รายงาน ภาวะผู้นำทางการศึกษา


รายงาน

ภาวะผู้นำทางการศึกษา

(ภาวะผู้นำครู  Teacher Leadership)

 

 

 

 

 

 

 

 

นางอรัญญา  เหลือสืบพันธุ์

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา  106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่  1  ปีการศึกษา  2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

 

 

 

รายงาน

ภาวะผู้นำทางการศึกษา

(ภาวะผู้นำครู  Teacher Leadership)

 

 

 

 

 

 

 

 

นางอรัญญา  เหลือสืบพันธุ์  รหัส  5670107231

คณะครุศาสตร์  โปรแกรมวิชาภาษาไทย  ชั้นปีที่  2  หมู่เรียนที่  2

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา  106402  การบริหารจัดการทางการศึกษา

ภาคการศึกษาที่  1  ปีการศึกษา  2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

 

 

คำนำ

                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบริหารจัดการทางการศึกษา  106402  ในเรื่องของภาวะผู้นำทางการศึกษา  เนื่องจากในปัจจุบันภาวะผู้นำเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นมากสำหรับองค์กร การบริหารองค์กรใดๆ หากขาดภาวะผู้นำเสียแล้วย่อมจะทำให้องค์กรนั้นดำเนินกิจกรรมไปด้วยความยากลำบาก องค์กรซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมากย่อมวุ่นวายสับสน ต่างคนต่างทำงานไม่ประสานกันและเกิดความขัดแย้งกัน การบรรลุเป้าหมายขององค์กรย่อมจะล่าช้าหรือไม่ประสบผลสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เนื่องมาจากความล้มเหลวขององค์กรต่างๆ ที่เป็นมามักสืบเนื่องมาจากการขาดบุคลากรที่มีภาวะผู้นำนั่นเอง และไม่ใช่เฉพาะผู้บริหารโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องมีภาวะผู้นำ จะต้องพัฒนาครูในโรงเรียนให้มีภาวะผู้นำอีกด้วย

                ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้คงมีประโยชน์แก่ผู้ศึกษา   และผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำไม่มากก็น้อย

 

 

นางอรัญญา  เหลือสืบพันธุ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เนื้อหา                                                                                                                                                                    หน้า

 

ความสำคัญของภาวะครูผู้นำ... 5

บทบาทครูผู้นำ... 7

แนวคิดเกี่ยวกับหลักการของภาวะผู้นำครู. 9

แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำครู. 10

แนวคิดเกี่ยวกับมิติของภาวะผู้นำครู. 11

ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาวิชาชีพ.. 12

อ้างอิง. 13

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาวะผู้นำครู (Teacher Leadership)

ความสำคัญของภาวะครูผู้นำ

ผู้นำ คือบุคคลที่ได้รับการมอบหมาย อาจโดยการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกให้มีอิทธิพลและบทบาทเหนือกลุ่ม สามารถที่จะจูงใจ ชักนำ หรือชี้นำให้สมาชิกของกลุ่มรวมพลังเพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของกลุ่มให้สำเร็จ

ภาวะผู้นำ   หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่ผู้นำใช้รูปแบบของอิทธิพลระหว่างผู้นำ และสมาชิกในกลุ่ม หรือใช้อิทธิพลของตำแหน่งให้สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตาม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ตามที่ได้กำหนดไว้  กระบวนการ สำคัญที่ผู้นำใช้ ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเกลี้ยกล่อมจูงใจ กระบวนการติดต่อสื่อสาร  กระบวนการใช้อำนาจ อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม  กระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม และระหว่างผู้ตามด้วยกันเอง  และกระบวนการประสานสัมพันธ์บทบาทต่างๆ ในกลุ่ม ตลอดจนการควบคุมชี้นำ กิจกรรมของกลุ่มเพื่อการบรรลุเป้าหมาย

ความหมายของภาวะผู้นำของครู
            การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับภาวะของผู้นำของครู ยังขาดการให้คำจำกัดความที่ชัดเจน การให้คำจำกัดความมีหลายแง่มุม และเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา  ยอร์ค-บาร์  และดุ๊กค์  ( York-Barr and Duke ,2004:260) สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครู  และสรุปความหมายของภาวะผู้นำของครูที่พบในงานวิจัยไว้ดังนี้
1.   ภาวะ ผู้นำของครูในแง่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ครูที่มีความเชียวชาญด้านการเรียนการสอน ใช้บทบาทของผู้นำเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ท่ามกลางครู และครูผู้นำเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดย มุ่งเน้นที่ความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.   ภาวะผู้นำของครูใน แง่ของการใช้พฤติกรรมผู้นำ  คือ การที่ครูผู้นำใช้พฤติกรรมครูผู้นำทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ 4 ลักษณะ ได้แก่
1.   ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม
2.   ภาวะผู้นำแบบมุ่งคุณภาพขององค์การ
3.   ภาวะผู้นำตามภารกิจที่ปฏิบัติ
4.   ภาวะผู้นำแบบใช้บทบาทคู่ขนาน
            ภาวะ ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ครูผู้นำให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือกับผู้ร่วมงาน  ใช้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมงานเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ
               ภาวะ ผู้นำแบบมุ่งคุณภาพขององค์การ ครูผู้นำให้ความสำเร็จกับการพัฒนาองค์การด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย แสวงหาวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน เน้นความเป็นเลิศ แสดงความเชื่อมั่น ว่าผู้ร่วมงานสามารถปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานสูงได้
             ภาวะผู้นำกลุ่มตามภารกิจที่ปฏิบัติ  ครูผู้นำใช้พฤติกรรมผู้นำให้สอดคล้องกับลักษณะของภารกิจที่ปฏิบัติและคุณลักษณะของกลุ่ม
             ภาวะ ผู้นำแบบใช้บทบาทคู่ขนาน  ครูผู้นำให้ความสำคัญกับกระบวนการในการสร้างความผูกพันให้ฝ่ายบริหารเข้ามา ปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อเป้าหมายสร้างศักยภาพให้กับโรงเรียน ด้วยการสร้างบรรยากาศของการไว้วางใจซึ่งกันและกันและการสื่อสารแบบเปิด

ความสำคัญของภาวะผู้นำ
            การพัฒนาครูให้เป็นครูผู้นำ และใช้ภาวะผู้นำเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียน ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ 4 ประการ
1.   การ เปิดโอกาสให้ครูผู้นำได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา  ฝ่ายบริหารไม่สามารถบริหารและจัดการการศึกษาโดยลำพัง  ต้องได้รับความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบในภารกิจต่างๆ  จากทุกฝ่าย โดยครูผู้นำเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดทีมผู้สอนที่มีความผูกพัน และเต็มใจในการปฏิบัติการสอนแบบมืออาชีพ และเป็นเครือข่ายในการช่วยเหลือและส่งเสริมครูคนอื่น  ครูผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการนำวิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียนไปสู่การ ปฏิบัติ
2.   การเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ รูปแบบการพัฒนาครูที่เน้นให้ครูผู้นำซึ่งเชี่ยวชาญด้านการสอนให้คำชี้นำและ ให้คำปรึกษาครูคนอื่น  ตลอดจนร่วมคิดร่วมปฏิบัติภารกิจแบบกัลยาณมิตรระหว่างครูผู้นำและครู  ช่วยสลายบรรยากาศและวิธีการทำงาน แบบต่างคนต่างอยู่ของครูและช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน เพื่อไปสู่ความเชี่ยวชาญและความเป็นเลิศด้านการสอน
3.   การประกาศ เกียรติคุณ การสร้างโอกาสของความก้าวหน้าในวิชาชีพและรางวัลสำหรับครูที่มีภาวะผู้นำ ครูผู้นำเป็นศูนย์กลางในการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญทางการสอนให้ครูคนอื่น จึงทำให้ความรู้และประสบการณ์ของครูผู้นำลึกซึ้ง และนำไปปฏิบัติได้จริงจนเป็นที่ประจักษ์  จึงเป็นไปได้ที่ครูผู้นำจะมีโอกาสได้รับการยกย่อง และเชิดชูเกียรติ  และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ครูคนอื่นเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาภาวะผู้นำของตน  ทำให้วงการวิชาชีพครูมีครูที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนเพิ่มขึ้น  ครูเหล่านี้ จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาวิชาชีพครูต่อไป
4.   การเป็นตัวแบบ สำหรับครูผู้นำแบบประชาธิปไตย ให้กับผู้เรียน  ถ้าโรงเรียนใช้ภาวะผู้นำของครูเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการการศึกษา ย่อมทำให้ผู้เรียนได้เห็นเป็นตัวแบบของสังคมประชาธิปไตยในโรงเรียนที่เน้น การมีส่วนร่วมและการสื่อสารแบบเปิด เพื่อการปฏิบัติภารกิจไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
 

บทบาทครูผู้นำ
      การประสานงานและการจัดการ
1.   ประสานงานตามภารกิจประจำวัน และประสานงานในเหตุการณ์พิเศษ
2.   มีส่วนร่วมในการประชุมและการทำงานเชิงบริหาร
3.   กำกับตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับความขัดแย้ง

      งานเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น
1.   กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้
2.   เลือกและพัฒนาหลักสูตร

      งานพัฒนาวิชาชีพครูให้กับเพื่อนร่วมงาน
1.   เป็นครูพี่เลี้ยงให้กับครูคนอื่น
2.   เป็นผู้นำในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3.   ให้เวลากับการประชุมกลุ่มย่อมกับเพื่อนครูในการแนะนำและสอนงาน
4.   เป็นตัวแบบและให้การสนับสนุนความก้าวหน้าในวิชาชีพ

      การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาโรงเรียน
1.   มีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับนโยบายของโรงเรียน
2.   อำนวยความสะดวกให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในหมู่ครูภายใต้กระบวนการบริหารจัดการของโรงเรียน
3.   ทำงานกับเพื่อนครูเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาในทางที่ดีกว่าเดิม
4.   มีส่วนร่วมในการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
5.   เผชิญอุปสรรคและชักชวนให้เกิดการรวมพลังสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาภายใต้วัฒนธรรมและโครงสร้างขององค์การ

      การมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
1.   สร้างสัมพันธ์กับผู้ปกครองและส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียน
2.   สร้างพันธกิจกับธุรกิจชุมชน
3.   ทำงานกับชุมชนและองค์การชุมชน
 

       การส่งเสริมวิชาชีพครู
1.   มีส่วนร่วมกับองค์การวิชาชีพ
2.   มีส่วนร่วมกับการเมืองภาคประชาชน

      การมีส่วนร่วมกับสถานบันผลิตครู
1.   สร้างพันธกิจกับสถานบันผลิตครูเพื่อพัฒนาผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพครู

      คุณลักษณะของครูผู้นำในฐานะครู
1.   การมีประสบการณ์ตรงในวิชาที่สอน มีทักษะการสอนที่ดีเยี่ยม
2.   การมีความรู้ที่กว้างขวางและลึกซึ้งเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้หลักสูตรและเนื้อหาในวิชาที่สอน
3.   การบ่มเพาะบุคลิกภาพความเป็นครู
4.   การมีหลักปรัชญาการศึกษาที่เด่นชัดของตน
5.   การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นนักพัฒนานวัตกรรม ใฝ่รู้ กล้าคิด กล้าทำ  เรียนรู้ตลอดชีวิตและ         ศรัทธาในอาชีพครู
6.   การมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน
7.   การได้รับการยอมรับนับถือจากเพื่อนร่วมงานในความสามารถ
8.   การใส่ใจต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
9.   การมีความคิดที่ยืดหยุ่นและใจกว้าง
10.   การมีความมุ่งมั่น  การมีความสามารถในการจัดการกับภาระงาน  มีทักษะในการบริหารจัดการ

      คุณลักษณะของครูผู้นำในบทบาทของผู้นำ
1.   การสร้างความเชื่อถือ การช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อนร่วมงาน  การสร้างสัมพันธภาพที่มั่นคงกับเพื่อนร่วมงาน
2.   การทำงานแบบทีมกัลยาณมิตร การมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรงเรียนโดยผ่านสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและบุคลากรในโรงเรียน
3.   การมีสมรรถภาพในการสื่อสารและทักษะในการฟัง
4.   การมีความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้ง สามารถทำให้เกิดการเจรจา และเกิดการปรองดอง
5.   การดำเนินการแบบเป็นระบบมีขั้นตอนการทำงาน
6.   การมีทักษะกระบวนการกลุ่ม
7.   การมีความสามารถในการประเมิน ตีความ จัดอันดับความสำคัญ
8.   การมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับนโยบายและแผนงานสำคัญของโรงเรียน
9.   การมีความสามารถในการคาดการณ์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจโดยผู้บริหารและครู

แนวคิดเกี่ยวกับหลักการของภาวะผู้นำครู

               ใน ยุคปัจจุบันภาระงานด้านการเรียนการสอนสลับซับซ้อนกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานทางวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูง วิชาชีพครูถือว่าเป็นวิชาชีพหลัก เป็นตัวแทนหลักของการเปลี่ยนแปลงในยุคสังคมฐานความรู้ ถ้าปราศจากครู หรือปราศจากวามสามารถของครูแล้ว สภาพสังคมในอนาคตจะผิดรูปร่างไปจากปัจจุบัน หรือกลายเป็นสังคมที่ไม่พึงประสงค์ เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาเยาวชนผู้ซึ่งเป็นอนาคต ของชาติให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของการศึกษา โดยเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถปรับตัว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นสมควรจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษาได้คิดให้ ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ความรู้ทางวิชาชีพ และสถานภาพทางวิชาชีพ ควรจะมีลักษณะอย่างไรสำหรับครูรุ่นใหม่ผู้ที่จะกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ให้เหมาะสมกับยุคสมัย การสนับสนุนช่วยเหลือให้ครูเรียนรู้อย่างเหมาะสม ครูเหล่านี้ก็จะไปช่วยนักเรียนให้เรียนรู้อย่างเหมาะสมเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของภาวะผู้นำ และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูด้วยกันเอง (Goodson and Hargreaves,  2005)

                นอก จากนี้ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากวรรณกรรมด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นเช่นเดียวกันว่า การพัฒนาสถานศึกษาสำเร็จได้โดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (Interchange) อยู่ตลอดเวลา มีการเสวนาทางวิชาชีพทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อีกทั้งยังมีแนวทางการทำงานที่กระตุ้นครูให้ทำงานไปพร้อมๆ กับการนำไปสู่เป้าหมาย และมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าครูทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด เมื่อได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูคนอื่นๆ และทำงานเกี่ยวกับสถานศึกษาในเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ Hopkins et al. (1997) ให้ข้อสังเกตว่า สถานศึกษาต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสร้างสภาวะแวดล้อมของการร่วมมือรวมพลัง ซึ่งกระตุ้นการมีส่วนเกี่ยวข้อง การพัฒนาวิชาชีพ การสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหา

                จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Learning) เป็นหัวใจสำคัญของภาวะผู้นำครู เนื่องจากการเรียนรู้ร่วมกันเป็นวิธีการที่บุคลากรในสถานศึกษาให้ความร่วม มือรวมพลังในการทำงานเป็นทีม เพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายร่วม โดยมีการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นร่วมกัน ได้ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความรู้ร่วมกัน นอกจากนี้การเรียนรู้ร่วมกันสามารถสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มได้เป็นอย่าง ดี เนื่องจากครูจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเองภายในกลุ่มรวมไปถึงการสร้างความ สัมพันธ์ภายนอกกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการสร้างความรู้ หรือสร้างงานที่จำเป็นต้องอาศัยการช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในกระบวนการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศบนฐานของการสืบค้น ครูจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับ

อังศินันท์  อินทรกำแหง (2547) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีปฏิ สัมพันธ์กัน และมีโครงสร่างการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของเป้าหมายร่วมกัน โดยทุกคนจะต้องเคารพในสิทธิ และความสามารถอันโดดเด่นของสมาชิกแต่ละคน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และยอมรับในหน้าที่รับผิดชอบของตน ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกที่สอดคล้องกันพอ ดีอย่างลึกซึ้งผ่านความร่วมมือกัน และก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของสมาชิก

                สรุป ได้ว่า แนวคิดของภาวะผู้นำครู จะมุ่งเน้นไปที่การร่วมกันทำงานของบุคลากรครูในสถานศึกษาอย่างร่วมมือรวม พลัง โดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีการและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลังและทำให้ครูมีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ ของสถานศึกษา เกิดความผูกพันในการร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างความรู้ และร่วมกันดำเนินงานให้สถานศึกษามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีแนวมาตรฐานตามเป้าหมาย

แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำครู

                สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2549ก) กล่าวว่าบทบาทภาวะผู้นำครูที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

1.  ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์

2.  มีความเชื่อว่าโรงเรียนมีไว้เพื่อเพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้

3.  ต้องให้คุณค่า และความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์

4.  ต้องมีทักษะที่ดีของการเป็น นักสื่อสารและนักฟัง ที่มีประสิทธิผล

5.  ต้องกล้าที่จะเสี่ยง

                Segiovanni,  1995 ; Fullan,  (2001) กล่าวว่าเมื่อครูมีบทบาทภาวะผู้นำก็จะมีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถในการ เปลี่ยนแปลงห้องเรียน และมีผลกระทบทางบวกต่อผลการเรียนการเรียนรู้ของผู้เรียน

                Nickse (1977 อ้างถึงใน สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์,  2549ก) กล่าวว่า ครูมีบทบาทภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น มาจากความเชื่อและเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ

1.  ครูส่วนใหญ่มีความสนใจต่อภาระหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย กล่าวคือ จะใส่ใจว่างานที่ได้รับ

มอบหมายนั้นคืออะไร มีเป้าหมายอะไร และจะทำให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร

2.  ครูส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกร่วมต่อสิ่งที่เคยปฏิบัติมาด้วยกันกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ จึงมีความ

ตระหนักรู้ และระมัดระวังต่อค่านิยมที่เป็นปทัสถานของกลุ่มที่เคยมีร่วมกัน

3.  ครูส่วนใหญ่มักมีความรู้ความเข้าใจต่อชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม

และเจคติต่างๆ ที่ชุมชนนั้นยึดถือและปฏิบัติอย่างเพียงพอ

4.  ครูส่วนใหญ่สามารถที่จะนำการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติได้ดี มักจะรู้ว่าจะต้องทำอะไร ที่ไหน

และอย่างไรจึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นสำเร็จ

              

Harris and Lambert (2003) กล่าวถึงบทบาทภาวะผู้นำครูไว้ 3 ด้าน ได้แก่

1.  ภาวะผู้นำต่อครูคนอื่นๆ โดยการฝึก (Coaching) การแนะนำ (Mentoring) การนำในการทำงาน

กลุ่ม เป็นพี่เลี้ยงของครูใหม่หรือครูที่มีประสบการณ์น้อย

2.  ภาวะผู้นำด้านการปฏิบัติการ ในภาระหน้าที่ที่เป็นศูนย์กลางสู่การปรับปรุงการเรียนรู้และการสอนให้ดีขึ้น เป็นผู้นำของทีมพัฒนาสถานศึกษา

3. ภาวะผู้นำด้านวิธีการสอน โดยการพัฒนาและการออกรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ

สามารถเป็นนักพัฒนาหลักสูตร นักเขียนที่อดทน และนักวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เชื่อมโยงไปสู่ห้องเรียน

แนวคิดเกี่ยวกับมิติของภาวะผู้นำครู

                Katzenmeyer and Moller (2001) กล่าวไว้ว่า ภาวะผู้นำครูมี 3 มิติ ได้แก่

1.  ภาวะผู้นำต่อนักเรียนหรือครูคนอื่นๆ ผู้อำนวยความสะดวก พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ผู้ฝึกอบรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ และการนำกลุ่มศึกษาต่างๆ

2.  ภาวะผู้นำต่อหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ ธำรงไว้ซึ่งการจัดการสถานศึกษา และดำเนินการ

ไปสู่เป้าหมายผ่านทางบทบาทต่างๆ ดังเช่น หัวหน้าฝ่าย นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ สมาชิกของกลุ่มงาน

3.  ภาวะผู้นำต่อการตัดสินใจหรือความร่วมมือกัน สมาชิกของทีมพัฒนาสถานศึกษา สมาชิกของ

คณะกรรมการ ผู้ริเริ่มในการร่วมมือกับองค์กรธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษา และสมาคมครู ผู้ปกครอง

Harris and Muijs (2003) ได้นำเสนอมิติของภาวะผู้นำครูใน 4 มิติ ดังนี้

1.  การแปลงหลักการของการพัฒนาสถานศึกษาสู่การนำไปปฏิบัติในห้องเรียน

2.  สนับสนุนภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม

3.  การแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยการคำนึงถึงความรู้ ความชำนาญ และข้อมูลข่าวสาร

Leithwood, Jantzi and Steinbach (2003) แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่

1.  คุณลักษณะ (Traits) ได้แก่ คุณค่า บุคลิกภาพ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น อารมณ์ ความรับผิดชอบ

และลักษณะทางกายภาพ

2. การปฏิบัติ  (Practices) ได้แก่ การปฏิบัติภาระหน้าที่ต่างๆ ทางการบริหาร เป็นแบบอย่างที่ดี

ความ รับผิดชอบต่อภาวะผู้นำที่เป็นทางการ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรอื่นๆ ความรับผิดชอบต่อการสอน ปฏิบัติอย่างชัดเจนในสถานศึกษา เผชิญหน้ากับประเด็นต่างๆ โดยตรงหรือตัดสินใจในประเด็นยากๆ มีภาวะผู้นำร่วมกับผู้อื่น ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล มีการริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นผู้นำ

3. ความสามารถ (Capacities) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับภาระหน้าที่ทางภาวะผู้นำ ความรู้เฉพาะทาง

วิชาชีพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นนักแก้ปัญหา มีทักษะการสื่อสาร ความสัมพันธ์กับนักเรียน มีวิสัยทัศน์ จัดองค์กร มีความรู้ส่วนตน เป็นผู้ตระหนักถึงภาวะโลก มีจุดเน้น มีความสามารถในการกำหนดข้อจำกัดของตนเอง และมีประสิทธิภาพ

ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาวิชาชีพ

                Bobbie J. Greenlee (2007) ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างการบริหารราชการแบบบนลงล่างของโรงเรียนคือ ความท้าทายในการพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำครู จากการออกแบบแล้ว รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพคือ บรรยากาศของความร่วมมือที่ซึ่ง ครูที่มีประสบการณ์การสอนมานาน ผู้บริหารและคณาจารย์จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสร้างกระบวนการตัดสิน ใจ (NAPDS, 2001; Teltel, 2003; Holmes Group, 2007) ธรรมชาติของความร่วมมือของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพมีส่วนที่อาจทำให้การพัฒนา ครูก้าวสู่การเป็นผู้นำโดยไม่มีการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ ที่ชัดเจนก็ได้ (Boles & Troen, 1994)

                ตามที่ Ismat Abdal-Haqq (1999) ได้แยก ข้อแตกต่างที่เป็นจุดเด่นของการพัฒนาวิชาชีพครูว่า คือ ความร่วมมือระหว่าง สถาบันความร่วมมือ องค์ประกอบของความร่วมมือของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครู สามารถจัดให้ในรูปแบบของการเตรียมการพัฒนาวิชาชีพสำหรับผู้เข้าร่วมทั้งหมด สำหรับความสัมพันธ์ และได้จัดเตรียมโอกาสสำหรับผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่จะพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่ การเป็นผู้นำ การเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำในลักษณะนี้คือ กระบวนการให้ความร่วมมือจะจัดเตรียมผลประโยชน์กับนักเรียนโดยตรง เกิดประโยชน์กับนักวิชาการโดยตรง และการทำให้เป็นครูมืออาชีพที่สมบูรณ์ภายในการบริหารของโรงเรียน (Danalson & Sanderson, 1996)

                ผลการเรียนของนักเรียนคือกุญแจสำหรับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาวิชาชีพครู (NCATE, 2001) ผลการเรียนเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนทั้งมาตรฐานระดับชาติ และระดับรัฐด้วย Lisa Vernon (2003) ได้ชี้ให้เห็นว่า การสอนขึ้นอยู่กับมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า นักวิชาการไม่สามารถแยกกันสอนได้นาน นักวิชาการต้องให้ความร่วมมือในการวางแผนบทเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์ กลาง ซึ่งจะสามารถทำให้ผลการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ความร่วมมือเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียนภายใต้การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียน รู้การพัฒนาวิชาชีพครูจะทำให้ครูที่มีประสบการณ์การสอนมานานมีโอกาสที่แท้ จริงในการเตรียมตัวป้อน หรือบทเรียนที่มีความหมายสำหรับการตัดสินใจเลือกหลักสูตรและวิธีการสอน (Boles & Troen, 1994; NCATE, 2001; Holmes Group, 2007)

                Linda Darling-Hammond et al. (1995) ได้ เสนอแนะว่า กฎเกณฑ์ของภาวะผู้นำจะปรากฏในการพัฒนาที่ดีของการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งกฎเกณฑ์นี้จะรวมถึง นักศึกษาวิชาชีพครู นักวิชาการ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ผู้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย และตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านกฎเกณฑ์เหล่านี้ที่ซึ่งไม่มีส่วนที่แน่นอนในโครงสร้างการบริหารแบบลด หลั่นของโรงเรียน ครูที่จะเป็นผู้นำ ผู้ซึ่งไม่ได้ยึดเกณฑ์เป็นหลักแต่จะยึดตามภาระงานที่ได้รับ แทนที่การใช้อำนาจจะมาจากความร่วมมือของครูและการรวบรวมกฎเกณฑ์ที่ไม่มีรูป แบบที่แน่นอนที่จะพัฒนาโดยผ่านหุ้นส่วนของการพัฒนาวิชาชีพครู (Boles & Troen, 1994)

 

 

 

 

 

 



04006 โดย นางอรัญญา เหลือสีบพันธุ์ 5670107231 กศ.ปช.รุ่น 17 หมู่2 คบ.ภาษาไทย 2014-08-01 21:25:56 v : 8722



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา