บทบาทหน้าที่ภาระงานของครู


ครูที่พึงประสงค์

      กระแสความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในสังคมอย่างมากมายทำให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาหลายด้าน เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาโรคเอดส์ ฯลฯ   ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมดุลย์กัน ระหว่างความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสารกับความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาของคนไทย   ทำให้รัฐบาลไทยต้องเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาประเทศ  จากที่เคยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนาคนแทน  ดังนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนเป็นพิเศษ  โดยกำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ท่านได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับครูไว้น่าสนใจมาก   “ครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสติปัญญาของเยาวชนในชาติ    ครูเป็นบุคคลที่สำคัญและมีความหมายอย่างมากต่อกระบวนการให้การศึกษาเพราะถ้าปราศจากครูซึ่งเป็นผู้สอน  การศึกษาหาความรู้ของเยาวชน  จะมีความยากลำบากขึ้นต้องใช้เวลานานมากในการเรียนรู้  แต่ถ้าได้ครูผู้สอนที่ดีความตั้งใจสอนและมีความรู้ดี มีวิธีการถ่ายทอดที่เหมาะสมย่อมจะช่วยให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น”  ซึ่งแนวพระราชดำรินี้  สอดคล้องกับมาตรา 4  ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ที่ให้ความหมายของครู ว่า “ครูเป็นบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางการศึกษาด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน”

    นอกจากนี้สมัชชาเด็กให้ความเห็นเกี่ยวกับครูที่พวกเขาต้องการว่า  “คือ ครูที่ใจดี  มี  ศีลธรรม  ซื่อสัตย์  มีระเบียบวินัย  มีความมั่นใจในตัวเอง  พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำไม่ลำเอียง  ไม่ข่มขู่  แต่คอยเอาใจใส่ดูแล  ให้กำลังใจ  ไม่ลงโทษด้วยวิธีรุนแรง  ไม่ใช้อารมณ์  มีวิธีการสอนที่สนุกสนาน  ไม่สอนเร็วหรือช้าเกินไป  ไม่ให้งานมาก  และครูจะต้องมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  เป็นกัลยาณมิตรกับเด็ก”จากความคาดหวังของสังคม และบุคลากรหลายระดับที่หวังให้ครูมีบทบาทหน้าที่สำคัญและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศและพัฒนาพลเมืองของชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศทั้งทางด้านคุณธรรม  ความรู้ และความสามารถต่างๆ  แต่ก็ยังมีครูบางคนที่พยายาม ปฏิบัติตนผิดวินัย  จรรยาบรรณของครูที่ดี  เป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก   ดังที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ  เช่น  ครูลงโทษนักเรียนด้วยวิธีรุนแรง   ครูข่มขืนและทำอนาจารลูกศิษย์  ครูขายยาเสพติด เป็นต้น  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรงที่สุด  ที่นักเรียนทุกคนไม่พึงประสงค์ให้มีในตัวครู แต่ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ครูทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นครูโรงเรียนสระแก้ว   หรือครูที่โรงเรียนอื่นๆ ชอบประพฤติปฏิบัติด้วยความเคยชิน เป็นพฤติกรรมที่นักเรียนไม่พึงประสงค์  ให้ครูกระทำเช่นกัน ได้แก่ ด้านการสอน ครูสอนโดยยึดตัวครูเป็นสำคัญครูเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว  ครูเป็นคนถูกเสมอครูไม่เคยเป็นผู้ผิด   ด้านวิชาการ  ครูสอนแต่ในตำราเรียนครูมีความรู้แคบไม่กว้างไกล   ด้านสุขภาพกายและจิต  ครูชอบใช้อารมณ์  และแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวกับนักเรียน   โดยไม่มีเหตุผล  ด้านมนุษยสัมพันธ์  ครูพูดจากับนักเรียนด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ  ใช้คำที่รุนแรง   ด้านบุคลิกลักษณะ  ครูบางคนแต่งกายไม่สุภาพนุ่งกระโปรงสั้นเกินไป   ด้านการอบรมและ   การปกครอง  ครูไม่ค่อยให้ความยุติธรรมกับนักเรียนเท่าที่ควร  ด้านการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย  ครูบางคนไม่ค่อยมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ชอบละทิ้งหน้าที่และเข้าสอนไม่ตรงเวลา    ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อภาพพจน์ที่ดีของครูในสายตาของนักเรียนที่มองว่าครู คือ แม่พิมพ์ที่เป็นต้นแบบที่ดีของพวกเขาเป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจและต้องการทราบความคิดเห็นและความต้องการของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนสระแก้ว   ซึ่งเป็นพลเมืองของพวกเขา  ตามที่พวกเขาพึงประสงค์  และผู้วิจัยก็เป็นครูสนับสนุนการสอนรับทราบความต้องการของเขา  เพื่อจะได้นำผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  

บทบาทและหน้าที่ของครู

1.  ครูจะต้องเป็นนักวิจัย   เก็บข้อมูลให้ละเอียดว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันมีอะไรที่ครูจะต้องร่วมมือแก้ไข

2.  ครูต้องเป็นนักวิเคราะห์   เมื่อหาข้อมูลมาพร้อมก็นำปัญหาเหล่านั้นมาวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาให้ละเอียด

3.  ครูต้องเป็นนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง   ของนักเรียนและสังคมด้วยวิธีจิตวิทยาเพื่อความกระจ่างของปัญหา   ครูจะต้องเป็นคนกล้าที่จะแสดงว่า   ครูเข้าใจปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหา

4.  ครูจะต้องมีความสามารถนำคุณค่าของบทเรียนมาเป็นตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิด

การแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

จรรยาบรรณครู

    จรรยาบรรณครู  หมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติหรือการปฏิบัติตน ของผู้ประกอบวิชาชีพครู   เพื่อรักษาหรือส่งเสริมเกียรติคุณขื่อเสียงและฐานะของความเป็นครูไทย   โดยอาศัยอำนาจบังคับของพระราชบัญญัติครู  พ.ศ.2488  ที่กำหนดให้คุรุสภาเป็นสถาบันผู้ออกระเบียบข้อบังคับ ได้เรียกว่า  ระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10  ข้อ และระเบียบว่าด้วยวินัยครู10 ข้อ  จนกระทั่งปี พ.ศ.2539     คุรุสภาได้ปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของครูขึ้นใหม่ โดยตัดข้อความที่มีลักษณะเป็นวินัยออกไปเหลือเพียงบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ  เรียกว่า ระเบียบคุรุสภาว่าด้วย  จรรยาบรรณครู  พ.ศ.2539  โดยประกาศใช้ตั้งแต่   วันที่  7  พฤษภาคม  2539  มีทั้งหมด  9 ข้อ  ดังนี้

1.   ครูต้องรักศิษย์และเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม  ให้กำลังใจ  ในการศึกษาแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

2.  ครูต้องอบรม  สั่งสอน  ฝึกฝน  สร้างเสริมความรู้  ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3.  ครูต้องประพฤติ  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย  วาจา  และจิตใจ

4.  ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์

5.  ครุต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ  และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6.  ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ  ด้านบุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์  ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ  สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

7.  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู  และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

8.  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9.  ครูพึงประพฤติ  ปฏิบัติตน  เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา  และวัฒนธรรมไทย

ดังนั้น  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  จึงได้กำหนดจรรยาบรรณครู   ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนแห่งชาติขึ้นมา  เพื่อกำหนดให้ครูทุกคนต้องถือปฏิบัติ   มี  12  ข้อ ดังนี้

1.  ต้องรักษาความสามัคคี  ชื่อเสียงของหมู่คณะและสถานศึกษาที่สังกัดอยู่

2.  ต้องไม่ลบลู่  ดูหมิ่นศาสนา

3.  ต้องรักษาชื่อเสียง  มิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว

4.  ไม่ละทิ้งการสอน  อุทิศเวลาให้แก่ศิษย์  และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ

5.  ต้องรักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงานและสถานศึกษา

6.  ต้องถือปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมที่ดีของสถานศึกษา

7.  ต้องประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์  สุจรจิและเที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบ

8.  ต้องไม่ปิดบังอำพราง  หรือบิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ

9.  ต้องไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อนร่วมงานและบุคคลใด ๆ เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา  ซึ่งสั่งการในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมาย  และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

10.  ต้องไม่เบียดบังใช้แรงงาน  หรือนำผลงานของศิษย์ไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

11.  ต้องไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต  หรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ

12.  ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนเอง

 

บทบาทหน้าที่ ภาระงานของครู

     ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งครูที่ดีนั้นจะต้องสอนให้ลูกศิษย์มีความรู้ สติปัญญาและคุณธรรม แต่ก่อนที่ศิษย์จะเป็นไปอย่างที่หวังได้ ครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ก่อน ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งเรียกว่าจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพครู เปรียบเสมือนศีลธรรมของครูที่กำหนดขึ้นให้เป็นแนวปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง เช่น ครูจะต้องมีความรักความเมตตา ให้ความช่วยเหลือแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า และมีการพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพอยู่สมอ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการสอน จึงจะเป็นผู้ที่น่าเคารพนับถือแก่เยาวชนทั่วไป เมื่อครูประพฤติตัวเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์แล้ว ศิษย์ก็จะปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เป็นการส่งเสริมวิชาชีพครูที่ดี ส่งผลให้มีบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น และประเทศชาติเกิดการพัฒนาต่อไป

 

 

อ้างอิง

     พรชัย หันจันทร์. 2557. ครูที่พึงประสงค์ . (ออนไลน์) . แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/42056/1. 8 สิงหาคม 2557

 

 



04132 โดย นางสาว ลลิตา ยิ่งแก้ว 2014-08-13 21:29:14 v : 1306



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา