พิพิธภัณฑ์การเมือง


 
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ...แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
       การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีเรื่องราว บุคคล และสถานที่ ที่น่าสนใจเรียนรู้ ในยุคที่คนไทยรุ่นใหม่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ชาติตัวเอง เด็กไทยไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ คนในชาติไม่มีสำนึกประวัติศาสตร์ ไม่เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ไม่รู้ความเป็นมาของชาติบ้านเมือง ไม่รู้ที่มาของตัวตนในวันนี้ ไม่รู้ว่าวันนี้ เป็นผลจากอดีตและประวัติศาสตร์อย่างไร
       
       หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีหลายแหล่งหลายรูปแบบ แม้แต่ตามถนน เช่น หมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศในการยึดอำนาจของคณะราษฎร ที่นิยมเรียกกันว่า หมุดคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
       
       หมุดทองเหลืองนี้เอง ที่เป็นจุดสำคัญของเหตุการณ์ เช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และหลักหกประการของคณะราษฎร
       
       หรือแม้กระทั่งหลักฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ในยุคนั้น เคยถือเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติไทย และมีการประพันธ์เพลง "วันชาติ 24 มิถุนา" โดยครูมนตรี ตราโมท ไว้ด้วยเป็นต้น
       
       สังคมการเมืองไทยวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากอดีต เราจะเข้าใจวันนี้ได้ เราต้องเข้าใจความเป็นมาในอดีต ในโอกาสครบรอบ 79 ปีใน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงขอย้อนอดีตไปมองประวัติศาสตร์ และต้องพูดถึงประวัติศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทย พระองค์หนึ่งซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับพระองค์ รวมไปถึงประชาชนชาวไทยทุกคนในเวลานั้น
       
       ไม่ไกลจากหมุดคณะราษฎร ยังมีสถานที่ที่เราจะเรียนรู้การเมืองไทยในยุคนั้นได้อีกหลายที่ วันนี้ ผมขอแนะนำให้ไปที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้รับมอบอาคารของกรมโยธาธิการ ถนนหลานหลวงใกล้แยกผ่านฟ้า มาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์
       
       ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ เป็นที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติพระราชกรณียกิจ และพระราชจริยวัตรของรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โดยแบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็นพระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์ อภิเษกสมรสการเสด็จพระราชดำเนินประพาสทั้งใน และต่างประเทศการเสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ ประเทศอังกฤษและพระราชกรณียกิจในช่วง 35 ปีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพโดยจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ วัตถุสิ่งของที่มีความเกี่ยวเนื่อง นำเสนอผ่านแบบจำลองและสื่อผสม (Multimedia)
       
       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ พระราชโอรสในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”
       
       เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ต่อมาครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า
       
       ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป พระองค์จำเป็นต้องเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2458 ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งเป็นพระเชษฐา
       
       เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
       
       พระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายด้านหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินพระราชหฤทัยครั้งสำคัญ เมื่อครั้งเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ทรงยินยอมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
       
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครองไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และการเจรจาแก้ไขกฎหมายไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ จึงทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในขณะที่พระองค์ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อเปิดหนทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทนพระองค์สืบไป ในพระราชหัตถเลขาสละราชย์นั้น ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมาว่า
       
       "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"
       
       พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา
       
       ในชั้นสองของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงพระราชประวัติก่อนการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เสด็จเข้ารับการศึกษา ณ ประเทศในทวีปยุโรป ทรงพระผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตร พระราชนิยมด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา และภาพยนตร์ รวมทั้งพระราชประวัติหลังสละราชสมบัติจนกระทั่งเสด็จสวรรคตและการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ประเทศอังกฤษ
       
       ถัดขึ้นไป ในชั้นที่สาม เป็นที่จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลา และฉลองพระบาทในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชกรณียกิจสำคัญด้านต่างๆ อาทิ การแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์ การประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาเป็นครั้งแรก พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในคราวฉลองพระนคร 150 ปี นอกจากนี้ยังจัดแสดงแบบจำลองสะพานพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมถึงสิ่งของที่ระลึกต่างๆ ที่จัดทำขึ้นในพิธีดังกล่าว
       
       ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 พิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดแสดง ภาพบุคคล เหตุการณ์ และเอกสารสำคัญ รวมไปถึงการจัดแสดงรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
       
       มีห้องจัดฉายวีดิทัศน์ และภาพยนตร์ เรียกว่าห้องศาลาเฉลิมกรุง จำลองบรรยากาศการชม ภาพยนตร์ในยุคนั้น โรงภาพยนตร์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสสมโภชพระนครอายุครบ 150 ปี พ.ศ. 2475 และพระราชทานชื่อโรงภาพยนตร์ ห้องศาลาเฉลิมกรุงจำลองให้บริการจัดฉายภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ 7 และภาพยนตร์เก่าร่วมรัชสมัย ซึ่งทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และหาชมได้ยาก โดยปกติจัดฉายวันละ 2 รอบ เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.
       
       แต่ของแบบนี้เล่าไปก็ไม่สู้เห็นของจริง สำหรับใครที่สนใจเข้าชมผมขอแนะนำให้รวมกลุ่มกันไปเพราะจะได้มีเจ้าหน้าที่มาคอยบรรยายให้ความรู้อีกด้วย เพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ลองแวะไปเที่ยวชมได้นะครับ

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ...แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
       

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ...แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
       

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ...แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย

 

 

www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9540000071847



03756 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2013-11-27 00:03:30 v : 2056



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา