ปัญหาศีษะล้าน/แก้ได้ด้วยอาหาร


อาหารป้องกันศีรษะล้าน (โดยเฉพาะคุณผู้ชาย)/ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

ปัญหาผมร่วงเป็นเรื่องปกติในผู้ที่เริ่มมีอายุ ดูเหมือนว่ายิ่งอายุมากขึ้นเท่าไรร่างกายก็แสดงสิ่งที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้นเท่านั้น นั่นคือ ความหมายของคำว่า “ชราภาพ”

       
       แต่ทุกคนย่อมหลีกหนีจากความเป็นจริงนี้ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ดีที่สุดและถนอมผมบนศีรษะได้นานที่สุด คุณลองคิดดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อคุณเห็นผมบนศีรษะจากที่เคยดกดำกลับเปลี่ยนไป คุณได้แต่นั่งดูผมที่ร่วงหลุดไปที่ละเส้น สองเส้น หรือหลายเส้น มากกว่าครึ่งของผู้ชายมีปัญหาผมร่วง ศีรษะบาง หลังจากอายุ 45 ปีขึ้นไปโดยมาจากหลากหลายปัจจัยเช่น กรรมพันธุ์, ความเครียด, การดำเนินชีวิตที่รีบเร่ง, ฮอร์โมนในร่างกาย, ความเจ็บป่วย, อาหารที่ไม่ถูกต้อง, ยารักษาโรคต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงทั้งนั้น จะสังเกตุได้ง่ายว่าผู้ชายมักมีปัญหาผมร่วงมากกว่าผู้หญิง เนื่องมาจากว่าสายพันธุกรรมของผู้ชายส่งผลต่อผมได้มากกว่าผู้หญิง ในปัจจุบันยาหลายชนิดได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อป้องกันผมร่วง หรือมีวิธีการปลูกผมซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและบางครั้งก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร รวมถึงปัญหาที่ตามมากับยาและวิธีการเหล่านี้ เช่น ปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้ตับเป็นพิษหรือภาวะไตวายได้ และที่สำคัญอาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย
       
       จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักของการผมร่วงเกิดจากพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย นักวิจัยค้นพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนกับปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม คือ ฮอร์โมนในเพศชายในกลุ่มเทสโทสเตอโรนโดยมีฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน “Dihydro testosterone (DHT)” โดยปกติแล้วฮอร์โมนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผม ตามปกติของกลไกร่างกายจะมีการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน (DHT) เพื่อไม่ให้ผมหลุดร่วง แต่ในผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะมีความสามารถในการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ที่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมน DHT ทำปฏิกิริยากับรากผมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาผมร่วงอย่างถาวร หรือพูดอีกอย่างว่าในปกติผมของคนเราย่อมหลุดร่วงเป็นประจำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว แต่ก็จะขึ้นมาใหม่แทนเส้นเก่าที่หลุดร่วงไป แต่ในกณีของผู้สูงอายุผมที่หลุดร่วงไปจะไม่มีการงอกขึ้นแทนที่ใหม่ทำให้ศีรษะบางลงเรื่อยๆ
       
       นักวิจัยได้ทำการศึกษาและพบว่าอาหารบางกลุ่มมีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาเส้นผมให้แข็งแรงช่วยลดปัญหาผลหลุดล่วงได้อย่างดีและปลอดภัยต่อร่างกาย
       
       อาหารที่ป้องกันผมร่วง
       
       1.อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี พบว่ามีส่วนช่วยในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT เนื่องมาจากว่าสังกะสีช่วยในการส่งเสริมให้เซลล์ผมมีการเจริญเติบโตและเส้นผมที่ขึ้นมาใหม่มีความแข็งแรง แร่ธาตุสังกะสียังช่วยในการปรับสมดุลของต่อมไขมันในหนังศีรษะซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน อาหารที่เป็นแหล่งของแร่ธาตุสังกะสีได้แก่อาหารทะเลเช่นหอยนางรม ไข่ ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง เนื้อวัว เนื้อไก่และนมเป็นต้น
       
       2.อาหารกลุ่มวิตามินเอสูง จากหลายการศึกษาพบว่าคนที่ได้รับวิตามินเอเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมีรากผมที่แข็งแรงมากกว่าผู้ที่ได้รับปริมาณวิตามินเอไม่ครบถ้วน วิตามินเอจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายรวมถึงเซลล์เส้นผมและหนังศีรษะ แหล่งที่มาของวิตามินเอ เช่น ผักสีส้มสีเหลือง (แครอท ฟักทอง มะม่วงสุก) ผักสีเขียวเข้ม (คะน้า ผักขม ตำลึง) นม ไข่ และตับเป็นต้น
       
       3.อาหารกลุ่มไบโอติน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิตามิน บี สามารถช่วยให้เส้นผมมีความแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ร่างกายต้องการไบโอตินรวมกับโปรตีนเพื่อทำให้ผมและเล็บแข็งแรง จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ขาดไบโอตินจะส่งผลทำให้ผมขาดง่ายและหลุดร่วงง่ายด้วย เล็บจะเปราะฉีกง่าย อาหารที่มีไบโอตินสูงได้แก่ ยีสต์ที่ใช้ในการหมักเหล้าหรือเบียร์ ไข่แดง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง
       
       4.อาหารกลุ่มวิตามินซี ร่างกายจะใช้วิตามินซีในการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำให้เนื้อเยื่อมีความแข็งแรงโดยจะทำให้รากผมมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะไม่สามารถกักเก็บวิตามินซีที่ได้จากอาหารให้อยู่ในร่างกายได้ในระยะยาวดังนั้นร่างกายจะต้องการวิตามินซีอยู่ตลอด อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักสีเขียวเข้ม พริกสด และผักกลุ่มมะเขือ
       
       5.โปรตีนไขมันต่ำ เนื่องมาจากว่าองค์ประกอบสำคัญของเส้นผมคือสารประเภทโปรตีน ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับโปรตีนที่เพียงพอก็จะทำให้การสร้างเซลล์ผมทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เนื่องมาจากอาหารกลุ่มโปรตีนส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ และการที่ร่างกายได้รับไขมันสูงจะเร่งให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ ดังนั้นจึงควรเลือกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่อก เนื้อสันใน ถั่วเมล็ดแห้ง โยเกิร์ต เป็นต้น
       
       6. น้ำ เป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งที่เรามักจะมองข้ามไป แต่การที่ร่างกายขาดน้ำจะส่งผลให้เซลล์ต่างๆของร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่เว้นแต่เซลล์ผม ดังนั้นในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 แก้ว
       
       อาหารกับเส้นผมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน การรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยทำให้เส้นผมสามารถอยู่กับเราได้นานขึ้น ไม่อาจเถียงได้ว่าเส้นผมเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้หน้าตาและบุคลิกเปลี่ยนไป แต่ต้องระวังอาหารบางประเภทที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ง่ายขึ้น เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อาหารทอด อาหารแปรรูป นอกจากเรื่องของอาหารแล้ว การออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ และรักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็จะส่งผลให้เกิดสมดุลในร่างกายและลดปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม


 

อ้างอิง  www.manager.co.th/family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032478  

    ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล 



03888 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2014-05-25 18:35:44 v : 6479



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา