โรคเครียดส่งผลต่อผู้ป่วย


โรคเครียดส่งผลต่อผู้ป่วย

 

ผู้ป่วยที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงและได้รับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักจนรอดชีวิตมาได้ มีโอกาสเกิดอาการหวาดผวาหลังประสบเหตุถึงร้อยละ 20

นักวิจัยจากคณะแพทย์มหาวิทยาลัยวอชิงตันเผยผลสรุปการวิจัย 15 ครั้งกับผู้ป่วยห้องไอซียู 1,745 คนในสหรัฐเมริกาและประเทศแถบยุโรปส่วนหนึ่งว่า ความบอบช้ำของผู้ป่วยสามารถนำไปสู่ภาวะผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์วินาศภัย เช่น ฝันร้าย หลับยาก หูแว่ว ประสาทหลอนกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้น ฉุนเฉียว โกรธ หรือนิ่งเฉย อีกทั้งยังส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังออกโรงพยาบาลแล้วด้วย

นักวิจัยกล่าวอีกว่า สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์วินาศภัยมี 2 ปัจจัยคือ การมีประวัติโรคทางสุขภาพจิต โดยเฉพาะความวิตกกังวลและความเครียด ส่วนปัจจัยที่สองคือการพบกับสถานการณ์ที่กดดันมากๆ ซึ่งนำไปสู่การป่วยทางจิตได้ ดังเช่น การส่งผู้ป่วยเข้าห้องไอซียูเต็มไปด้วยภาวะกดดันรุนแรง เพราะนั่นคือการตัดสินว่าผู้ป่วยอาการหนักและมักจะใกล้ตาย

คณะวิจัยเสริมว่านอกจากปัจจัยทั้งสองแล้วผู้ป่วยที่ใช้ยาระงับประสาทชนิดออกฤทธิ์เร็วก็มีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติทางจิตใจได้เช่นกัน ผู้ป่วยต้องใช้ยานี้เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย และสงบเมื่อต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือเมื่อเตรียมรับการผ่าตัดในห้องไอซียูแต่ยาประเภทนี้อาจทำให้เวียนศีรษะ สับสน มีอาการทางจิต เหมือนภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์วินาศภัยได้เช่นกัน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง

*******************************************


พบสาเหตุความจำเสื่อมตอนแก่
นักวิจัยค้นพบสาเหตุปัญหาการจดจำข้อมูลใหม่เมื่อมีอายุมากขึ้น เชื่อว่าอาจะเป็นผลจากความเสื่อมของสมองส่วนที่ทำหน้าที่รำลึกเหตุการณ์

นักวิจัยมหาวิทยาลัยอริโซนารายงานผลการศึกษาจากสัตว์ทดลองในวารสาร Journal of neuroscience ว่าความเสื่อมของกระบวนการจดจำข้อมูลในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับอาจเป็นสาเหตุของปัญหาการจดจำข้อมูลใหม่เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น โดยระบุด้วยว่ากระบวนการดังกล่าวมีบทบาทต่อการช่วยให้สัตว์จดจำข้อมูลใหม่ดีขึ้นในวันต่อมา

นักวิจัยทดสอบโดยให้หนู 22 ตัว ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นหนูรุ่น และอีกครึ่งเป็นหนูแก่วิ่งหาทางออกในเขาวงกต และให้อาหารเป็นรางวัลในตัวที่ออกมาได้ พร้อมกันนี้ได้บันทึกปฏิกิริยาในสมองทั้งขณะที่วิ่งอยู่ในเขาวงกตและระหว่างที่หลับ เมื่อนำผลการบันทึกทั้ง 2 ช่วงเวลามาเทียบกันพบว่า สัญญาณสมองในหนูรุ่นใกล้เคียงกันในทั้ง 2 ช่วง ต่างจากหนูแก่ที่สัญญาณสมองขณะหลับแตกต่างจากเดิม

จากการทดสอบในวันต่อมาพบว่า หนูที่มีสัญญาณสมองใกล้เคียงกันในทั้ง 2 ช่วง สามารถจดจำเส้นทางในเขาวงกตได้ดีกว่าหนูที่มีรูปแบบสัญญาณสมองแตกต่างกัน ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าการที่สัญญาณสมองของหนูขณะที่หลับใกล้เคียงกับขณะที่วิ่งอยู่ในเขาวงกตนั้นเป็นเพราะสมองกำลังจดจำข้อมูลเดิมซ้ำ เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลดังกล่าวได้ดีขึ้น

การศึกษานี้มีทั้งฝ่ายที่ออกมาสนับสนุนและคัดค้าน โดยฝ่ายที่เห็นด้วยนั้นมองว่าหลักฐานใหม่อาจจะจุดประกายให้มีการพัฒนายาใหม่สำหรับกระตุ้นกระบวนการทำซ้ำข้อมูลในสมองระหว่างที่หลับ ส่วนฝ่ายคัดค้านแย้งว่าทฤษฎีนี้ยากต่อการศึกษาในคน ทั้งยังอาจมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาการจดจำข้อมูล
ที่มา : http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1072

 


00006 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-02-28 23:18:14 v : 2478



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา