ภาวะผู้นำทางการศึกษา


รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

 

นางสาวสกาวเดือน   ไผ่ป้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

 

นางสาวสกาวเดือน   ไผ่ป้อง  รหัส 5670107225

คณะครุศาสตร์   โปรแกรม วิชาภาษาไทย  ชั้นปีที่ 2 หมู่เรียนที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

คำนำ

              

                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษา รหัสวิชา 106402 

จัดทำรายงานเล่มนี้ขึ้น  เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาว่าควรมีคุณลักษณะ พฤติกรรมของผู้นำอย่างไร และเพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา 

 ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้

 

 

 

                                               นางสาวสกาวเดือน  ไผ่ป้อง

                                             ผู้จัดทำ

 


 

 

สารบัญ

เนื้อหา

สารบัญ.. 1

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. 2

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. 2

ทฤษฎีคุณลักษณะ. 3

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ... 4

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์.. 5

ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. 6

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. 6

 

 


 

 

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

              ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในยุคปัจจุบันต้องมีบทบาทในการจัดการและพฤติกรรมขององค์กร ตลอดจนต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงเทคนิคในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ บทบาทเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์กรให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

             ผู้นำเป็นองค์ประกอบหลักขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กร ปัจจัยสำคัญคือ ผู้นำ ถ้าองค์กรใดได้ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะไม่สามารถสั่งการและใช้อิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้ซ้ำร้ายยังเป็นการทำลายขวัญกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ ซึ่งจะเป็นผลทำให้การปฏิบัติงานในด้านต่างๆล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จในองค์กร

              ผู้นำที่มีสมรรถภาวะต่ำ ย่อมพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจของตนเองและแสดงออกซึ่งความเก่ง ความสามารถของตนแต่เพียงผู้เดียว ผู้นำที่มีสมรรถภาวะปานกลาง พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้กำลังและความสามารถของบุคคลอื่นเป็นที่ตั้ง ส่วนผู้นำที่มีสมรรถภาวะสูงนั้น ก็จะใช้วิธีการบริหารงานโดยใช้สติปัญญาของบุคลอื่นมาเกื้อกูลเป็นหลักยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และเมื่อมีเหตุการณ์ปัญหาเกิดขึ้นผู้นำก็จะเรียกประชุมคณะทำงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเป็นแบบมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ย่อมทำให้เกิดพันธกิจ(Mission) ที่เป็นแนวทางในการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย

              แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำซึ่งผู้นำในที่นี้คือผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำ(Leadership) จะช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานต่างๆในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผลคือ

ช่วยให้บุคลากรในองค์กรได้รับการประสานงานและแนะนำการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด

ช่วยรักษาสถานภาพขององค์กร ให้มีความมั่นคงโดยการปรับเปลี่ยนหรือปรับตัวตามเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

ช่วยประสานฝ่ายต่างๆขององค์กรให้ดำเนินการได้ตามลักษณะพลวัตภายในองค์กร โดยเฉพาะในช่วงองค์กรอยู่ในระหว่างพัฒนาการเปลี่ยนแปลงช่วยแก้ไขความขัดแย้งระหว่างส่วนต่างๆ

ช่วยให้บุคลากรในองค์กรบรรลุถึงความต้องการต่างๆทั้งในด้านความพึงพอใจและเป้าหมายส่วนบุคคล โดยจะเป็นผู้ชักชวนจูงใจให้ผู้ร่วมงานมีความยินดีและมีความเต็มใจที่จะร่วมมือปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย(Steers,1977 p.142)

           ทฤษฎีภาวะผู้นำภายใต้การศึกษาความเป็นผู้นำ โดยทั่วไปทฤษฎีความเป็นผู้นำจะมุ่งที่เป้าหมายอย่างเดียวกันคือ การระบุองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้ผู้นำมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีศึกษาความเป็นผู้นำที่สำคัญคือ ทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีเชิงพฤติกรรมและทฤษฎีเชิงสถานการณ์

     ทฤษฎีคุณลักษณะ(trait theories)

           เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนบุคคลอาจมาจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม Aristotle เชื่อว่าความเป็นผู้นำเริ่มมาแต่กำเนิดจึงพยายามที่จะแยกคุณสมบัติพิเศษที่ติดมากับผู้นำว่าแตกต่างจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1.ลักษณะทางกาย พบว่าผู้นำที่เป็นหัวหน้ามักมีความสูงและมีน้ำหนักมากกว่าคนปกติโดยเฉลี่ย

2.ลักษณะทางสติปัญญาพบว่าสติปัญญามีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำผู้ที่มีความสามารถทางสมองสูงกว่าคนอื่นๆจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำ

3.ลักษณะด้านบุคลิกภาพ เช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสามารถในการปรับตัว การมีลักษณะเด่น การเป็นคนเปิดเผยไม่เก็บตัว และมีความสามารถในการเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ จะได้รับการยอมรับให้ป็นผู้นำ(ธร สุนทรายุทธ,ม.ป.ป.,หน้า 98-99)

     ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ(behavioral theories)

ทฤษฎีนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมของผู้นำที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็น “สไตล์ความเป็นผู้นำ” โดยการศึกษาว่าแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นประจำของผู้นำ แม้ความเป็นผู้นำทุกอย่างจะเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น ผู้นำอาจแตกต่างกันภายใน “สไตล์” ที่พวกเขาใช้เพื่อที่จะให้เขาบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำนี้ครั้งแรกถูกดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยไอโอวาโดย Lewin,Lippitt and White ได้ศึกษาภาวะผู้นำ 3 แบบ คือ

แบบเผด็จการ(autocratic) เป็นลักษณะของการควบคุมของกลุ่มและตัดสินใจโดยผู้นำ

แบบประชาธิปไตย(democratic) เป็นแบบเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม

แบบตามสบาย(laissez faire) ผู้นำมีส่วนน้อยมากทุกกิจกรรม

ต่อมามหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ดำเนินการศึกษากลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพและกลุ่มงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าผู้นำได้กระทำการอะไรบ้างที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มงานสองกลุ่มนี้ บนพื้นฐานการสัมภาษณ์และแบสอบถาม พวกเขาได้ระบุพฤติกรรมของผู้นำสองแบบที่ปลายสุดด้านหนึ่งของแนวต่อเนื่องจะเป็นพฤติกรรมแบบมุ่งคน(employee-centered behavior)และปลายสุดด้านหนึ่งของแนวต่อเนื่องจะเป็นพฤติกรรมแบบมุ่งงาน(job-centered behavior) ด้วยวิธีมุ่งคนผู้บริหารจะมุ่งความสนใจของพวกเขาไปยังการพัฒนากลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพที่ทุ่มเทให้กับเป้าหมายการทำงานที่สูงด้วยวิธีมุ่งงาน ผู้บริหารจะแบ่งงานเป็นงานประจำวัน กำหนดวิธีการทำงาน และควบคุมพนักงานอย่างใกล้ชิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มงานที่มีผลการดำเนินงานสูง(เปรียบเทียบกับกลุ่มงานที่มีผลการดำเนินการต่ำ)หัวหน้างานจะมุ่งใช้การควบคุมที่ไม่เข้มงวดและตอบสนองต่อปัญหาด้วยการช่วยเหลือ แต่ผู้นำบางคนก็เน้นทั้งคนเน้นทั้งงาน ต่อมามหาวิทยาลัยโอไฮโอ ได้วิจัยพบว่าพฤติกรรมของผู้นำในแง่ของสองมิติ คือ การมุ่งคนและการมุ่งงานมีสไตล์ในสี่แบบคือ

-การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง

-การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ

-การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง

-การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ

และทั้งสี่แบบนี้พบว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ต่อมามหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้สรุปผลการวิจัย โดยได้พัฒนาตารางการบริหาร(the managerial grid) ขึ้นมา หรือตารางความเป็นผู้นำ ตารางการบริหารจะระบุมิติสองมิติของพฤติกรรมความเป็นผู้นำ ว่าเป็นการมุ่งคนและการมุ่งงาน การมุ่งงานของผู้บริหารจะถูกประเมินตามมาตราส่วนเก้าคะแนน 9 หมายถึงการมุ่งงานสูงมาก และ 1 จะหมายถึงการมุ่งงานต่ำมาก ผู้บริหารที่มุ่งงานสูงจะมุ่งผลสำเร็จ มิติที่สองคือ การมุ่งคนที่ถูกประเมินตามมาตราส่วน 9 คะแนน 9 จะหมายถึงการมุ่งคนสูงมากและ 1 จะหมายถึงการมุ่งคนต่ำมาก ผู้บริหารที่มุ่งคนจะหลีกหนีความขัดแย้งและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชา เบลดและมูตัน เสนอแนะว่าตำแหน่ง 9,9 มุมขวาบนของตารางความเป็นผู้นำ จะเป็นสไตล์ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การบริหารสไตล์ 1,1 คือการบริหารแบบปล่อยปละละเลยมุ่งงานต่ำและมุ่งคนต่ำ การบริหารสไตล์ 1,9 คือการบริหารแบบสโมสร มุ่งคนสูงมุ่งงานต่ำ การบริหารสไตล์ 9,1 คือการบริหารแบบเผด็จการคือ มุ่งงานสูงมุ่งคนต่ำ การบริหารสไตล์ 5,5 คือการบริหารแบบเดินทางสายกลางมุ่งทั้งคนมุ่งทั้งงานปานกลาง และการบริหารแบบ 9,9 คือการบริหารแบบประชาธิปไตยมุ่งทั้งงานสูงมุ่งทั้งคนสูง

ดังนั้นผู้นำควรเลือกสไตล์บริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือบริบทขององค์กรเพื่อนำองค์กรให้ไปสู่ประสิทธิผล

             ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์(situational theories) ฟิดเลอร์(Fiedler’contingency theory) ให้ความสำคัญ 3 สถานการณ์ คือ

1) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม

2) โครงสร้างงาน

3) อำนาจตามตำแหน่ง

          ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(transformational theories)

          ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือผู้นำเชิงปฏิรูปจะพยายามเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรจากสภาวะหรือวัฒนธรรมหนึ่งๆไปเป็นสภาวะหนึ่งหรือวัฒนธรรมหนึ่งๆ ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปจะเกี่ยวพันกับความเป็นผู้นำเชิงบารมีสูงมากเพราะจะสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใต้บัคับบัญชา ผู้นำที่ดี คือ ผู้ที่เข้าใจถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุผลสำเร็จ และอีกส่วนหนึ่งที่มาสโลว์มองถึงความเป็นผู้นำก็คือ การที่ผู้นำนั้นจะต้องมีจิตใจหนักแน่นต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายต่าง ๆ ผู้นำที่ทำตัวเป็นที่รักของลูกน้องอาจจะไม่ใช่ผู้นำที่ดีถ้าสถานการณ์บังคับให้ผู้นำนั้นต้องกล้าเผชิญหน้าต่อปัญหา เพราะผู้นำที่น่ารักที่ทำตัวเหนือปัญหานั้นมักจะไม่ยอมแก้ปัญหาหรือรับรู้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ภาวะผู้นำนั้นจึงมาจากการที่บุคคลนั้น ๆ สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้ เป็นบุคคลที่สำเหนียกอยู่ตลอดเวลาว่าเป้าหมายในการแก้ปัญหานั้นจะเป็นอย่างไร และต้องอุทิศตัวอย่างไมคิดถึงตัวเอง (มาสโลว์, 2542, หน้า 67-68)

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

            บทบาทของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้น ส่งเสริมให้การบริหารงานในบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารประสบผลสำเร็จ ซึ่งบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1.เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

2. เป็นผู้นำในการบริหาร ยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

3.เป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

4.เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ

5.เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน

6.เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

7.เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในการสร้างสรรค์

8.เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

9.เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน

ที่กล่าวมา ผู้บริหารที่ยึดหลักการ 10 ประการ ดังกล่าว ย่อมจะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารที่ดีจึงต้องสำรวจตนเองถึงข้อบกพร่องและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการบริหารจัดการใหม่และการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งในการดำเนินงานผู้บริหารต้องยึดการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM: School based Management ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้

1.การเป็นผู้นำทางวิชาการ

2.การบริหารแบบมีส่วนร่วม

3.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก

4.การประสานความสัมพันธ์

5.การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร

6. การสร้าวงแรงจูงใจ

7.การประเมินภายในและการประเมินภายนอก

8.การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

9.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

10.การส่งเสริมเทคโนโลยี

 

 

บรรณานุกรม

www.lek56.edublogs.org

www.gotoknow.org/posts

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

 

นางสาวสกาวเดือน   ไผ่ป้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รายงาน

เรื่อง   ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

 

 

 

 

 

นางสาวสกาวเดือน   ไผ่ป้อง  รหัส 5670107225

คณะครุศาสตร์   โปรแกรม วิชาภาษาไทย  ชั้นปีที่ 2 หมู่เรียนที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

คำนำ

              

                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษา รหัสวิชา 106402 

จัดทำรายงานเล่มนี้ขึ้น  เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาว่าควรมีคุณลักษณะ พฤติกรรมของผู้นำอย่างไร และเพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา 

 ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้

 

 

 

                                               นางสาวสกาวเดือน  ไผ่ป้อง

                                             ผู้จัดทำ

 


 

 

สารบัญ

เนื้อหา

สารบัญ.. 1

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. 2

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. 2

ทฤษฎีคุณลักษณะ. 3

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ... 4

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์.. 5

ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. 6

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. 6

 

 


 

 

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

              ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในยุคปัจจุบันต้องมีบทบาทในการจัดการและพฤติกรรมขององค์กร ตลอดจนต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงเทคนิคในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ บทบาทเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์กรให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

             ผู้นำเป็นองค์ประกอบหลักขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กร ปัจจัยสำคัญคือ ผู้นำ ถ้าองค์กรใดได้ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะไม่สามารถสั่งการและใช้อิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้ซ้ำร้ายยังเป็นการทำลายขวัญกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ ซึ่งจะเป็นผลทำให้การปฏิบัติงานในด้านต่างๆล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จในองค์กร

              ผู้นำที่มีสมรรถภาวะต่ำ ย่อมพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจของตนเองและแสดงออกซึ่งความเก่ง ความสามารถของตนแต่เพียงผู้เดียว ผู้นำที่มีสมรรถภาวะปานกลาง พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้กำลังและความสามารถของบุคคลอื่นเป็นที่ตั้ง ส่วนผู้นำที่มีสมรรถภาวะสูงนั้น ก็จะใช้วิธีการบริหารงานโดยใช้สติปัญญาของบุคลอื่นมาเกื้อกูลเป็นหลักยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และเมื่อมีเหตุการณ์ปัญหาเกิดขึ้นผู้นำก็จะเรียกประชุมคณะทำงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเป็นแบบมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ย่อมทำให้เกิดพันธกิจ(Mission) ที่เป็นแนวทางในการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย

              แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำซึ่งผู้นำในที่นี้คือผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำ(Leadership) จะช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานต่างๆในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผลคือ

ช่วยให้บุคลากรในองค์กรได้รับการประสานงานและแนะนำการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด

ช่วยรักษาสถานภาพขององค์กร ให้มีความมั่นคงโดยการปรับเปลี่ยนหรือปรับตัวตามเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

ช่วยประสานฝ่ายต่างๆขององค์กรให้ดำเนินการได้ตามลักษณะพลวัตภายในองค์กร โดยเฉพาะในช่วงองค์กรอยู่ในระหว่างพัฒนาการเปลี่ยนแปลงช่วยแก้ไขความขัดแย้งระหว่างส่วนต่างๆ

ช่วยให้บุคลากรในองค์กรบรรลุถึงความต้องการต่างๆทั้งในด้านความพึงพอใจและเป้าหมายส่วนบุคคล โดยจะเป็นผู้ชักชวนจูงใจให้ผู้ร่วมงานมีความยินดีและมีความเต็มใจที่จะร่วมมือปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย(Steers,1977 p.142)

           ทฤษฎีภาวะผู้นำภายใต้การศึกษาความเป็นผู้นำ โดยทั่วไปทฤษฎีความเป็นผู้นำจะมุ่งที่เป้าหมายอย่างเดียวกันคือ การระบุองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้ผู้นำมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีศึกษาความเป็นผู้นำที่สำคัญคือ ทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีเชิงพฤติกรรมและทฤษฎีเชิงสถานการณ์

     ทฤษฎีคุณลักษณะ(trait theories)

           เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนบุคคลอาจมาจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม Aristotle เชื่อว่าความเป็นผู้นำเริ่มมาแต่กำเนิดจึงพยายามที่จะแยกคุณสมบัติพิเศษที่ติดมากับผู้นำว่าแตกต่างจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1.ลักษณะทางกาย พบว่าผู้นำที่เป็นหัวหน้ามักมีความสูงและมีน้ำหนักมากกว่าคนปกติโดยเฉลี่ย

2.ลักษณะทางสติปัญญาพบว่าสติปัญญามีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำผู้ที่มีความสามารถทางสมองสูงกว่าคนอื่นๆจะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำ

3.ลักษณะด้านบุคลิกภาพ เช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสามารถในการปรับตัว การมีลักษณะเด่น การเป็นคนเปิดเผยไม่เก็บตัว และมีความสามารถในการเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ จะได้รับการยอมรับให้ป็นผู้นำ(ธร สุนทรายุทธ,ม.ป.ป.,หน้า 98-99)

     ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ(behavioral theories)

ทฤษฎีนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมของผู้นำที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็น “สไตล์ความเป็นผู้นำ” โดยการศึกษาว่าแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นประจำของผู้นำ แม้ความเป็นผู้นำทุกอย่างจะเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น ผู้นำอาจแตกต่างกันภายใน “สไตล์” ที่พวกเขาใช้เพื่อที่จะให้เขาบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำนี้ครั้งแรกถูกดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยไอโอวาโดย Lewin,Lippitt and White ได้ศึกษาภาวะผู้นำ 3 แบบ คือ

แบบเผด็จการ(autocratic) เป็นลักษณะของการควบคุมของกลุ่มและตัดสินใจโดยผู้นำ

แบบประชาธิปไตย(democratic) เป็นแบบเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม

แบบตามสบาย(laissez faire) ผู้นำมีส่วนน้อยมากทุกกิจกรรม

ต่อมามหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ดำเนินการศึกษากลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพและกลุ่มงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าผู้นำได้กระทำการอะไรบ้างที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มงานสองกลุ่มนี้ บนพื้นฐานการสัมภาษณ์และแบสอบถาม พวกเขาได้ระบุพฤติกรรมของผู้นำสองแบบที่ปลายสุดด้านหนึ่งของแนวต่อเนื่องจะเป็นพฤติกรรมแบบมุ่งคน(employee-centered behavior)และปลายสุดด้านหนึ่งของแนวต่อเนื่องจะเป็นพฤติกรรมแบบมุ่งงาน(job-centered behavior) ด้วยวิธีมุ่งคนผู้บริหารจะมุ่งความสนใจของพวกเขาไปยังการพัฒนากลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพที่ทุ่มเทให้กับเป้าหมายการทำงานที่สูงด้วยวิธีมุ่งงาน ผู้บริหารจะแบ่งงานเป็นงานประจำวัน กำหนดวิธีการทำงาน และควบคุมพนักงานอย่างใกล้ชิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มงานที่มีผลการดำเนินงานสูง(เปรียบเทียบกับกลุ่มงานที่มีผลการดำเนินการต่ำ)หัวหน้างานจะมุ่งใช้การควบคุมที่ไม่เข้มงวดและตอบสนองต่อปัญหาด้วยการช่วยเหลือ แต่ผู้นำบางคนก็เน้นทั้งคนเน้นทั้งงาน ต่อมามหาวิทยาลัยโอไฮโอ ได้วิจัยพบว่าพฤติกรรมของผู้นำในแง่ของสองมิติ คือ การมุ่งคนและการมุ่งงานมีสไตล์ในสี่แบบคือ

-การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง

-การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ

-การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง

-การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ

และทั้งสี่แบบนี้พบว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ต่อมามหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้สรุปผลการวิจัย โดยได้พัฒนาตารางการบริหาร(the managerial grid) ขึ้นมา หรือตารางความเป็นผู้นำ ตารางการบริหารจะระบุมิติสองมิติของพฤติกรรมความเป็นผู้นำ ว่าเป็นการมุ่งคนและการมุ่งงาน การมุ่งงานของผู้บริหารจะถูกประเมินตามมาตราส่วนเก้าคะแนน 9 หมายถึงการมุ่งงานสูงมาก และ 1 จะหมายถึงการมุ่งงานต่ำมาก ผู้บริหารที่มุ่งงานสูงจะมุ่งผลสำเร็จ มิติที่สองคือ การมุ่งคนที่ถูกประเมินตามมาตราส่วน 9 คะแนน 9 จะหมายถึงการมุ่งคนสูงมากและ 1 จะหมายถึงการมุ่งคนต่ำมาก ผู้บริหารที่มุ่งคนจะหลีกหนีความขัดแย้งและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชา เบลดและมูตัน เสนอแนะว่าตำแหน่ง 9,9 มุมขวาบนของตารางความเป็นผู้นำ จะเป็นสไตล์ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การบริหารสไตล์ 1,1 คือการบริหารแบบปล่อยปละละเลยมุ่งงานต่ำและมุ่งคนต่ำ การบริหารสไตล์ 1,9 คือการบริหารแบบสโมสร มุ่งคนสูงมุ่งงานต่ำ การบริหารสไตล์ 9,1 คือการบริหารแบบเผด็จการคือ มุ่งงานสูงมุ่งคนต่ำ การบริหารสไตล์ 5,5 คือการบริหารแบบเดินทางสายกลางมุ่งทั้งคนมุ่งทั้งงานปานกลาง และการบริหารแบบ 9,9 คือการบริหารแบบประชาธิปไตยมุ่งทั้งงานสูงมุ่งทั้งคนสูง

ดังนั้นผู้นำควรเลือกสไตล์บริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือบริบทขององค์กรเพื่อนำองค์กรให้ไปสู่ประสิทธิผล

             ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์(situational theories) ฟิดเลอร์(Fiedler’contingency theory) ให้ความสำคัญ 3 สถานการณ์ คือ

1) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม

2) โครงสร้างงาน

3) อำนาจตามตำแหน่ง

          ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(transformational theories)

          ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือผู้นำเชิงปฏิรูปจะพยายามเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรจากสภาวะหรือวัฒนธรรมหนึ่งๆไปเป็นสภาวะหนึ่งหรือวัฒนธรรมหนึ่งๆ ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปจะเกี่ยวพันกับความเป็นผู้นำเชิงบารมีสูงมากเพราะจะสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใต้บัคับบัญชา ผู้นำที่ดี คือ ผู้ที่เข้าใจถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุผลสำเร็จ และอีกส่วนหนึ่งที่มาสโลว์มองถึงความเป็นผู้นำก็คือ การที่ผู้นำนั้นจะต้องมีจิตใจหนักแน่นต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายต่าง ๆ ผู้นำที่ทำตัวเป็นที่รักของลูกน้องอาจจะไม่ใช่ผู้นำที่ดีถ้าสถานการณ์บังคับให้ผู้นำนั้นต้องกล้าเผชิญหน้าต่อปัญหา เพราะผู้นำที่น่ารักที่ทำตัวเหนือปัญหานั้นมักจะไม่ยอมแก้ปัญหาหรือรับรู้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ภาวะผู้นำนั้นจึงมาจากการที่บุคคลนั้น ๆ สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้ เป็นบุคคลที่สำเหนียกอยู่ตลอดเวลาว่าเป้าหมายในการแก้ปัญหานั้นจะเป็นอย่างไร และต้องอุทิศตัวอย่างไมคิดถึงตัวเอง (มาสโลว์, 2542, หน้า 67-68)

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

            บทบาทของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้น ส่งเสริมให้การบริหารงานในบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารประสบผลสำเร็จ ซึ่งบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1.เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

2. เป็นผู้นำในการบริหาร ยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

3.เป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

4.เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ

5.เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน

6.เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

7.เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในการสร้างสรรค์

8.เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

9.เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน

ที่กล่าวมา ผู้บริหารที่ยึดหลักการ 10 ประการ ดังกล่าว ย่อมจะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารที่ดีจึงต้องสำรวจตนเองถึงข้อบกพร่องและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการบริหารจัดการใหม่และการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งในการดำเนินงานผู้บริหารต้องยึดการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM: School based Management ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้

1.การเป็นผู้นำทางวิชาการ

2.การบริหารแบบมีส่วนร่วม

3.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก

4.การประสานความสัมพันธ์

5.การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร

6. การสร้าวงแรงจูงใจ

7.การประเมินภายในและการประเมินภายนอก

8.การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

9.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

10.การส่งเสริมเทคโนโลยี

 

 

บรรณานุกรม

www.lek56.edublogs.org

www.gotoknow.org/posts

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



04024 โดย สกาวเดือน ไผ่ป้อง 5670107225 ภาษาไทย หมู่ 2 2014-08-02 09:26:36 v : 2658



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา