คำแถลง ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ปัญหาการศึกษาไทย


9 กันยายน 2013 เวลา 7:14 น.

คำแถลงจาก ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ 

เรื่องปัญหาการศึกษาไทย กับ 

การด้อยขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

------------------------------------

‘สุรินทร์’ ชี้ รัฐฯต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาก่อนสายเกินกู้กลับ

 

รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงเกือบทุกด้าน ในขณะที่ทุกประเทศในอาเซียนต่างมุ่งมั่นเสริมสร้างสมรรถนะของตนเองก่อนเข้าสู่ประชาคมฯในปี 2558, ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าวแสดงความคิดเห็น

 

จากการที่องค์กร เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (WEF) ได้เสนอรายงานผลการศึกษา ความสามารถในการแข่งขันโลก (Global Competitiveness Report 2013-2014) เมื่อเร็วๆนี้ โดยชี้ว่าคุณภาพการศึกษาทั้งระดับพื้นฐานมัธยมและอุดมศึกษาของไทยอยู่ในระดับรั้งท้ายหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้คำว่า “คุณภาพต่ำอย่างผิดปกติ” ดร. สุรินทร์กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องที่น่าห่วงกังวลยิ่ง เพราะมันสะท้อนถึงความไม่เชื่อถือยอมรับในคุณภาพการศึกษาไทยโดยรวม และจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นในประเทศด้านอื่นๆในอนาคตต้องถูกกระทบกระเทือนไปด้วย”

 

สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือการที่รายงานฉบับนี้กล่าวว่า “ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ความไม่ต่อเนื่องทางด้านนโยบาย ระบบราชการที่ซับซ้อนไร้ประสิทธิภาพ การทุจริตคอรั่ปชั้นที่แพร่หลาย ระบบพรรคพวกเส้นสาย” ทำให้ความเชื่อมั่นในสถาบันสาธารณะของไทยต่ำลง มีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

ดร. สุรินทร์กล่าวว่า ทางออกสำหรับประเทศไทยคือการรีบเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการจัดระบบองค์กร คุณภาพการเรียนการสอนและทรัพยากรด้านสื่อ ห้องสมุดและแล็บทดลองต้องครบครัน

 

“เราใช้งบประมาณด้านการศึกษาปีละกว่า 5 แสนล้านบาท (งบประมาณ 2556) คิดเป็นกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดิน มีบุคลากรเฉพาะในกระทรวงศึกษาธิการเกือบ 5 แสนคน มีอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 56,180 คน ถึงกระนั้นรายงานของ WEF ยังกล่าวว่าการศึกษาของไทยมีคุณภาพต่ำอย่างผิดปกติ อย่างนี้ต้องรีบเร่งแก้ไขแน่,” ดร. สุรินทร์กล่าว

 

อีกประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลต้องเร่งรีบให้ความสำคัญคือการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และ นวัตกรรม ซึ่งจะเป็นปัจจัยเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แต่กลับได้รับงบประมาณน้อยมากเพียง 19,636 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของงบประมาณแผ่นดิน หรือ 300 บาทต่อหัวประชากรประเทศ

 

รายงานของ  WEF กล่าวว่า “ตัวถ่วงความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมของประเทศไทยคือ การที่รัฐบาลลงทุนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง น้อยมากๆ (เมื่อเทียบกับประเทศอื่น) อีกทั้งจำนวนสิทธิบัตรที่นักวิทยาศาตร์และนักประดิษฐ์ไทยจดทะเบียนทั้งในและนอกประเทศก็อยู่ในอันดับท้ายๆของโลก”

 

“ประกอบกับนักธุรกิจและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการพัฒนานวัตกรรมองค์กรธุรกิจ และสถาบันอุดมศึกษาของไทยในระดับต่ำมาก,” ดร. สุรินทร์อ้างบทสรุปจากรายงานของ WEF

 

มีบทวิเคราะห์หลายฉบับที่ตั้งข้อสังเกตุว่า หลายประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย จำเป็นต้องยกระดับเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระบวนการผลิตและการบริการจากการใช้แรงงานถูก เข้าสู่การใช้วิทยาศาตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มิเช่นนั้นจะติดอยู่ในบ่วงที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap) จะไม่มีวันเข้าสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง

 

และยังมีผลสำรวจทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยหลายต่อหลายครั้งพบว่ายังรั้งท้ายด้านภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขันบนเวทีภูมิภาคอาเซียนและในตลาดโลก เช่นในปี 2555 ดัชนีวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษของ Education First (EF English Proficiency Index- EPI) ของคนไทยอยู่ในลำดับ 53 ของ 54 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ดีกว่าประเทศลิเบียซึ่งอยู่ในภาวะสงครามการเมือง

“อันนี้ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเพราะกฎบัตรอาเซียนกำหนดว่าภาษาอังกฤษคือภาษาใช้งานของอาเซียน เอกสารทุกชิ้น การประชุมทุกครั้ง การต่อรองทุกเรื่อง จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น และเราจะสื่อกับใครด้วยภาษาอะไรในประชาคมอาเซียน”

 

ดร. สุรินทร์อธิบายประกอบว่าเยาวชนไทยมีเครื่องมือไอทีและโทรศัพท์มือถือกันเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มพูนปัญญาจากขุมความรู้ไซเบอร์ เอาแต่ใช้เพื่อความสนุก เล่นเกมส์ และติดตามข่าวบันเทิง มากกว่า จึงมีสถิติออกมาว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเครื่องมือไอทีที่มีอยู่

ทักษะภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นในทุกประเทศได้นำไปสู่การยกระดับคุณภาพของการศึกษาในห้องเรียน จะเปลี่ยนพลวัตร และปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนไปโดยปริยาย เพราะนักเรียนจะมีข้อมูลมากขึ้นจากแหล่งข้อมูลไซเบอร์ ซึ่งจะมีผลบังคับให้ครูผู้สอนต้องเตรียมการสอนมากขึ้นเพื่อรับมือกับเด็กที่ค้นหาข้อมูลมาล่วงหน้า

 

“จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษจะเป็นกุญแจที่สำคัญนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ประเทศไทยพยายามมานานแล้ว เพราะเด็กจะมีข้อมูลมากขึ้น จะตั้งคำถามมากขึ้น จะสามารถวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนความเห็นกับครูได้ดีขึ้น บรรยากาศในห้องเรียนจะเปลี่ยนไป ไม่เป็นแต่เพียงการบรรยายของครู และการท่องจำของนักเรียนอีกต่อไป” ดร. สุรินทร์กล่าว

 

แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่ปฏิรูปการบริหารจัดการกระบวนการศึกษาของประเทศเสียใหม่

 

ดร. สุรินทร์กล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าจำเป็นต้องผ่าตัดกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นสามองค์กร แยกออกจากกันคือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมและอาชีวะศึกษา และระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพราะภารกิจทางด้านการศึกษา จำนวนบุคลากร และงบประมาณ ยิ่งใหญ่ สำคัญ และซับซ้อน เกินกว่ากระทรวงเดียวจะดูแลบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ความอยู่รอดของไทยในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันของคนไทย การศึกษาที่มีคุณภาพเท่านั้นที่จะประกันความเชื่อมั่นของชาวโลกต่อบทบาทของไทยในอนาคตได้

 

หวังว่ารายงานของ WEF ในปีหน้าจะปราณีประเทศไทยมากกว่าปีนี้ และจะสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของระบบการศึกษาไทย

 

______________________________________________

 

 

SURIN:  “ENGLISH IS KEY TO THAILAND’S EDUCATION WOES”

 

English could be a golden key to help improve Thailand’s serious educational problems, said Surin Pitsuwan, a former Secretary-General of ASEAN. 

 

In response to the latest World Economic Forum’s report on global competitiveness, Dr. Surin said: “We must pay attention to the content of the WEF’s findings.  Our standing is getting worse. We have seen Thailand’s scores sliding down the scales in all categories survey after survey, year after year. This is a serious matter that calls for a national strategy to reverse the trend.”

 

WEF released a survey that describes Thailand’s quality of higher education as “abnormally low” in comparison to other ASEAN Member States. 

 

Dr. Surin pointed out that Thai education has been in a crisis state for quite some times now and efforts to bring about reforms since 2542 B.E. have not borne fruits due to political interference and bureaucratic resistance. “We talk a lot about teaching our students to be critical, to think independently and to solve problems, not us rote learning and memorization.  But we are getting no where.”

 

“English could be an answer to our educational malaise. With a higher proficiency in English, Thai students can change the dynamics of the classroom. They will have access to more information before going to classes, forcing teachers to be better prepared and turning traditional lecture rooms into seminars where active exchanges can take place,” Dr. Surin said. 

 

He observed that in the current state of Thai education, teachers have little motivation to prepare their lessons, students have no tool to access to information relevant to their courses due to their universally low proficiency of English. 

 

Dr. Surin suggested that English must be an urgent national agenda. He said a high percentage of Thai students, even at secondary school level, already carried  smart phones. “But they are IT-savy only for digital games. And not to access to useful information for learning and intellectual growth.” 

 

The former ASEAN Secretary-General pointed out that according to the ASEAN Charter, English is “the working language of ASEAN.” All ASEAN business is conducted in English. But Thai youth are lacking behind in this increasing important tool of communication in ASEAN. 

 

He pointed out the fact that in 2012, among 54 countries surveyed for English proficiency, Thailand ranked 53, only ahead of Libya. 

 

“That is a dismal state of affair to be in, when we know well that export growth, GDP expansion and even per capita income increase have direct correlation with English proficiency.”

 

“I insist,” said Dr. Surin, “that with a higher proficiency in English today, Thailand’s competitiveness will increase many times over tomorrow.”

 

_________________

พิมพ์เผยแพร่โดย 

สมเกียรติ อ่อนวิมล

www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2013-14.pdf



03738 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2013-10-18 16:10:02 v : 12046



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา