การพัฒนาบุคลิกภาพด้านสุขภาพจิต


"พัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต"

 

 

รายงานพิเศษ"พัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต"

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์) 

         
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ดำเนินงาน โครงการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต ระยะที่ 3 พ.ศ.2553 - 2559 ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข เสนอในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2553 ทั้งนี้ เนื่องจากผลการ ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้ ระยะที่ 1 พ.ศ.2543-2547 เริ่มดำเนินการในปี 2543 สำหรับกลุ่มเป้าหมายในเขตภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขยายโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่รับ ผิดชอบงานสุขภาพจิต ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนการดำเนินการสำหรับกลุ่มเป้าหมายในเขตภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ในเขตภาคกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 397 คน

         
ต่อมาได้ขยายโครงการเป็นระยะที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2548 รวมถึงมหาวิทยาลัย ขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้สำเร็จการศึกษา 292 คน แต่จากสถานการณ์การให้บริการด้านจิตเวช แก่ผู้รับบริการที่ได้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนจากจำนวน 1,290,716 คน ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1,350,122 คน ในปี 2549 อีกทั้งปัญหาสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้ง โรคจิต โรคซึมเศร้า ภาวะปัญญาอ่อน ผู้ติดสารเสพติด โดยสัดส่วนบุคลากรต่อภาระรับผิดชอบ ในการให้บริการทั้งการบำบัดรักษาและดูแล มีสัดสวนของจิตแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 262,659 คน พยาบาลจิตเวช 1 คน ต่อประชากร 40,024 คน

         
นอกจากนี้ ยังมีการสูญเสียจิตแพทย์ในระบบ จากการลาออกจากราชการ เสียชีวิตหรือเกษียณอายุราชการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการให้บริการด้านสุขภาพจิต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่มารับ บริการ กรมสุขภาพจิต จึงมีนโยบายจะขยายโครงการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต ระยะที่ 3 สำหรับทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่ระยะที่ 1 รวมทั้งขยายผลการดำเนินงานในสถานศึกษา ซึ่งมีความพร้อมและยินดีเข้าร่วมโครงการกับกรมสุขภาพจิต อีก 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับโครงการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต ระยะที่ 3 นี้ มีวิธีการดำเนินงานเช่นเดียวกับ โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านสุขภาพจิตที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติแล้ว แต่ยังขาดความครอบคลุมประกอบกับสถานการณ์ ของปัญหา

            สุขภาพจิตมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถรองรับภาวะงานด้านสุขภาพจิตได้อย่างเพียงพอ

 http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=12&id=2810

 


00524 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2010-09-10 13:19:59 v : 3225



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา