ภาวะผู้นำทางการศึกษา


รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

นางสาวกรวรรณ  ทองแก้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

 

นางสาวกรวรรณ  ทองแก้ว  รหัส 5670107202

คณะครุศาสตร์   โปรแกรม วิชาภาษาไทย  ชั้นปีที่ 2 หมู่เรียนที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

คำนำ

              

                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษา รหัสวิชา 106402   ผู้จัดทำได้จัดทำรายงานเล่มนี้ขึ้น  เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของภาวะผู้นำทางการศึกษาว่าในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับองค์กรการศึกษาและองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีผู้นำหรือผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นำอย่างแท้จริง จึงจะทำให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้     และไม่ใช่เฉพาะผู้บริหารโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องมีภาวะผู้นำ จะต้องพัฒนาครูในโรงเรียนให้มีภาวะผู้นำอีกด้วย

 ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานเล่มนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษา และเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ไปสู่ภาวะผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ                                                                              

 

                                               นางสาวกรวรรณ  ทองแก้ว

                                             ผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เนื้อหา

ภาวะผู้นำทางการศึกษา. 5

บทบาทของผู้นำทางการศึกษา. 7

บทบาทของผู้นำยุคใหม่. 7

ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร. 8

ภาวะผู้นำครู. 10

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู. 10

ความหมายของภาวะผู้นำครู. 10

แนวคิดเกี่ยวกับหลักการของภาวะผู้นำครู. 11

แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำครู. 13

แนวคิดเกี่ยวกับมิติของภาวะผู้นำครู. 14

ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาวิชาชีพ.. 14

แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตามผลการวิจัยและการสังเคราะห์. 19

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำครู. 22

 

 

 

 

 

 

 

ภาวะผู้นำทางการศึกษา

ความหมาย

                ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาชี้นำและเป็นต้นแบบที่ดีแก่ผู้อื่นหรือสังคม

                ภาวะผู้นำ หมายถึง สภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำ ซึ่งเป็นผลรวมของบุคลิกภาพ เช่น ลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น

                ผู้บริหาร หมายถึง บุคคลซึ่งทำหน้าที่หัวหน้างานเพื่อจัดดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

                ผู้ตาม หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมยอมตามผู้นำ

                ผู้นำทางการศึกษา หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ด้านการศึกษา

                3 ลักษณะความเป็นผู้นำ

                1. คุณลักษณะ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการพูด มีบุคลิกลักษณะที่ดี

                2. พฤติกรรม มีลักษณะเด่นชัดทางพฤติกรรม เช่น พูดดี, มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นต้น

                3. สถานการณ์ ทำให้เกิดภาวะผู้นำได้ เช่น เรื่องปัญหาพลังงาน, ปัญหาสงคราม, จะส่งผลผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

สรุป ผู้นำ คือ “บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ปัญญาชี้นำ เพื่อปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ต่อองค์กรและต่อตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ในทิศทางที่พึงประสงค์”

                ผู้นำ จะต้องดูภาวะวุฒิของผู้ตามด้วย เพื่อความเหมาะสมของงาน ต้องวิเคราะห์ผู้ตามด้วย ขึ้นอยู่กับตัวแปรของบุคคล

                ผู้นำทางการศึกษา จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ นำไปสู่ผลงานทางวิชาการในการพัฒนางานหรือผลงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยเทคโนโลยี และมีความรู้ที่กว้าง

                ผู้บริหาร มีอำนาจหน้าที่โดยตำแหน่ง

                ผู้นำ ได้มาโดยศักยภาพ ความสามารถเฉพาะตัว ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำแหน่ง กฎระเบียบ อาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้

                “ผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำจึงจะประสบความสำเร็จ (มืออาชีพ)”

                “ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร”

                ผู้บริหารการศึกษา มืออาชีพเรียกว่า “นักบริหารการศึกษา”

                ผู้นำเชิงปฏิรูป จะต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลง

                ผู้ตาม คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมบ่งบอกตามพฤติกรรมของผู้นำ

                มิติผู้ตามที่ดี

                1. มีความกระตือรือร้น บ่งบอกถึงผู้ตามที่ดี ผู้ที่มีความรับผิดชอบ

                2. พึ่งพา ไม่อิสระ ลักษณะพึ่งพาสูง

กระตือรือร้น

เฉื่อยชา

อิสระ ผู้ตามอิสระ/กระตือรือร้น



ผู้ตามเฉื่อยชา, อิสระ

‚

ƒ

ไม่อิสระ ผู้ตามพึ่งพาผู้อื่น ไม่อิสระ

มีความกระตือรือร้น (เชื่อฟัง

„

ผู้ตามพึ่งพา, เฉื่อยชา

      

     บทบาทของผู้นำทางการศึกษา

                1. จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา รอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ

                2. ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี ผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้นำต้องเป็นผู้ยอมรับจากผู้อื่น

                3. ต้องเป็นนักพัฒนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง เป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี

                4. บทบาทในเชิงบริหาร วิชาการ แก้ปัญหาได้

                5. บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง

บทบาทของผู้นำยุคใหม่

                บทบาทของผู้นำ เป็นการแสดงออกโดยอิสระที่มีผลดีต่อผู้อื่นหรือสังคม เช่น การตัดสินใจ การจูงใจให้คนทำงาน การแสดงออกทางความคิด การพูด พฤติกรรมทางอารมณ์ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เป็นต้น

                1. เป็นผู้ชี้นำให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม ในสังคมแห่งความรู้มีความต้องการบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถชี้นำ หรือให้คำปรึกษาในฐานะเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้นำทางปัญญาย่อมเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ชัดเจนเรียกว่า ระดับมืออาชีพ (Professional) เช่น ครูมืออาชีพ ผู้บริหารมืออาชีพ นักธุรกิจมืออาชีพ เป็นต้น คุณลักษณะมืออาชีพประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพของตนเอง

                2. เป็นผู้จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามตัวแบบหรือตัวอย่างที่ดีได้ ผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดี ทำให้ผู้อื่นเชื่อถือ ศรัทธา ยอมรับในบุคลิกภาพ ความคิดเห็น และยอมรับในพฤติกรรมดังกล่าว เช่น ครู อาจารย์ พระสงฆ์ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม นายกรัฐมนตรี นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น การจูงใจไม่ใช่เพียงแต่การพูดเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อและปฏิบัติตามเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เป็นตัวอย่างที่น่าเคารพ ศรัทธา ทำให้ผู้อื่นรับรู้และปฏิบัติตาม เกิดความเชื่อ ความชอบ และชื่นชม

                3. เป็นผู้พัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พึงประสงค์ขององค์การหรือสังคม ผู้นำจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ มองไกลในอนาคต และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและเป็นผู้พัฒนาให้สังคมอยู่อย่างมีความสุข สร้างความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และมีความคิดเชิงบวก มองโลกในทางดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม

ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
             1. ความรู้ (Knowledge)

การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น

2. ความริเริ่ม (Initiative)

ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง

                ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า

3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)

          ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้          นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น       ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย

4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations)

ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ

ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้

5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)

ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

6. มีความอดทน (Patience)    ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง

7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )

ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยานขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์

ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง

พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)

8. มีความภักดี (Loyalty)

                การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี

                9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)

                ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล    ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ

 

ภาวะผู้นำครู (Teacher Leadership)

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู

        Charlotte Denielson (2006) ได้เสนอแนะว่า ภาวะผู้นำครูไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการแต่จะปรากฏให้เห็นจากการอย่างไม่มีแบบแผน โดยการได้รับการกำหนดบทบาทให้แสดงหรือกระทำ ผู้นำครุเหล่านี้ถูกชักจูงโดยการใช้ทักษะต่างๆ ที่ไม่เพียงแต่ให้พวกเขาได้ใช้บทบาทที่มีประสิทธิภาพในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังอนุญาตให้พวกเขาใช้ความสามารถเหล่านี้นอกห้องเรียนได้ Jennifer York-Barr and Karen Duke (2004) เสนอแนะว่า ภาวะผู้นำครูเป็นรูปแบบที่ไม่เหมือนใครที่ได้แนวคิดอย่างหลากหลายมาจากแนวคิดภาวะผู้นำที่เน้นย้ำการมีส่วนร่วมมากกว่าการใช้อำนาจในแต่ละคน

                การพัฒนาภาวะผู้นำครูได้ถูกทบทวนมากขึ้นในฐานะที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาโรงเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและการอบรมครูครั้งใหม่ (Boles & Troen, 1994; Lieberman, 1987; Smith, 1999; Dozier, 2007; Greenlee, 2007) สำหรับการพยายามที่จะจัดเตรียมครูให้มีโอกาสในการใช้ภาวะผู้นำได้ถูกตีความถึงการเป็นสัญญาณบอกให้รู้ถึงขอบเขตของการบริหาร (Holmes Group, 2007) โดยทั่วไป โรงเรียนต่างๆ ได้ถูกจัดตั้งให้มีการบริหารตามโครงสร้างแบบบนลงล่าง ที่ซึ่งครูจะมีส่วนน้อยมากในกระบวนการตัดสินใจ (Boles & Troen, 1994; Donaldson, 2006) ซึ่งโครงสร้างองค์กรที่มีระดับชั้นลดหลั่นนี้จะมีการวางตำแหน่งผู้บริหารอย่างมีรูปแบบชัดเจนที่ซึ่งทำให้ภาวะผู้นำครูปรากฏออกมาได้ยากหรือน้อยมาก (Boles & Troen, 1994; Greenlee, 2007)

ความหมายของภาวะผู้นำครู

 

                สุรีรัตน์ พัฒนเธียร (2552) กล่าวว่า ภาวะผู้นำครู หมายถึง การแสดงออกของครูในการร่วมกันทำงานอย่างร่วมมือรวมพลังนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการมีความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องต่างๆ ระหว่างครูแต่ละบุคคลภายในสถานศึกษา รวมไปถึงความสามารถของครูในการนำทั้งการนำในห้องเรียน การนำนอกห้องเรียน และการนำครูคนอื่นๆ โดยปราศจากการใช้อิทธิพลในการกระตุ้น ชักจูงเพื่อนครูให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีความรับผิดชอบต่อความตัดสินใจ และกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เข้าร่วมในการเรียนรู้ร่วมกัน และให้ความร่วมมือรวมพลังในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายร่วมภาวะผู้นำครูที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องให้ความสำคัญกับความเชื่อใจ การสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอันดับแรก

                Wesley (1991) ได้กล่าวว่า ภาวะผู้นำครู หมายถึง ความสามารถในการกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้เปลี่ยนแปลง ให้ทำในสิ่งที่ไม่ได้คำนึงถึงในเวลาปกติ โดยปราศจากอิทธิพลของผู้นำ

                Katzenmeyer and Moller (2001) กล่าวว่า ภาวะผู้นำครู คือ ครูผู้ที่เป็นผู้นำโดยนำทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน เชื่อมโยงกับชุมชนและช่วยเหลือกลุ่มของครู ผู้เรียน และผู้นำ และมีอิทธิพลต่อผู้อื่นไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานทางการศึกษา

                Harris and Lambert (2003) กล่าวว่า ภาวะผู้นำครู คือ ลักษณะในรูปแบบของภาวะผู้นำแบบร่วมมือ ซึ่งครูพัฒนาทักษะเชี่ยวชาญจากการปฏิบัติงานต่างๆ ร่วมกัน

                Harris and Muijs (2005) ได้สรุปไว้ว่า ภาวะผู้นำครู หมายถึง การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแสดงความเป็นมืออาชีพแนวใหม่ ซึ่งครูจะมีความเป็นอิสระ และการชี้นำตนเองมากขึ้น

                Danielson (2006) เสนอว่า ภาวะผู้นำครู คือ การแสดงบางสิ่งบางอย่างตามคุณลักษณะต่อไปนี้

1. เตรียมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในห้องเรียน

2. ช่วยเหลือและสนับสนุนครูคนอื่นๆ

3. มีเสน่ห์ในการทำงานร่วมกับคนอื่น

4. ซาบซึ้งหรือให้ความสำคัญกับพันธกิจของโรงเรียน

แนวคิดเกี่ยวกับหลักการของภาวะผู้นำครู

                ในยุคปัจจุบันภาระงานด้านการเรียนการสอนสลับซับซ้อนกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานทางวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูง วิชาชีพครูถือว่าเป็นวิชาชีพหลัก เป็นตัวแทนหลักของการเปลี่ยนแปลงในยุคสังคมฐานความรู้ ถ้าปราศจากครู หรือปราศจากวามสามารถของครูแล้ว สภาพสังคมในอนาคตจะผิดรูปร่างไปจากปัจจุบัน หรือกลายเป็นสังคมที่ไม่พึงประสงค์ เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาเยาวชนผู้ซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของการศึกษา โดยเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถปรับตัว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นสมควรจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษาได้คิดให้ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ความรู้ทางวิชาชีพ และสถานภาพทางวิชาชีพ ควรจะมีลักษณะอย่างไรสำหรับครูรุ่นใหม่ผู้ที่จะกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับยุคสมัย การสนับสนุนช่วยเหลือให้ครูเรียนรู้อย่างเหมาะสม ครูเหล่านี้ก็จะไปช่วยนักเรียนให้เรียนรู้อย่างเหมาะสมเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของภาวะผู้นำ และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูด้วยกันเอง (Goodson and Hargreaves, 2005)

                นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากวรรณกรรมด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นเช่นเดียวกันว่า การพัฒนาสถานศึกษาสำเร็จได้โดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (Interchange) อยู่ตลอดเวลา มีการเสวนาทางวิชาชีพทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อีกทั้งยังมีแนวทางการทำงานที่กระตุ้นครูให้ทำงานไปพร้อมๆ กับการนำไปสู่เป้าหมาย และมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าครูทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด เมื่อได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูคนอื่นๆ และทำงานเกี่ยวกับสถานศึกษาในเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ Hopkins et al. (1997) ให้ข้อสังเกตว่า สถานศึกษาต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสร้างสภาวะแวดล้อมของการร่วมมือรวมพลัง ซึ่งกระตุ้นการมีส่วนเกี่ยวข้อง การพัฒนาวิชาชีพ การสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหา

                จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Learning) เป็นหัวใจสำคัญของภาวะผู้นำครู เนื่องจากการเรียนรู้ร่วมกันเป็นวิธีการที่บุคลากรในสถานศึกษาให้ความร่วมมือรวมพลังในการทำงานเป็นทีม เพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายร่วม โดยมีการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นร่วมกัน ได้ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความรู้ร่วมกัน นอกจากนี้การเรียนรู้ร่วมกันสามารถสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี เนื่องจากครูจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเองภายในกลุ่มรวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ภายนอกกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการสร้างความรู้ หรือสร้างงานที่จำเป็นต้องอาศัยการช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในกระบวนการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศบนฐานของการสืบค้น ครูจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับ

อังศินันท์ อินทรกำแหง (2547) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน และมีโครงสร่างการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของเป้าหมายร่วมกัน โดยทุกคนจะต้องเคารพในสิทธิ และความสามารถอันโดดเด่นของสมาชิกแต่ละคน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และยอมรับในหน้าที่รับผิดชอบของตน ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกที่สอดคล้องกันพอดีอย่างลึกซึ้งผ่านความร่วมมือกัน และก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของสมาชิก

                สรุปได้ว่า แนวคิดของภาวะผู้นำครู จะมุ่งเน้นไปที่การร่วมกันทำงานของบุคลากรครูในสถานศึกษาอย่างร่วมมือรวมพลัง โดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีการและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลังและทำให้ครูมีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เกิดความผูกพันในการร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างความรู้ และร่วมกันดำเนินงานให้สถานศึกษามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีแนวมาตรฐานตามเป้าหมาย

แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำครู

 

                สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2549ก) กล่าวว่าบทบาทภาวะผู้นำครูที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

1. ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์

2. มีความเชื่อว่าโรงเรียนมีไว้เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้

3. ต้องให้คุณค่า และความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์

4. ต้องมีทักษะที่ดีของการเป็น นักสื่อสารและนักฟัง ที่มีประสิทธิผล

5. ต้องกล้าที่จะเสี่ยง

                Segiovanni, 1995 ; Fullan, (2001) กล่าวว่าเมื่อครูมีบทบาทภาวะผู้นำก็จะมีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถในการเปลี่ยนแปลงห้องเรียน และมีผลกระทบทางบวกต่อผลการเรียนการเรียนรู้ของผู้เรียน

                Nickse (1977 อ้างถึงใน สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2549ก) กล่าวว่า ครูมีบทบาทภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น มาจากความเชื่อและเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ

1. ครูส่วนใหญ่มีความสนใจต่อภาระหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย กล่าวคือ จะใส่ใจว่างานที่ได้รับ

มอบหมายนั้นคืออะไร มีเป้าหมายอะไร และจะทำให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร

2. ครูส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกร่วมต่อสิ่งที่เคยปฏิบัติมาด้วยกันกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ จึงมีความ

ตระหนักรู้ และระมัดระวังต่อค่านิยมที่เป็นปทัสถานของกลุ่มที่เคยมีร่วมกัน

3. ครูส่วนใหญ่มักมีความรู้ความเข้าใจต่อชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม

และเจคติต่างๆ ที่ชุมชนนั้นยึดถือและปฏิบัติอย่างเพียงพอ

4. ครูส่วนใหญ่สามารถที่จะนำการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติได้ดี มักจะรู้ว่าจะต้องทำอะไร ที่ไหน

และอย่างไรจึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นสำเร็จ

                Harris and Lambert (2003) กล่าวถึงบทบาทภาวะผู้นำครูไว้ 3 ด้าน ได้แก่

1. ภาวะผู้นำต่อครูคนอื่นๆ โดยการฝึก (Coaching) การแนะนำ (Mentoring) การนำในการทำงาน

กลุ่ม เป็นพี่เลี้ยงของครูใหม่หรือครูที่มีประสบการณ์น้อย

2. ภาวะผู้นำด้านการปฏิบัติการ ในภาระหน้าที่ที่เป็นศูนย์กลางสู่การปรับปรุงการเรียนรู้และ

การสอนให้ดีขึ้น เป็นผู้นำของทีมพัฒนาสถานศึกษา

3. ภาวะผู้นำด้านวิธีการสอน โดยการพัฒนาและการออกรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ

สามารถเป็นนักพัฒนาหลักสูตร นักเขียนที่อดทน และนักวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เชื่อมโยงไปสู่ห้องเรียน

 

แนวคิดเกี่ยวกับมิติของภาวะผู้นำครู

 

                Katzenmeyer and Moller (2001) กล่าวไว้ว่า ภาวะผู้นำครูมี 3 มิติ ได้แก่

1. ภาวะผู้นำต่อนักเรียนหรือครูคนอื่นๆ ผู้อำนวยความสะดวก พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ผู้ฝึกอบรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ และการนำกลุ่มศึกษาต่างๆ

2. ภาวะผู้นำต่อหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ ธำรงไว้ซึ่งการจัดการสถานศึกษา และดำเนินการ

ไปสู่เป้าหมายผ่านทางบทบาทต่างๆ ดังเช่น หัวหน้าฝ่าย นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ สมาชิกของกลุ่มงาน

3. ภาวะผู้นำต่อการตัดสินใจหรือความร่วมมือกัน สมาชิกของทีมพัฒนาสถานศึกษา สมาชิกของ

คณะกรรมการ ผู้ริเริ่มในการร่วมมือกับองค์กรธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษา และสมาคมครู ผู้ปกครอง

Harris and Muijs (2003) ได้นำเสนอมิติของภาวะผู้นำครูใน 4 มิติ ดังนี้

1. การแปลงหลักการของการพัฒนาสถานศึกษาสู่การนำไปปฏิบัติในห้องเรียน

2. สนับสนุนภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม

3. การแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยการคำนึงถึงความรู้ ความชำนาญ และข้อมูลข่าวสาร

Leithwood, Jantzi and Steinbach (2003) แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่

1. คุณลักษณะ (Traits) ได้แก่ คุณค่า บุคลิกภาพ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น อารมณ์ ความรับผิดชอบ

และลักษณะทางกายภาพ

2. การปฏิบัติ (Practices) ได้แก่ การปฏิบัติภาระหน้าที่ต่างๆ ทางการบริหาร เป็นแบบอย่างที่ดี

ความรับผิดชอบต่อภาวะผู้นำที่เป็นทางการ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรอื่นๆ ความรับผิดชอบต่อการสอน ปฏิบัติอย่างชัดเจนในสถานศึกษา เผชิญหน้ากับประเด็นต่างๆ โดยตรงหรือตัดสินใจในประเด็นยากๆ มีภาวะผู้นำร่วมกับผู้อื่น ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล มีการริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นผู้นำ

3. ความสามารถ (Capacities) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับภาระหน้าที่ทางภาวะผู้นำ ความรู้เฉพาะทาง

วิชาชีพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นนักแก้ปัญหา มีทักษะการสื่อสาร ความสัมพันธ์กับนักเรียน มีวิสัยทัศน์ จัดองค์กร มีความรู้ส่วนตน เป็นผู้ตระหนักถึงภาวะโลก มีจุดเน้น มีความสามารถในการกำหนดข้อจำกัดของตนเอง และมีประสิทธิภาพ

 

ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาวิชาชีพ

                Bobbie J. Greenlee (2007) ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างการบริหารราชการแบบบนลงล่างของโรงเรียนคือ ความท้าทายในการพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำครู จากการออกแบบแล้ว รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพคือ บรรยากาศของความร่วมมือที่ซึ่ง ครูที่มีประสบการณ์การสอนมานาน ผู้บริหารและคณาจารย์จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสร้างกระบวนการตัดสินใจ (NAPDS, 2001; Teltel, 2003; Holmes Group, 2007) ธรรมชาติของความร่วมมือของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพมีส่วนที่อาจทำให้การพัฒนาครูก้าวสู่การเป็นผู้นำโดยไม่มีการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนก็ได้ (Boles & Troen, 1994)

                ตามที่ Ismat Abdal-Haqq (1999) ได้แยกข้อแตกต่างที่เป็นจุดเด่นของการพัฒนาวิชาชีพครูว่า คือ ความร่วมมือระหว่าง สถาบันความร่วมมือ องค์ประกอบของความร่วมมือของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครู สามารถจัดให้ในรูปแบบของการเตรียมการพัฒนาวิชาชีพสำหรับผู้เข้าร่วมทั้งหมดสำหรับความสัมพันธ์ และได้จัดเตรียมโอกาสสำหรับผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่จะพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำ การเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำในลักษณะนี้คือ กระบวนการให้ความร่วมมือจะจัดเตรียมผลประโยชน์กับนักเรียนโดยตรง เกิดประโยชน์กับนักวิชาการโดยตรง และการทำให้เป็นครูมืออาชีพที่สมบูรณ์ภายในการบริหารของโรงเรียน (Danalson & Sanderson, 1996)

                ผลการเรียนของนักเรียนคือกุญแจสำหรับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาวิชาชีพครู (NCATE, 2001) ผลการเรียนเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนทั้งมาตรฐานระดับชาติ และระดับรัฐด้วย Lisa Vernon (2003) ได้ชี้ให้เห็นว่า การสอนขึ้นอยู่กับมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า นักวิชาการไม่สามารถแยกกันสอนได้นาน นักวิชาการต้องให้ความร่วมมือในการวางแผนบทเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะสามารถทำให้ผลการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ความร่วมมือเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียนภายใต้การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้การพัฒนาวิชาชีพครูจะทำให้ครูที่มีประสบการณ์การสอนมานานมีโอกาสที่แท้จริงในการเตรียมตัวป้อน หรือบทเรียนที่มีความหมายสำหรับการตัดสินใจเลือกหลักสูตรและวิธีการสอน (Boles & Troen, 1994; NCATE, 2001; Holmes Group, 2007)

                Linda Darling-Hammond et al. (1995) ได้เสนอแนะว่า กฎเกณฑ์ของภาวะผู้นำจะปรากฏในการพัฒนาที่ดีของการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งกฎเกณฑ์นี้จะรวมถึง นักศึกษาวิชาชีพครู นักวิชาการ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ผู้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย และตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านกฎเกณฑ์เหล่านี้ที่ซึ่งไม่มีส่วนที่แน่นอนในโครงสร้างการบริหารแบบลดหลั่นของโรงเรียน ครูที่จะเป็นผู้นำ ผู้ซึ่งไม่ได้ยึดเกณฑ์เป็นหลักแต่จะยึดตามภาระงานที่ได้รับ แทนที่การใช้อำนาจจะมาจากความร่วมมือของครูและการรวบรวมกฎเกณฑ์ที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนที่จะพัฒนาโดยผ่านหุ้นส่วนของการพัฒนาวิชาชีพครู (Boles & Troen, 1994)

 

 

แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตามทัศนะนักวิชาการ

 

                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำครูในคู่มือการประเมินสมรรถนะครูในการปฏิบัติงานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสนมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดกรอบการพัฒนาสมรรถนะครูตามนโยบายพัฒนาครั้งระบบ ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้

1. มีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับการเป็นครู

2. มีการสนทนาอย่างสร้างสรรค์

3. เป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง

4. มีการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง

5. การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน

Kathleen Devaney (1987) ได้กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับภาวะผู้นำครูไว้ดังต่อไปนี้

1. สร้างความต่อเนื่องของการสอนและพัฒนาการสอนของตนเอง

2. จัดระบบและทบทวนการเป็นผู้นำ

3. พัฒนาหลักสูตร

4. มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในโรงเรียน

5. มีส่วนในการพัฒนาครูสู่การเป็นครูมืออาชีพและส่งเสริมครูด้วยกัน

6. มีส่วนร่วมในการประเมินครู

                Strodl (1992) ประกอบด้วย 3 ข้อ ดังนี้

1. การมีภาวะผู้นำแบบไม่เป็นทางการที่แฝงอยู่

2. ความสามารถในการระบุลักษณะของปัญหาและข้อขัดแย้ง

3. การได้รับการเสริมพลังอำนาจเพื่อแก้ปัญหา

Fullan (1994) องค์ประกอบมี 2 ลักษณะ ได้แก่

1. มีความมุ่งมั่นและพัฒนาตนไปสู่ครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง

2. การสนับสนุนช่วยเหลือครูคนอื่นให้สามารถพัฒนาไปสู่ครูมืออาชีพด้วย

Pellicer and Anderson (1995) กล่าวไว้ 2 ประเด็น ได้แก่

1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการนำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียน

โดยก่อให้เกิดผลต่อการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. เป็นผู้นำทางการเรียนการสอน

Sherrill (1999) องค์ประกอบมีดังนี้

1. การเป็นแบบอย่างที่ดีของการสอนและการเรียนรู้

2. การเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้านทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้

3. การเข้าใจทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

4. การบ่มเพาะจิตวิญญาณการเป็นครู

5. การแสดงความสามารถในการแนะแนวแบบคลินิก

6. การสามารถชี้แนะผู้ร่วมงานและเพื่อนครูโดยวิธีคิดแบบไตร่ตรองและค้นหาตนเอง

Leithwood and Duke (1999) ประกอบด้วย 6ด้าน ได้แก่

1. เป็นผู้นำการเรียนการสอน

2. เป็นผู้นำการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง

3. เป็นผู้นำการเป็นตัวแบบด้านคุณธรรม

4. เป็นผู้นำการมีส่วนร่วม

5. เป็นผู้นำการบริหารจัดการ

6. เป็นผู้นำการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Childs-Bowen and Scrivner (2000) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1. มีการพัฒนาตนไปสู่ครูมืออาชีพภายใต้บรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกันของครู

2. ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

Neuman and Simmons (2000) กล่าวไว้ดังนี้

1. สร้างแรงบันดาลใจ

2. กระตุ้นการใช้ปัญญาให้ทีมสร้างแนวคิดใหม่

3. สร้างวิธีการใหม่

4. นำไปสู่การปฏิบัติจนเห็นผลเชิงประจักษ์

Katzenmeyer and Moller (2001) ประกอบด้วย

1. ทักษะการสอนแบบมืออาชีพ

2. บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับการเป็นครู

3. มีความมั่นคงและก้าวหน้าในอาชีพที่นำหน้าครูคนอื่น

4. มีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้

5. ทุ่มเทเวลาและความมุ่งมั่นในการเป็นครูผู้นำ

6. การยอมรับและเชื่อถือจากเพื่อนครูจากการปฏิบัติการสอนตามปกติ

                Frost and Durrant (2003) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ

1. การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ความร่วมมือ

2. การทดลองด้วยการปฏิบัติจริง

3. การรวมกลุ่มและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

Harris and Lambert (2003) ได้เสนอว่า ภาวะผู้นำครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1. พัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ (Adult Development) เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของตนเอง (Defines

Self) ในความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่า การตระหนักความจำเป็นของการไตร่ตรองด้วยตนเอง การประเมินการสอนของตนเอง และการใคร่ครวญพิจารณาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเชื่อมโยงกับครูคนอื่นๆ และพฤติกรรมของนักเรียนอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการแสดงความเคารพ และให้ความสนใจต่อผู้อื่นอย่างสุภาพจริงใจ

2. การเสวนา (Dialogue) เป็นการเสวนาระหว่างบุคลากรครูในสถานศึกษาเพื่อสร้างสัมพันธภาพ

ที่ดีระหว่างกัน มุ่งเน้นการเสวนาไปที่การสอนและการเรียนรู้ เป็นการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานโดยใช้คำถามที่กระตุ้นให้เกิดการเสวนาในประเด็นที่ดีและสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือความรู้ทางวิชาชีพเพื่อนำมาใช้ในการทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเปิดใจกว้าง ยืดหยุ่น ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ๆ

3. ความร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) เป็นความร่วมมือรวมพลังกันตัดสินใจโดยเสนอ

ทางเลือกที่สนองต่อความต้องการของบุคคลและกลุ่มบุคคลต่างๆ ของสถานศึกษา มีการตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างทีมงาน การเข้าร่วมในกิจกรรมการสร้างทีมงานที่ช่วยพัฒนาความไว้วางใจ และส่งเสริมการตัดสินใจร่วมกัน การร่วมกันจำแนกลักษณะของปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ค้นหาแนวทางแก้ปัญหา และคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในสถานศึกษา ทั้งนี้ต่างก็มีความเข้าใจดีว่าการจัดการความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรครู และสถานศึกษา

4. การเปลี่ยนแปลงองค์กร (Organization Change) เป็นการให้ความสนใจต่อประเด็นสำคัญ หรือ

สถานการณ์ต่างๆ ที่โรงเรียนเผชิญอยู่ มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเข้าร่วมในการวางแผนอย่างมีวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาสถานศึกษากับผู้อื่น ริเริ่มการปฏิบัติงานที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มีการกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้ร่วมกันปฏิบัติงานที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของสถานศึกษาในวงกว้างรวมทั้งมีการวางแผนติดตามผล ให้คำปรึกษา และให้การสนับสนุน มีการตระหนักถึงคุณค่าและให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเข้าร่วมกับผู้อื่นในการสร้างโปรแกรมหรือนโยบายที่ตอบสนองต่อวิวัฒนาการของโลกแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนานักเรียนในทุกด้าน การพัฒนาระบบสำหรับครูหรือนักเรียนที่เข้ามาใหม่ การพัฒนาโปรแกรมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานศึกษาอื่นๆ หน่วยงานต้นสังกัด และสถาบันอุดมศึกษา รวมไปถึงการให้ความสนใจและเข้าร่วมในกระบวนการคัดเลือกครูบรรจุใหม่ของสถานศึกษา

                Richardson Ackerman and Sarah Mackenzie (2006) ประกอบด้วย

1. การแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและแลกเปลี่ยนทักษะของตนเองกับผู้อื่น

2. เป็นผู้ที่หมั่นฝึกตนเองอยู่เสมอและเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษากับครูใหม่

3. การเป็นแบบในการผสานความร่วมมือ

4. ดูแลเอาใจใส่นักเรียนของตน

5. เข้าใจความขัดแย้งอันมักจะเกิดขึ้นกับภารกิจของโรงเรียน

 

แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตามผลการวิจัยและการสังเคราะห์

 

                อาภารัตน์ ราชพัฒน์ (2554) สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะครู ได้ดังนี้

1. มีการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

1.1 มีความมุ่งมั่นและการพัฒนาตน ไปสู่ครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนและ

ช่วยเหลือครูคนอื่นให้สามารถพัฒนาไปสู่ครูมืออาชีพด้วย

1.2 มีการพัฒนาตนไปสู่ครูมืออาชีพภายใต้บรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกันของครู

1.3 สร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นการใช้ปัญญา ให้ทีมสร้างแนวคิดใหม่ สร้างวิธีการใหม่

และนำไปสู่การปฏิบัติจนเห็นผลเชิงประจักษ์ได้

1.4 มีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้

1.5 เป็นผู้นำทางชีวิตให้กับเพื่อนครู

1.6 การพัฒนาวิชาชีพครูให้กับเพื่อนร่วมงาน

1.7 เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษากับครูใหม่ เป็นผู้ที่หมั่นฝึกตนเองอยู่เสมอ

1.8 การสามารถชี้แนะผู้ร่วมงานและเพื่อนครูโดยวิธีคิดแบบไตร่ตรองและค้นหาด้วยตนเอง

1.9 ส่งเสริมและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูขึ้นในโรงเรียนบนรากฐานการ

จัดการเชิงระบบขององค์การที่ตายตัวไปสู่ระบบที่ยืดหยุ่น

2. เป็นแบบอย่างทางการสอน มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

2.1 เป็นผู้นำทางการเรียนการสอนที่เกิดจากตนเอง

2.2 การแบบอย่างที่ดีของการสอนและการเรียนรู้

2.3 เป็นผู้นำด้านการเรียนการสอน

2.4 ครูแสดงความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านการเรียนการสอน

2.5 ทักษะการสอนแบบมืออาชีพ

2.6 มุ่งมั่นอย่างจริงจังในการปฏิบัติการสอน การเรียนรู้ และการประเมิน

2.7 เป็นผู้สอนที่ดีในห้องเรียน

3. มีส่วนร่วมในการพัฒนา มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

3.1 เป็นผู้สร้างเครือข่ายที่สามารถปฏิบัติงานในทีมกับเพื่อนครูในโรงเรียนของตนและสามารถ

ปฏิบัติงานในชุมชนได้

3.2 ทำงานร่วมกับครูคนอื่นและผู้บริหาร

3.3 มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขอโรงเรียน

3.4 เป็นผู้นำด้านการมีส่วนร่วม

3.5 การให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับครูคนอื่น

3.6 เป็นแบบอย่างในการผสานความร่วมมือ

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

4.1 เป็นผู้นำด้านการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง

4.2 แปลงแนวคิด วิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติที่ทำได้จริง

4.3 มีความสามารถในการระบุลักษณะของปัญหาและข้อขัดแย้ง

4.4 เข้าใจความขัดแย้งอันมักจะเกิดขึ้นกับภารกิจของโรงเรียน

4.5 เป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง

4.6 เมื่อถึงคราวคับขันก็พร้อมที่จะปลุกให้ทุกคนลุกขึ้นสู้เพื่อโรงเรียนและเพื่อนักเรียนของตน

5. เป็นผู้นำการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

5.1 เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการ

5.2 ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

5.3 ธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม องค์การแบบมุ่งสู่ความสำเร็จ

5.4 การประสานงานและการจัดการ

6. มุ่งความสำคัญที่นักเรียน มีองค์ประกอบย่อยดังนี้

6.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

6.2 ดูแลเอาใจใส่นักเรียนของตน

6.3 การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

                Acker-Hocevar and Touchton (1999) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู โดยใช้ด้านการสร้างความสัมพันธภาพและด้านความช่วยเหลือ สนับสนุนและความร่วมมือ พบว่า ครูที่มีภาวะผู้นำจะมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ เป็นผู้สร้างเครือข่ายที่สามารถปฏิบัติงานเป็นทีมกับเพื่อนครูในโรงเรียนของตน และสามารถปฏิบัติงายในชุมชนได้

                Snell and Swanson (2000) ทำการวิจัยเชิงคุณภาพติดตามวิถีครูผู้นำ 10 เป็นเวลามากกว่า 2 ปี ได้ผลสรุปว่า ครูเหล่านั้นได้รับการยอมรับจากเพื่อนครูให้เป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำครู เนื่องจาก

1. ครูแสดงความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านการเรียนการสอน

2. การให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับครูคนอื่น

3. มีไหวพริบการใช้อิทธิพลของตน

                Crowther et al. (2002) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูในสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือในโรงเรียนที่ประสบปัญหาวิกฤตโดยทำการศึกษาเป็นเวลา 5 ปี กับโรงเรียนในประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยได้พบองค์ประกอบของภาวะผู้นำครู 6 ระดับ เรียงลำดับจากสำคัญน้อยไปหามาก ดังนี้

1. การมีความเชื่อมั่นหรือมีเจคติทางบวกเกี่ยวกับทางมีหนทางที่ดีกว่าเสมอ

2. มุ่งมั่นอย่างจริงใจในการปฏิบัติการสอน การเรียนรู้และการประเมิน

3. ส่งเสริมและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูขึ้นในโรงเรียนบนรากฐานการจัดการ

เชิงระบบขององค์กรที่ตายตัวไปสู่ระบบที่ยืดหยุ่น

4. เผชิญปัญหาและอุปสรรคภายใต้วัฒนธรรมและโครงสร้างขององค์การ

5. แปลงแนวคิดวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติที่ทำได้จริง

6. ธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งสู่ความสำเร็จ

                Suranna and Moss (2002) ทำการวิจัยค้นหาภาวะผู้นำครูในการเรียนการสอนวิชาชีพครู พบว่า ครูมีภาวะผู้นำมีคุณลักษณะที่สำคัญที่ดังนี้

1. เป็นผู้สอนที่ดีในห้องเรียน

2. เป็นผู้นำทางชีวิตให้กับเพื่อนครู

3. เป็นผู้พัฒนาหลักสูตร

4. รับบทบาทเป็นตัวแทนขององค์กรทั้งในโรงเรียนหรือของสมาคมท้องถิ่น

5. ทำงานร่วมกับครูคนอื่นๆ และผู้บริหารด้วย

                York-Barr and Duke (2004) ได้สังเคราะห์งานวิจัยของภาวะผู้นำครู ผลการศึกษาจำแนกลักษณะภาวะผู้นำครูออกเป็น 6 ด้าน คือ

1. การประสานงานและการจัดการงานเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาและและหลักสูตรท้องถิ่นที่

ใช้ร่วมกันในเขตพื้นที่การศึกษา

2. การพัฒนาวิชาชีพครูให้กับเพื่อนร่วมงาน

3. การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียน หรือการมีส่วนร่วมใน

การพัฒนาโรงเรียน

4. การมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน

5. การส่งเสริมวิชาชีพครู

6. การสร้างพันธกิจร่วมกับสถาบันผลิตครู

              

 

จากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อการสังเคราะห์กำหนดองค์ประกอบของภาวะผู้นำครู จาก

ทัศนะและจากการศึกษาของนักวิชาการ ผู้ศึกษาได้ทำการสังเคราะห์ดังนี้

 

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำครู

 

                สุรีรัตน์ พัฒนเธียร (2552) ได้ศึกษาเรื่องตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้นำครูในสถานศึกษา ผลการศึกษาพบว่า

1. ความสามารถทางภาวะผู้นำครูส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

และส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผ่านบรรยากาศสถานศึกษา ความสามารถทางภาวะผู้นำครูส่งผลทางบวกต่อบรรยากาศสถานศึกษา และบรรยากาศสถานศึกษาส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่ม

ตัวอย่างในระดับดี (Chi-Square=28.36, df=24, P-value= 0.25, RMR=0.00, RMSEA=0.01, GFI=1.00, AGFI=0.98) ประกอบด้วย ความสามารถทางภาวะผู้นำครูเป็นตัวแปรเหตุ ประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นตัวแปรผลโดยมีบรรยากาศสถานศึกษาเป็นตัวแปรคั่นกลาง ความสามารถทางภาวะผู้นำครู และบรรยากาศสถานศึกษาร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 88 (R2=.88)

                อาภารัตน์ ราชพัฒน์ (2554) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการศึกษาพบว่า

1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครู มีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล

ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20%

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่

พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ ( X2 ) เท่ากับ 34.59 ค่าองศาอิสระ (df)เท่ากับ 31 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.300 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.013

3. องค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบ

ย่อยและตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้

 

                Cynthia L. Kenyon (2008: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู : บทบรรยายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำของครูได้นำเข้ามาใช้ในโรงเรียนเริ่มจากเวลาที่เสียงระฆังที่ดังขึ้นในโรงเรียน ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองกับครูจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้เน้นไปยังตำแหน่งการจัดการที่มีรูปแบบ เช่น ตำแหน่งผู้บริหาร กลุ่มที่สองได้เน้นไปยังหลักสูตรและทีมงานพัฒนา และกลุ่มที่สามเน้นที่การปฏิบัติงานประจำวันของการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและเตรียมการสำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพสำหรับทีมงาน การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำรวจกลุ่มที่สามสำหรับการฝึกฝนเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครูในด้านคุณภาพของการศึกษาซึ่งเน้นไปที่การบรรยายเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครูจำนวน 11 รายการ

                การบรรยายเกี่ยวกับรูปแบบของชีวิตนำมาใช้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ทางด้านภาวะผู้นำ สำหรับการทดลองในครั้งนี้เพื่อจัดการกับผู้นำครูจำนวน 3 คน จากโรงเรียนระดับอำเภอ 2 โรงเรียน ครูที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากศูนย์การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เน้นในเรื่องของภาวะผู้นำของครู ผู้นำครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านเรื่องราวต่างๆ และนำเสนอเกี่ยวกับประวัติของตนเองและเข้าร่วมการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อสำรวจความสัมพันธ์เกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลของครูและประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพในด้านโครงสร้างของภาวะผู้นำของครู จำนวนขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลในด้านการพัฒนาภาวะผู้นำจะรวมถึง ประสบการณ์ในวัยเด็ก ประสบการณ์ทางอ้อม และผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งหมายถึงผู้ที่เสริมแรงครูเพื่อให้มีความเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ ครอบครัวมีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำทั้งทางด้านกิจกรรมและเวลา บุคลิกลักษณะที่มีความหมายมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาวิชาชีพ และการพัฒนาสู่ความเป็นครูวิชาชีพทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็นำมาใช้ในการทดลองในครั้งนี้ด้วย ผู้บริหารก็มีส่วนในการพัฒนาหรือมีส่วนบั่นทอนเกี่ยวภาวะผู้นำของครู การศึกษาวิจัยครั้งนี้อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับครู ผู้บริหารและโปแกรมในการพัฒนาสู่วิชาชีพและกิจกรรมต่างๆ ด้วย

                Michael N. Cosenza (2010: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องผลกระทบของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพกับภาวะผู้นำของครู ผลการศึกษาพบว่า ตามที่ไม่มีคำจำกัดความที่แน่นอนสำหรับคำว่า ภาวะผู้นำของครู โดยมีแนวคิดว่าเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นเหมือนกับกุญแจที่สำคัญสำหรับความสำเร็จของโรงเรียนและการพัฒนาสู่ความเป็นครูมืออาชีพ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าครู ผู้ซึ่งรู้สึกมีอำนาจในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในห้องเรียน โรงเรียนพัฒนาวิชาชีพ ได้จัดเตรียมโอกาสที่หลากหลายสำหรับครูเพื่อละทิ้งการจำกัดขอบเขตในห้องเรียนเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ใหม่เกี่ยวกับโอกาสในการใช้ภาวะผู้นำ วัตถุประสงค์ขั้นแรกของการศึกษาวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลกระทบที่ต้นแบบของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพที่มีต่อภาวะผู้นำของครู ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาวิจัยนี้เพื่อสำรวจความเข้าใจของครูที่มีประสบการณ์การสอนมานานเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครู และไม่เพียงแต่ที่พวกเขาจะเชื่อว่าต้นแบบของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพมีส่วนต่อการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างไร

ครูจำนวน 22 คน จากการเป็นส่วนร่วมของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพถูกสัมภาษณ์เพื่อบอกถึงแนวความคิดของพวกเขาที่มีต่อภาวะผู้นำของครู ผลของการสัมภาษณ์ได้พรรณนาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครู และส่วนร่วมในมหาวิทยาลัยมีผลกระทบต่อสมรรถภาพของภาวะผู้นำอย่างไร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้เปิดเผยเกี่ยวกับส่วนประกอบที่สำคัญบางอย่างของส่วนร่วมที่มีส่วนทำให้ภาวะผู้นำของครูแสดงออกมาได้   

ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดได้รายงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีส่วนทำให้ทั้งภาวะผู้นำของครูและสมรรถภาพในการเป็นผู้เพิ่มเพิ่มขึ้น ตามที่ภาวะผู้นำของครูได้ปรากฏออกมา ทำให้มีความร่วมมือและการให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมสัมพันธภาพของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพถูกรายงานในฐานะที่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นสำหรับการเพิ่มศักยภาพภาวะผู้นำของครู ผลการวิจัยเหล่านี้คือหลักฐานสำคัญสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไปที่สามารถนำมาสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้ต้นแบบของโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพให้มีการฝึกปฏิบัติที่มาตรฐานสำหรับโปรแกรมการจัดการศึกษาของครู

                Bryan Stoops (2011: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องภาวะผู้นำครูในการปฏิรูปโรงเรียน : มุมมองของครูสมัยใหม่เกี่ยวกับภาวะผู้นำครู ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบข้อมูลทั้งในด้านของปริมาณและคุณภาพจากประชากรจำนวน 32 คน ระบุให้รู้ว่า ทักษะความเป็นผู้นำของครูรับรู้หรือเข้าใจได้โดย ประชากรในฐานะที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับภาวะผู้นำของครูที่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางด้านการเป็นครูวิชาชีพ การจัดระบบขอบข่ายงาน เช่น กลุ่มหรือทีมที่เป็นกลุ่มที่สอนกลุ่มเล็กๆ ที่ซึ่งรับรู้หรือเข้าใจได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดำเนินการของภาวะผู้นำครูในโรงเรียน ผลประโยชน์ที่ได้รับของการทำงานในกลุ่มของภาวะผู้นำครูในโรงเรียนคือการได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่เป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น การได้รู้ถึงอุปสรรคของการทำงานของการใช้ภาวะผู้นำครูในโรงเรียน คือ เวลาและครูคนอื่นๆ

                Elizabeth Frances Majocha (2011: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องคุณภาพของภาวะผู้นำครูที่เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำครู คือการกระตุ้นในด้านการส่งเสริมเพื่อนร่วมงานที่นำเอาเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร (ICT) มาใช้อย่างต่อเนื่องในห้องเรียน คอลลิน (2001) ต้นแบบที่ดีของภาวะผู้นำได้กล่าวถึงการสร้างความเข้มข้นเกี่ยวกับความรู้สึกของคนระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สาเหตุของการศึกษาวิจัยที่หลาหลายในครั้งนี้ได้สำรวจเกี่ยวกับคุณภาพของภาวะผู้นำของครูในระดับโรงเรียน K ถึง ระบบโรงเรียนรัฐบาลระดับ 12 ซึ่งมีจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก การเก็บข้อมูลในครั้งนี้โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างจากครูจำนวน 4 โรงเรียน ผู้สังเกตการณ์วิจัยและการจดบันทึก และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่ครูจาก 4 โรงเรียนที่ทำให้การทำงานในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ วิธีการทดลองแบบให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจะถูกกำหนดรหัสให้และมีการจัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูลนี้ด้วย ซึ่งการจัดการนี้มีการรวมข้อมูลเข้าด้วยกันและมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมการตรวจสอบค่าความเที่ยงและความเชื่อมั่น ผลการวิจัยพบว่า (a) มีการรักษาสภาพภาวะผู้นำ ที่ผู้นำครูต้องการเรียนรู้ สำรวจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (b) เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือ ซึ่งผู้นำครูต้องมีความรอบรู้ สมถะ ส่งเสริมและมีความตื่นตัวในการเรียนรู้ (c) เพื่อให้ได้รับภาวะผู้นำ ผู้นำครูต้องส่งเสริม สนับสนุน ให้ความเคารพและมีระบบเครือข่าย (d) เพื่อรักษาภาวะผู้นำ ผู้นำครูต้องยอมรับข้อเสนอแนะของการพัฒนามาตรฐานการศึกษาระดับชาติสำหรับการบริหารจัดการ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมผู้นำครูเพื่อรักษาระดับมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีระดับชาติ เพื่อรักษาการส่งเสริมภาวะผู้นำของครูในด้านเทคโนโลยี ผู้นำครูต้องการคำแนะนำย้อนกลับ (feedback) ในด้านทักษะภาวะผู้นำของเขา นอกจานี้ ผู้นำครูต้องสามารถทำงานทุกๆ ด้านกับเพื่อนร่วมงานในฐานที่เป็นการพัฒนาสู่ความเป็นวิชาชีพที่เป็นระบบ เช่น การร่วมประชมอภิปราย การปฏิบัติการ ที่ไม่เพียงแต่การตอบคำถามในด้านการปรับปรุงการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียน ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีของครูเพื่อใช้ในวิธีการที่หลากหลายในชั้นเรียนของพวกเขา

                Kerry A. Boyd (2011: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องความเข้าใจของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู ผลการศึกษาพบว่า ตามที่ผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีภาระความรับผิดชอบหลายอย่างในปัจจุบันนี้ มีรูปแบบที่หลากหลายเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนภาวะผู้นำ (เช่น ภาวะผู้นำของครู) ที่กลายเป็นเรื่องที่แพร่กระจายมากขึ้นในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา วรรณกรรมทางการศึกษาส่วนใหญ่ได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำของครูเพียงแค่การถามคำถามของผู้นำครูเกี่ยวกับความเข้าใจของพวกเขาเอง ที่มองข้ามความเข้าใจของผู้บริหาร ตามผลของแนวคิดของผู้บริหารหายไปจากการสนทนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครู อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารคือผู้นำในโรงเรียน มีภาวะที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวัฒนธรรมของภาวะผู้นำ วัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยการสัมภาษณ์คุณภาพเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครู ที่ซึ่งให้คำจำกัดความของคำว่า “ภาวะผู้นำของครู” ที่เป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นการส่งเสริมภาวะผู้นำของครูที่มีอยู่ในโครงสร้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน

การศึกษาวิจัยนี้มีส่วนทำให้วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและภาวะผู้นำของครู ตามที่การศึกษาวิจัยนี้ ค้นพบว่าผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีแนวโน้มที่จะให้คำจำกัดความเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครูผ่านการพัฒนาคุณภาพที่ดีเลิศ และสามารถดูได้จากกลุ่มตัวอย่างได้ด้วยเช่นกัน เช่น ภาระงาน กฎเกณฑ์ และโอกาส นอกจากนี้ ผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำนวยความสะดวกให้กับภาวะผู้นำของครูผ่านวัฒนธรรมทางการศึกษาในระดับสูงในโรงเรียน การเป็นต้นแบบของภาวะผู้นำ และจัดเตรียมโอกาสสำหรับภาวะผู้นำของครูทั้งที่มีอุปสรรคต่างๆ มากมาย ท้ายที่สุด ผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาส่งเสริมภาวะผู้นำของครูผ่านการสร้างสมรรถภาพ ปลูกฝังการแลกเปลี่ยนแนวความคิด และการจัดระบบโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารควรรายงานเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ่านมาด้วยเกี่ยวกับผู้นำครู และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการเป็นผู้นำ ซึ่งเจตนาของการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะในครั้งนี้สำหรับนโยบายและการฝึกปฏิบัติที่ถูกเสนอให้ภายใต้การอภิปรายผลด้วย

บรรณานุกรม

www.kroobannok.com ( นายยาเบ็น  เรืองจรูญศรี )

www.kajubkajib.blogspot.com ( ภัทรจิตติ  บุรีเพีย )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



04025 โดย นางสาวกรวรรณ ทองแก้ว 5670107202 ภาษาไทย หมู่ 2 2014-08-02 09:39:43 v : 3850



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา