การอ่านแบบข้าม (Skimming)


          การอ่านแบบข้าม (Skimming)

Skimming หรือ การอ่านแบบข้าม หรือบางสำนักเรียกว่า (skipping) เป็นวิธีการอ่านแบบหนึ่งที่แตกต่างจากการอ่านแบบธรรมดา เพราะการอ่านแบบนี้เป็นการอ่านผ่านๆเพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป (general information) จะไม่อ่านทุกตัวอักษรแต่จะอ่านข้าม ๆ แต่ก็สามารถจับใจความของเรืองที่กำลังอ่านได้    การอ่านแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก เพราะตัองอ่านหนังสือมากมายหลายเล่ม หรือข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันจำกัด และไม่มีเวลาพอที่จะอ่านทุกเล่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นผู้อ่านต้องรู้วิธี Skim เพื่อประหยัดเวลา Skimming ยังถือเป็นหนึ่งในสองความสามารถการอ่านในเชิงปฎิบัติ นอกเหนือจาก scanning (การอ่านเร็ว) ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญในการฝึกทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
 
ทำไมต้อง skimming เวลาอ่าน ?
 ก็เพราะ Skimming เป็นรูปแบบการอ่านแบบหนึ่งจากสองแบบที่จำเป็นมากๆ หากคุณได้อ่านบทความภาษาอังกฤษจำนวนมาก จะพบว่าเป็นการยากมากที่จะหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทความนั้นยาวมาก เทคนิคการอ่านแบบนี้ คือการอ่านด้วยความไวสูง ไม่สนใจรายละเอียดหากแต่กวาดตามองไปอย่างรวดเร็ว มองหา Keyword หรือคำหลักที่โจทย์ต้องการในบทความด้วยความไวสูงซึ่งการอ่านแบบนี้มีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการทราบภาพรวมๆของบทความนั้นๆ เพราะจะไม่เปลืองสมองมากนัก
ประโยชน์ของ skimming?
             อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น วิธีการอ่านผ่านนับเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้เป็นอย่างมากเพราะผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องทั้งหมด แต่เป็นการเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญและอ่านด้วยความรวดเร็วอย่าให้ความสนใจศัพท์แสงที่ไม่ทราบจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความกังวล ควรข้ามส่วนซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกไป การอ่านข้ามเป็นสิ่งที่คนน้อยคนมากๆจะทำได้ดี เพราะคนอ่านมักขาดความมั่นใจว่าได้อ่านข้อความที่สำคัญจริงๆ และกลัวว่าจะอ่านข้าม ข้อความที่สำคัญของเรื่องไปทำให้ไม่กล้าอ่านข้าม 
Skimming และ scanning ต่างกันอย่างไร?
Skimming และ scanning ต่างเป็นเทคนิคการอ่านเร็วทั้งคู่ แต่ scanning นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ (a particular thing or person) เท่านั้น เช่น หาคำบางคำ ในสมุดโทรศัพท์เป็นต้น โดยจะไม่อ่านทุกบรรทัดหรือทุกหน้า จะกระโดดจากหน้านี้ไปหน้าโน้นเลย จุดมุ่งหมายอยู่ที่คำบางคำ เท่านั้น ส่วน skimming นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสาระสำคัญที่ต้องการ (a particular point or main points) เท่านั้น เช่น Why did so many people visited this national convention center last week? Why? = The exhibition? Why? = The major event? 
จุดมุ่งหมายของskimming?
จุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านแบบข้าม คือ การค้นหาจุดสำคัญที่ของเรื่อง (Topic) ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ จากความสำคัญนี้เอง ข้อสอบในส่วนที่เป็น Reading comprehension ส่วนมากจะมีคำถามเกี่ยวกับความคิดหลัก (Main Idea) ของเรื่องอย่างน้อยหนึ่งข้อ 
 การอ่านแบบข้าม นับเป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว (reading with fingers) ด้วยซ้ำ การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
                      การอ่านวิธีนี้จะไม่เน้นอ่านทุกคำหรือทุกประโยค แต่จะจับเฉพาะคำสำคัญ (key word) ที่แฝงอยู่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
                1. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือ สองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มี
ความสำคัญในประโยค จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
                2. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริง การพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรส วิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไป ซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
                3. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆ แล้วเริ่มต้นอ่าน
ประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่าน ขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลา คืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
                4. อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้น และอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
                5. อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอน ตัวหนา หรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้ บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
                    จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
สรุป 7 ขั้นตอนของการ Skimming มีดังนี้คือ:
1.อ่านหัวเรื่อง 
2.ดูชื่อผู้แต่ง และหนังสืออ้างอิง
3.อ่านย่อหน้าแรกอย่างละเอียดและรวดเร็ว เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
4.อ่านหัวเรื่องย่อยและประโยคแรกของย่อหน้าที่เหลือ
5.อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างรวดเร็วเพื่อหา
    1 main idea, Topic ของทุกย่อหน้าพร้อมทั้ง supporting detail
    2 clue words เช่น ชื่อคน ชื่อวัน และ adjective ที่สำคัญ
    3 คำที่แสดงความคิดของผู้แต่ง เช่น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
    4 เครื่องหมายตัวชี้ต่าง ๆ เช่น ตัวพิมพ์เอน ตัวพิมพ์หนา ลูกศร ดาว ฯลฯ
6. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็วและละเอียด
7. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ ให้ดี สำคัญมากเพราะจุดนี้จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
 อย่างไรก็ดี ผู้เรียนควรฝึกการ Skim ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทักษะในการ Skim จะดีขึ้นพยายามฝึก Skim เมื่อ
1. อ่านหนังสือพิมพ์ หรือ แม็กกาซีน
2. ต้องการจับใจความสำคัญของบทความ
3. การต้องการเลือกหนังสือในห้องสมุดก่อนที่จะตัดสินใจยืมเล่มหนึ่งออกมา
4. ต้องการสุ่มปริมาณความคิดเห็น และความเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
5. ต้องการรวบรวมข้อมูล สำหรับการพูด หรือการเขียนรายงาน
ข้อควรจำ: จุดประสงค์การอ่านแบบ skim จะแตกจ่างจากจุดประสงค์การอ่านธรรมดา กล่าวคือผู้เรียนต้องรู้เนื้อหาโดยทั่ว ๆ ไปให้มากที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องสนใจกับรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด
หลักวิธีการอ่านแบบคร่าวๆ (Reading Methods for Skimming)
สำหรับเทคนิคการอ่านแบบ skimming คือให้พยายามกวาดสายตาไปเรื่อยๆ ผ่านบทความ ให้รู้สึกเหมือนกับว่าตนเองเวลาอ่าน ไม่ได้อ่านแล้วแปลเป็นภาษาไทยถึงเข้าใจ แต่ให้อ่านแบบเข้าใจเป็นภาษาอังกฤษเลย  
Tip and Tricks: เคล็ดลับในการ skimming
การอ่านแบบข้าม เป็นการอ่านผ่านเพื่อค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญก่อนที่จะ อ่านข้อเขียนนั้นอย่างละเอียด ผู้อ่านจะมองข้อเขียนนั้นโดยรวมว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญและข้ามส่วนที่คิดว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยไป ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปและความคิดเห็นทั่วไปของเรื่องที่จะอ่าน ได้ข้อคิดอย่างกว้าง ๆ ของผู้แต่ง เราใช้วิธีการอ่านแบบนี้เมื่อต้องการหาประเด็นสำคัญภายในเวลาอันรวดเร็ว ในการอ่านแบบข้าม ผู้อ่านจะทราบสิ่งต่อไปนี้ ข้อเขียนนั้นเขียนขึ้นเพื่อใคร เช่น ผู้อ่านทั่วไป หรือผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เป็นต้น ข้อเขียนนั้นมีรูปแบบใด เช่น รายงาน จดหมายที่เขียนอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ บทความ โฆษณา เป็นต้น ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อะไรในการเขียน เช่น เพื่อพรรณนา อธิบายแจ้งข่าวสาร สั่งสอน ชักชวน เป็นต้น เนื้อหาโดยทั่วไปของข้อเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
แบบฝึกหัดการอ่านแบบข้าม (Skimming)
Direction: Skim this passage below and choose the best answers for each question.
                                                              The Taj Mahal
            Often called the most beautiful building in the world, The Taj Mahal stands in the town of Agra in India. It is in fact a tomb built by the emperor Shah Jahan for his wife who died in 1931.
            Visitors to the Taj Mahal enter through a red sandstone gateway which leads into a beautiful walled garden in which a watercourse runs between rows of slender cypress trees. A the end of
the watercourse The Jaj Mahal stands on a marble terrace.
            It’s square building made from pure white marble and topped by a dome. Four slender white minerals or towers rise from the corners of the terrace. Beneath the dome is an eight-sided chamber with a carved marble screen around the tombs of the emperor and his wife.
            The chief architect of the Taj Mahal was Ustad Isa, who may have been a Persian. The building and ornamentation was done by 20,000 men and craftsmen from all parts of Asia. (1632-1650.)
 1. Where is the Taj Mahal built?
a. the town of Emperor          b. the town of Jahan
c. the town of watercourse   d. the town of Agra
2. Who built the Jaj Mahal?
a. the Emperor’s wife         b. the Emperor Shah Jahan
c. the architect                   d. all the above
3. In what year did the Emperor Shah Jahan's beloved wife passed away? 
a. 1930                                  b. 1931
c. 1932                                 d. 1933
 
4. What trees wee grown in the walled garden?
a. watercourse                b. slender
c. cypress                         d. white minaret
 
5. What was square building made?
a. pure white marble  b. pure black marble
c. crude white steel    d. crude black steel
6. Who was the chief architect of the Taj Mahal?
a. Prince Persia          b. Ustad Isa
c. Shah Jaha               d. Andy Wilson
 
7. According to the passage, what nationality did Ustad Isa have?
 a. Croatian    b. Chinese
 c. Caucasian d. Persian        
 
8. How long had the Taj Mahal been built?
a. ten years b. fifteen years
c. seventeen years d. eighteen years
เฉลยแบบฝึกหัด The Taj Mahal
1.    d. 2.    b. 3.    b. 4.    c.   5.    a.   6.    b.   7.    d.    8. d 
 


00406 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2010-05-14 22:40:48 v : 13466



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา