รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


บทคัดย่อ

สำหรับการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียน การสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3.2) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของครูและนักเรียน มีประชากรในการวิจัย คือ ครูผู้สอนประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 9 (วัดเขาคูบา) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี ปีการศึกษา 2556 – 2557 จำนวน 59 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น คู่มือครูประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ได้ผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการตรวจสอบหาค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r)  ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) ทั้งฉบับ และค่าความเที่ยง มีสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.)  ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า

          1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน   โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมแล้วมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.65

          2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างและพัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

          3. ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนมีคะแนนรวม (∑) เท่ากับ 227 ค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 12.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 1.94 และหลังเรียนมีคะแนนรวม (∑) เท่ากับ 609 ค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 33.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 1.82

3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัด การเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของครูและนักเรียน โดยภาพรวมแล้วมีความพอใจในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.50

ดังนั้นสรุปได้ว่า การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้กับนักเรียน โดยนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยที่ดียิ่งขึ้น ครูและโรงเรียนจะมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 



05629 โดย นางอนงค์รักษ์ คัมภิรานนท์ 2015-12-04 17:32:47 v : 2542



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา