ขั้นตอนการตัดสินใจ


การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการศึกษาสภาพของปัญหาและได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของปัญหานั้น ๆ ขึ้นมากำหนดเป็นปัญหาแล้วผู้ตัดสินใจได้กำหนดทางเลือกขึ้นมาหลาย ๆ วิธี ขั้นตอนการตัดสินใจ ประกอบด้วยลำดับขั้นตอน 8 ขั้นตอนอธิบายความสำคัญได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา

ก่อนการดำเนินการใดๆ ผู้ตัดสินใจต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบครอบและเข้าใจในสภาพของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะกำหนดขึ้นเป็นปัญหา จึงจะสามารถกำหนดขึ้นเป็นปัญหาได้อย่างชัดเจน ปัญหาที่ต้องตัดสินใจคืออะไร สาเหตุของปัญหาคืออะไร และมีความจำเป็นต่อการตัดสินใจมากน้อยเพียงใด ข้อมูลต่าง ๆ ถูกรวบรวมไว้ครบถ้วนหรือยัง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเป็นอย่างไร จุดคุ้มทุนอยู่ที่จุดใด วัตถุดิบ แรงงานมีเพียงพอหรือยัง ตรวจนับสินค้าคงคลังแล้วหรือยัง ปริมาณการสั่งซื้อตลอดจนสิ่งแวดล้อมและภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างไร เช่น ปัญหายอดขายตกต่ำข้อมูลต่างๆที่ต้องรวบรวมได้แก่ ยอดขายในแต่ละงวดนั้น ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ราคาสินค้าของคู่แข่งขัน เกมการแข่งขันต่าง ๆ พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น แล้วจึงกำหนดตัวแปร ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ สิ่งที่ต้องตระหนักคือการกำหนดปัญหาผิดผลเสียที่ตามมาจะเพิ่มขึ้น อย่างมากมายเช่น เกิดปัญหาใหม่พอกพูนมากขึ้นในขณะเดียวกันปัญหาเดิมก็ยังคงมีอยู่ต่อไป หากแก้ปัญหาไม่ตรงประเด็นจะปรากฏแนวของปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยุ่งยากและวุ่นวายมากขึ้น

ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหา

เมื่อทราบปัญหาแล้วผู้ตัดสินใจต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหาครั้งนี้ออกมาให้ชัดเจน เช่น ต้องการผลตอบแทนสูงสุด หรือต้องการส่วนครองตลาดมากที่สุด ต้องการขยายตลาด ต้องการลดต้นทุน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการผลิต เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปกำหนดตัวแปรและสร้างเป็นตัวแบบในการตัดสินใจ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เกิดสภาพที่เป็นจริงตามความต้องการภายหลังจากที่ได้มีการแก้ไขปัญหา

ขั้นที่ 3 การกำหนดทางเลือกที่หลากหลาย

ผู้ตัดสินใจจะต้องรวบรวมทางเลือกต่าง ๆ ตามลักษณะของปัญหานั้นออกมาหลายๆ ทาง เช่น กำหนดทางเลือกของการลงทุน ว่าจะลงทุนขนาดเล็กหรือขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ กำหนดทางเลือกขายสินค้า ว่าจะขายผลไม้ หรือ เสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น การกำหนดทางเลือกต้องสอดคล้องกับการกำหนดปัญหาและทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหานั้น ๆ การตัดสินใจในขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทางเลือกที่หลากหลายก็ไม่ได้หมายความว่าทุกทางเลือกเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด ทางเลือกที่ตัดสินใจเลือกจะเป็นฐานนำไปกำหนดตัวแปรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 4 การกำหนดเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัญหาที่ต้องการการตัดสินใจ ส่วนใหญ่มีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นการตัดสินใจล่วงหน้าจึงต้องกำหนดเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหลาย ๆ เหตุการณ์ตามสภาพของปัญหาพร้อมทั้งสามารถกำหนดความน่าจะเป็นที่เป็นไปได้ในเหตุการณ์นั้นได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับยอดขายอาจกำหนดเหตุการณ์ความต้องการของลูกค้าออกเป็นเปอร์เซ็นต์ เข่น ความต้องการมาก 20% ความต้องการปานกลาง 40% หรือความต้องการน้อย 40 % : ค่าเหล่านี้เป็นเพียงค่าประมาณการเท่านั้น หรืออาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับกำไร กำหนดเหตุการณ์ความต้องการกำไรออกเป็นความต้องการสูง 40% ความต้องการปานกลาง 50% หรือความต้องการอย่างต่ำ 10% เป็นต้น การกำหนดเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นเพียงการคาดหมายตามหลักการ กฎเกณฑ์ หรือ ทฤษฎี ต่างๆ เท่านั้น

ขั้นที่ 5 การศึกษาสภาวการณ์ของปัญหา

  1. สภาพของปัญหาที่มีลักษณะที่แน่นอน หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นมองเห็นได้ชัดเจนและสอดรับกับสิ่งที่เป็นอยู่และมีเพียงเหตุการณ์เดียว และผู้ตัดสินใจเองมีข้อมูลที่แน่นอนชัดเจนจึงสามารถที่จะคาดคะเนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ต้องการตัดสินใจได้แน่นอน และอย่างถูกต้อง
  2. สภาพของปัญหาที่มีลักษณะไม่แน่นอน หมายถึง ปัญหาที่นำมาประกอบการตัดสินใจไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเชื่อถือได้ ผู้ตัดสินใจจึงไม่สามารถที่จะคาดคะเนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจได้แน่นอนและถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ผลของการตัดสินใจจึงอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น วิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดจึงต้องใช้การประมาณค่าความน่าจะเป็นเข้าช่วยในการคาดคะเนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นไป
  3. สภาพปัญหาที่มีลักษณะเสี่ยง หมายถึง ผู้ตัดสินใจทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ของการตัดสินใจครั้งนั้นและมีข้อมูลเพียงพอ แต่ไม่ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากแต่ละทางเลือกได้อย่างชัดเจน แน่นอน อันเนื่องมาจากมีสาเหตุบางประการที่ทำให้ผู้ตัดสินใจไม่สามารถประมาณการได้ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เช่น การตัดสินใจลงทุนโดยในภาวะน้ำท่วม การเกิดสงคราม ภาวะเงินเฟ้อ เป็นต้น แต่ก็มีนักบริหารหลายท่านกล่าวว่าความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน

ขั้นที่ 6 การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม

การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมภายหลังจากที่ได้มีการการประเมินสถานการณ์หรือเปรียบเทียบผลลัพธ์หรือผลตอบแทนของแต่ละทางเลือกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ หรือเป็นไปตามเป้าประสงค์ขององค์กร หมายความว่าเป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหานั้นๆ(อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด) ผู้ตัดสินใจจึงจะนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป ดังนั้นต้องตระหนักไว้เสมอว่า การตัดสินใจเลือกทางเลือกใดนั้นอาจก่อให้เกิดผลได้อย่างน้อย 2 ประการ คือความล้มเหลว หรือความสำเร็จ โดยทั่วไปการตัดสินเลือกทางเลือกผู้ตัดสินใจมักจะเลือกใช้วิธีตัดสินใจแบบมีหลักเกณฑ์ เช่น ใช้วิธีทดลอง สังเกตการณ์ วิจัย หรือใช้ข้อมูล ค่าความน่าจะเป็น หรืออาจจะเลือกตัดสินใจแบบไม่มีหลักเกณฑ์ ใช้ประสบการณ์ ความชำนาญพิเศษ หรือการใช้จิตสำนึก เป็นต้น ทางเลือกที่เหมาะสมควรเป็นทางเลือกที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความยืดหยุ่นได้บ้าง ต้นทุนต่ำ มีความเสี่ยงน้อย มีความพร้อมของทรัพยากรและสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 7 การสร้าง ตัวแบบการตัดสินใจ

การสร้าง ตัวแบบการตัดสินใจ หมายถึง การสร้างเครื่องมือหรือตัวแบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกนำมาดัดแปลงเป็นตัวแปรตัดสินใจ การนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูลหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจไว้ให้ได้ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องยากที่จะมีการรวบรวมข้อมูลได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นการสร้างตัวแบบในการตัดสินใจจึงอยู่ในรูปแบบของการจำลอง (Models) กล่าวคือเป็นการสร้างตัวแทนของสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อสมมติและข้อจำกัดต่าง ๆ ของเหตุการณ์ หรือสถานการณ์จริงที่คาดคะเนขึ้นมาเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ การสร้าง ตัวแบบการตัดสินใจ เป็นขั้นตอนการวางแผนปฏิบัติ

การวางแผนการปฏิบัติ คือ การกำหนดขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เช่นการกำหนดงาน ผู้รับผิดชอบ ทรัพยากรที่ต้องใช้ ระยะเวลา งบประมาณ การควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ขั้นที่ 8 การติดตามผล และการประเมินผล

การติดตามผลและประเมินผลที่ได้รับจากการปฏิบัติวัตถุประสงค์ของการติดตามผลเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป การติดตามผลของกระบวนการปฏิบัติงานแม้จะมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดผลที่ได้อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะการแก้ปัญหาที่ขาดประสิทธิภาพไม่สามารถขจัดปัญหาที่แท้จริงได้ ทั้งนี้เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลเดิมอาจจะไม่สมต่อการนำมาใช้ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามผลและการประเมินผลที่ได้รับอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดตัวผู้รับผิดชอบคอยตรวจสอบว่างานในแต่ละขั้นตอนในแผนปฏิบัติมีอุปสรรค์อย่างไรหรือมีผลสำเร็จลุล่วงภายในระยะเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ได้กำหนดไว้ มีการรายงานผลจากผู้ปฎิบัติเป็นระยะ ๆ การประเมินผลนิยมกำหนดออกเป็นตัวชี้วัดในเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ

 

ที่มา http://lmsonline2.nrru.ac.th/NRRU-Online/mod/resource/view.php?id=9167



00614 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2010-10-04 00:32:03 v : 25465



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา