตามแผนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การดำเนินงานตามแผนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่ เกี่ยวข้องทราบมีความเหมาะสมมากที่สุด       

                   3. ผลผลิตของโครงการ (Outcome) พบว่า                                                                                                         3.1  การประเมินการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายในทุกกิจกรรม มีสภาพแวดล้อมของกิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่พร้อมสำหรับการพัฒนา  ส่งผลให้ผลผลิตของโครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามปริมาณและคุณภาพ                                                                                                                              3.2  การพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน โดยภาพรวมมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีการพัฒนามากที่สุด คือ กิจกรรมการเตรียมความพร้อม แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน เป็นกิจกรรมที่ดี มีความเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                              3.3  ทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายในโดยภาพรวม หลังดำเนินโครงการ มีทักษะในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า โครงการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายใน เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ มีวิธีการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมของโครงการที่ดี และเหมาะสม สามารถพัฒนาทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายในได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายในที่มีการพัฒนามากที่สุด คือ สามารถสรุป และรายงานผลการดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย



06394 โดย นางวัลลภา โพธิโต 2018-06-24 15:03:01 v : 2286



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา