สร้างเพื่อนสร้างงาน


การสร้างมนุษยสัมพันธ์สร้างเพื่อนสร้างงาน
 
            การศึกษาเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์สร้างเพื่อนสร้างงานมีความสำคัญมาก ในสังคมปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าเราทำงานกับคนเราจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างดีกับคน ทำอย่างไรให้เราพูดจากับเขาแล้วสื่อความกันรู้เรื่อง ทำอย่างไรให้ตัวเราเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมงานหรือแม้แต่สังคมอื่นๆ ดูว่าจะไม่ยากแต่ก็ไม่ใช่ของง่ายถ้าไม่ฝึกไม่ศึกษา หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 10 ข้อพอสรุปได้ดังนี้ คือ
          1. บุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน (Individual difference)
            บุคคลโดยทั่วไปนั้นถ้าพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นว่าเหมือน ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วบุคคลแต่ละคนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (Uniqueness)   แต่ละคนย่อมแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม สติปัญญา อารมณ์ เจตคติ ค่านิยม อุดมคติ วัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ นิสัยใจคอ วินัยจรรยา การศึกษาที่มีมาตลอดชีวิต หรือกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization Process) สถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจก็ตาม เป็นเหตุผลทำให้บุคคลแตกต่างกันทั้งสิ้น จะหาบุคคลที่เหมือนกันทุกระเบียดนิ้วสักคู่หนึ่งก็ไม่มี แม้แต่ลูกแฝดก็ตามที มนุษย์มีความแตกต่างกัน (Man is different) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจของคนทุกคนได้เพราะนานาจิตตัง “จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง” เมื่อแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดหรือทำเหมือนคนอื่นไปเสียทุกอย่างด้วย ความแตกต่างของบุคคลนี้มีความสำคัญมากสำหรับมากสำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะได้เข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นได้บ้าง โดยเฉพาะผู้บริหารจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องความแตกต่างของบุคคลเพื่อการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้เหมาะสมและตระหนักว่าแต่ละบุคคลเขาเป็นคนมีชีวิต มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์ซึ่งไม่เหมาะสมและตระหนักว่าแต่ละบุคคลเขาเป็นคนมีชีวิต มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์ซึ่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเขาเป็นบุคคลที่จะแสดงความพึงพอใจ (Satisfaction) หรือความไม่พึงพอใจใด ๆ (Dissatisfaction) ได้บุคคลจะเป็นผู้ทำงานหรือรับผิดชอบในงาน ตลอดจนทำการวินิจฉัยสั่งการหรือตัดสินใจ (Dicision making) ดังนั้น แม้เราจะให้ความสนใจแก่พฤติกรรมกลุ่มแล้วเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรละเลยต่อพฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลแต่ละคนก็เป็นหน่วยหนึ่งอันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลุ่มนั้นเอง
            2. การพิจารณาศึกษาบุคคลต้องดูทั้งหมดในฐานะที่บุคคลนั้นเป็นบุคคล คนหนึ่ง (A whole person)
            ในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดนั้น เราต้องพึงระลึกเสมอว่า เราได้เข้ามามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นทั้งคน เรามิได้เลือกติดต่อสัมพันธ์กับเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือลักษณะหนึ่งลักษณะใดของเขานั่นก็คือบุคคลไม่สามารถจะแบ่งแยกเรื่องความรู้ของเขาออกจากความสามารถของเขาได้หรือแยกความรู้ออกจากทักษะของเขาได้ หรือจากประสบการณ์ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลจะมีลักษณะหลาย ๆ ประการประกอบขึ้นเป็นตัวของเขาไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางกายภาพ เรื่องทางจิตใจ เรื่องของการงาน เรื่องชีวิตส่วนตัว เรื่องความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ฯลฯ แต่ละเรื่องมิได้แยกจากกัน แต่มีผลกระทบถึงกัน รวมผสมผสานเป็นตัวเขาเองทั้งหมด
            3. พฤติกรรมของบุคคลแต่ละคนต้องมีสาเหตุ (Caused behavior)
            บุคคลอาจได้รับการจูงใจ (Motivated) เหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงสาเหตุของพฤติกรรม อันได้แก่เรื่องความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคล การที่บุคคลจะได้รับการจูงใจให้ทำงาน  เขาจะต้องสร้างพฤติกรรมขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของเขาด้วยความคิดของเขาเอง มิใช่สร้างพฤติกรรมตามความคิดของผู้อื่น ดังนั้น ฝ่ายบริหารจึงควรจูงใจบุคคลด้วยการทำให้เขาเห็นว่าการกระทำแบบนั้นหรือพฤติกรรมนั้น ๆ จะเป็นหนทางทำให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนองมากขึ้นหรือจะเป็นหนทางที่หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้การตอบสนองความต้องการนั้นลดน้อยลง พลังของผู้บังคับบัญชาที่จะจูงใจจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติงานเห็นว่า ฝ่ายผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมวิธีการที่จะได้รับการสนองความต้องการได้จริง เรื่องของการจูงใจนี้เป็นเรื่องที่ง่ายและยากในเวลาเดียวกัน ง่ายในแง่ของแนวความคิด แต่ทว่ายากในแง่ของการปฏิบัติ
            4. บุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ( Human dignity )เสมอกัน
            เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางปรัชญามากกว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์นับเป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิด มีสมอง มีความรู้ผิดชอบชั่วดี มีวัฒนธรรม มีสามัญสำนึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน จึงต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร มีสถานภาพหรือฐานะอย่างไร เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา ซึ่งต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคน            ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Human dignity) เป็นรากฐานปรัชญา จริยศาสตร์และศีลธรรมที่จะบังเกิดผลดีในแง่มนุษย์สัมพันธ์ การวิจัยหลายกรณีแสดงว่ามนุษย์ต้องการการยอมรับการให้เกียรติกันหรือการกระทำด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
            4. มนุษย์ทุกคนมีแรงจูงใจ (Motivation)   ต้องจูงใจผู้อื่นให้มีเจตคติตรงกัน มีจุดหมายร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจูงใจตนเองให้มีระเบียบและความรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ที่วิชามนุษยสัมพันธ์ครอบคลุมเป็นการตอบสนองทั้งหมดของเอกัตบุคคลต่อพลังการจูงใจต่าง ๆ (The total response of individuals to various motivation forces) นั่นก็คือ การที่บุคคลในองค์การมีความสัมพันธ์กันตามที่เป็นอยู่เป็นเพราะเขาถูกกระตุ้นโดยพลังทางจิตวิทยา ทางสังคม และทางเศรษฐกิจซึ่งมีอำนาจที่จะกระตุ้นให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในลักษณะนั้น ๆ โดยเฉพาะ เมื่อเกิดมีการขัดแย้งในแรงจูงใจในคนงาน องค์การจะเกิดการแตกร้าว เป็นที่ประจักษ์ว่า ถ้าหัวหน้าและคนงานต่างก็มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการทำงานแล้วผลผลิตจะเพิ่มขึ้น
            5. บุคคลต้องการที่จะติดต่อสื่อสาร (Communications)   ได้แก่ การศึกษาวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในกลุ่ม ให้กลุ่มได้มีความเห็นสอดคล้องกัน และมีความเข้าในตรงกัน
            การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์การ เป็นกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารและความคิด การเข้าในทำให้พฤติกรรมของกลุ่มรวมกันเข้าไปเป็นหนึ่งเดียว และยังเป็นพื้นฐานสำหรับการร่วมมือกันของกลุ่ม ถ้าไม่มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจก็ไม่อาจดำเนินไปได้ ผู้จัดการไม่สามารถจูงใจคนงาน ถ้าคนงานไม่สามารถสื่อสารกับฝ่ายโรงงานได้ เขาจะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่มีทางที่มนุษยสัมพันธ์ในองค์การนั้นบังเกิดความพอใจได้
            6. บุคคลมีความรับผิดชอบ (Responsibility)   พื้นฐานความรับผิดชอบในงานองค์การก็คือ การทำให้งานสำเร็จโดยความพยายามร่วมกันของผู้ร่วมงาน
            7. บุคคลต้องการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy)   คือ ความสามารถที่จะทำตัวของเขาให้รู้สึกเหมือนอยู่ในสภาพของผู้อื่น และรู้สึกเห็นใจต่อทัศนะการจูงใจของคน (Empathy is the ability ot put yourseld in someone else’s place, and to feel sympathy for that person’s motives and point of view) การขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นสาเหตุแรกของการขัดแย้งในองค์การ การเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ไกล่เกลี่ยความแตกร้าวของการขัดแย้งกันทางแรงงาน การเห็นใจหรือเข้าใจความต้องการของผู้อื่น (Empathization) การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องศึกษาความแตกต่างของแต่ละบุคคลและตระหนักถึงปัญหาของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
            8. บุคคลต้องการผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน   (Mutual interest)   หมายถึง ผลประโยชน์ของคนที่ทำงานในองค์การ กับผลประโยชน์ขององค์การนั้น ๆ ซึ่งการที่คนจะเข้าไปทำงานในองค์การใดหรือการที่องค์การใดจะรับคนเข้าไปทำงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือความเชื่อว่าตนจะได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
            9. บุคคลต้องการพัฒนาศักยภาพของตนให้ถึงขีดสุด (Self Development)   ได้แก่ การศึกษาพัฒนาตนเองตามศักยภาพให้ดีที่สุดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และบุคลิกภาพ เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคมและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และสังคมโดยส่วนร่วม รวมทั้งการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตนเอง
            10. บุคคลต้องการที่จะเรียนรู้และมีความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ การเรียนรู้ความรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานในการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างดีที่สุด
            โดยทั่วไปการศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกับวิชา 3 วิชาคือ วิชาจิตวิทยา วิชาสังคมวิทยาและวิชาทางด้านมนุษยวิทยา
            เกี่ยวกับทางด้านจิตวิทยา   ต้องมีความเข้าใจมนุษย์ พฤติกรรม และแรงจูงใจที่เป็นตัวกำหนดขวัญของบุคคลแต่ละกลุ่มคน นอกจากนั้นยังต้องมีความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเฉยเฉื่อยและแรงต้านทานการเปลี่ยนแปลงด้วย
            เกี่ยวกับทางด้านสังคมวิทยา   ต้องเข้าใจสภาพธรรมชาติ และหน้าที่ของกลุ่ม ความหนาแน่นที่เป็นปึกแผ่นของกลุ่ม การแสดงเอกลักษณ์ของตนว่าอยู่ในกลุ่มใด แบบอย่างการกระทำและความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ขององค์การหรือหน่วยงานในระบบสังคมที่ผู้นั้นเกิดและเติบโตมา ทักษะของคนมีความเกี่ยวข้องกับภูมิหลังของครอบครัว
            เกี่ยวกับทางด้านมานุษยวิทยา    ต้องเข้าใจเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชาวบ้าน (Folkways)   วัฒนธรรม กฎหมาย วินัยแห่งจรรยา ค่านิยมทางสังคมของคน เช่น ทำไมกรรมกรจึงมีทัศนะต่างจากข้าราชการ ทำไมคนในชนบทจึงมีพฤติกรรมแตกต่างจากคนในเมือง
            เกี่ยวกับแนวความคิดของลักษณะธรรมชาติองค์การนั้นเราอาจพิจารณาได้ว่าองค์การก็เป็นระบบทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้โดยประสานผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเราจะเข้าใจได้ชัดเจนโดยอาศัยความรู้ทางด้านสังคมวิทยา พฤติกรรมของบุคคลนั้นจะเป็นไปตามกฎทางจิตวิทยาและกฎทางสังคมด้วยพฤติกรรมของบุคคลจะได้รับอิทธิพลจากแรงขับภายในตัวเองเท่า ๆ กับได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม ตามความเป็นจริงแล้ว ระบบทางสังคมสองแบบจะมีอยู่ในองค์การอย่างแยกกันไม่ออกนั้นก็คือ ระบบสังคมที่เป็นทางการ (Formal) ระบบหนึ่ง และระบบสังคมที่ ไม่เป็นทางการ (Informal) อีกระบบหนึ่งแนวความคิดสำคัญประการหนึ่งที่ต้องระลึกถึงเสมอก็คือระบบทางสังคม หรือองค์การนั้นมิได้อยู่นิ่งตายตัวเหมือนที่ปรากฏในแผนภูมิองค์การ แต่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเสมอ (Dynamic) และเป็นระบบเปิด (Open system) ด้วย ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นการผสมผสานของหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เหมือนกับกาแฟ น้ำตาล ครีมเมื่อมีน้ำร้อนมาผสมเราจะได้กาแฟถ้วยหอม 1 ถ้วย
            ในเรื่องหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องความชอบพอระหว่างบุคคลซึ่งความชอบพอระหว่างบุคคลเป็นผลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมีผลกำหนดพฤติกรรมทางสังคมระหว่างกันในเวลาต่อมามนุษย์มีความปรารถนาที่จะให้คนชอบที่จะให้คนเสน่หานี้ นอกจากจะตอบสนองความติองการทางด้านจิตใจของมนุษย์แล้วยังบังเกิดผลกรรมทางบวกอย่างอื่นๆ ตามมาอีกมากมายบุคคลทั่วไปทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงใฝ่พยายามหาสิ่งเหล่านี้ การใฝ่หาแสดงออกในรูปพฤติกรรมต่างๆ ตั้งแต่พฤติกรรมแต่งตัวสวยงาม การเอาอกเอาใจ การประจบประแจง การเสาะหาพระเครื่องที่เชื่อว่าสามารถบันดาลให้ได้รับความเมตตาและความชอบพอตลอดจนการทำเสน่ห์ต่างๆชัยพร วิชชาวุธ ( 2525:406-408)   การวัดความชอบพอระหว่างบุคคลสามารถถามได้หลายวิธีเช่น
            1. ถามความรู้สึก การถามที่ง่ายที่สุดและถามตรงไปตรงมาที่สุดให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งซึ่งตรงกับความรู้สึกของตนเองที่มีต่ออีกคนหนึ่ง ดังนี้
              ..............ฉันรู้สึกจะชอบเขามาก
..............ฉันรู้สึกจะชอบเขา
..............ฉันรู้สึกค่อนข้างจะจะชอบเขา
..............ฉันรู้สึกเฉยๆ
..............ฉันรู้สึกค่อนข้างไม่ชอบเขา
..............ฉันรู้สึกไม่ชอบเขา
..............ฉันรู้สึกไม่ชอบเขามาก
การถามลักษณะเช่นนี้อย่าให้ตรงเกินไปนักเพราะผู้ตอบอาจตอบไม่ตรง แต่ถ้าผู้ตอบสามารถตอบได้ตรงๆ คงไม่มีปัญหาอะไร
            2. ความห่างทางสังคม แทนที่จะถามความรู้สึกเราอาจถามพฤติกรรมที่บุคคลหนึ่งจะเลือกกระทำกับอีกบุคคลหนึ่งเช่นจะร่วมกิจกรรมกับเขาหรือไม่ จะไปเที่ยวกับเขาหรือไม่ จะชวนเขาไปบ้านหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้แสดงความห่างทางสังคมไม่เท่ากันเราอาจนำพฤติกรรมทางสังคมเหล่านี้มาจัดเรียงเป็นมาตรความห่างทางสังคม
            3. สังคมมิติ เทคนิควัดความชอบพอและการยอมรับระหว่างกันที่ใช้กันแพร่หลายมากคือ สังคมมิติ ( Sociometry ) วิธีการทดสอบง่ายและตรงไปตรงมาผู้ทดสอบได้รับการทดสอบจัดอันดับเพื่อนที่ชอบมากที่สุด หรือผู้ร่วมงานที่อยากทำงานร่วมกันมากที่สุดหรือผู้ร่วมงานที่ไม่อยากทำงานร่วมกันมากที่สุด2-3 อันดับต่อจากนั้นก็นำข้อมูลการเลือกนี้ไปวิเคราะห์ว่าใครถูกเลือกมากที่สุด ใครถูกเลือกน้อยที่สุด คู่ใดมีการเลือกระหว่างกันและบุคคลต่างๆในกลุ่มเกาะกลุ่มกันอย่างไรข้อมูลการเลือกนี้อาจนำมาแสดงในแผนภูมิสังคม ( Sociogram )
 องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์จะเกิดได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1.   ต้องมีความเข้าใจตนเอง
2.   ต้องมีความเข้าใจบุคคลอื่น
3.   ต้องยอมรับความแตกต่างของบุคคลอื่น
ความเข้าใจตนเอง หมายถึง ความเข้าใจในความต้องการของตนเอง การรู้จุดเด่นจุด
ด้อยของตนการรู้ถึงจุดที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาคน
การเข้าใจตนเอง เป็นลักษณะการรู้จักตนเองอย่างแท้จริงว่าตนเองเป็นใคร มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์แค่ไหนระดับใด มีจุดแข็งคือความเก่งและจุดอ่อนคือความไม่เก่งในด้านใดบ้างเรื่องใดบ้าง การเข้าใจตนเองทำให้บุคคลเกิดการรู้สึกยอมรับในคุณค่าแห่งตน นับถือตนเองและรู้จักเข้าใจสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง สิ่งที่สำคัญในการเข้าใจตนเองจะช่วยให้เรารู้จักปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้ดีมาก
            ความเข้าใจบุคคลอื่น   หมายถึง การที่เรารู้ถึงความต้องการหรือปัญหาของบุคคลอื่น บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ๆ และธรรมชาติของคน
การเข้าใจสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและบุคคลอื่นซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีส่วนสัมพันธ์กับมนุษยสัมพันธ์ได้แก่ สภาพการณ์เหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต ล้วนแต่มีอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันที่เป็นองค์การ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน รัฐบาล ศาสนา องค์การระหว่างประเทศ ความรู้จากการเข้าใจสิ่งแวดล้อมสามารถนำมาปรับใช้กับตัวเราในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ดีมากขึ้น อำนวย แสงสว่าง ( 2544:101)
การเข้าใจบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน ความแตกต่างระหว่างบุคคลความต้องการของบุคคล แรงจูงใจของบุคคล สภาพสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดประโยชน์ ในการนำไปใช้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้นานัปการ เมื่อเราต้องการไปติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลใดเราต้องทราบก่อนว่าบุคคลนั้นชื่อใดเป็นใคร มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ทางด้านใดอยู่ในระดับใดชอบสิ่งใดไม่ชอบสิ่งใด โปรดปรานในสิ่งใดเป็นพิเศษ มีคุณลักษณะที่เด่นทางด้านใดบ้างเมื่อเรานำเอาบุคคลอื่นที่เราต้องการติดต่อสัมพันธ์มาพิจารณาดูว่า เรามีความเข้าใจในตัวเขาอย่างไร เรายอมรับในตัวเขาได้แค่ไหน เพื่อจัดระดับคุณค่าและความสำคัญของบุคคลที่เราจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์รวมทั้งการที่เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ในการติดต่อสัมพันธ์กัน
            ความแตกต่างของบุคคล   หมายถึง ลักษณะที่ทำให้คนแต่ละคนไม่เหมือนกันซึ่งแต่ละคนย่อมมีความคิด จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ เจตคติ ประสบการณ์ต่าง ๆ กัน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เราแตกต่างกันไม่เหมือนกันนั้นมาจากหลายสาเหตุด้วยกันอาจประมวลได้ดังนี้คือ รูปร่างหน้าตา ( appearance) อารมณ์ ( emotion )นิสัย ( habit ) เจตคติ ( attitude ) พฤติกรรม ( behavior ) ความถนัด ( aptitude ) ความสามารถ ( ability ) สุขภาพ ( health )รสนิยม ( taste )และสังคม ( social )ความแตกต่างจากสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุให้มนุษย์ขัดแย้งกันไม่สามารถเข้ากันหรือสัมพันธ์กันได้หากขาดความรู้ความเข้าใจเกิดการดูหมิ่นเหยียดหยามไม่เคารพสิทธิไม่ให้เกียรติเคารพนับถือในความแตกต่างกัน ถือว่าเป็นสิ่งธรรมดาสามัญทั่วไป ถ้าเราได้เข้าใจในเรื่องเหล่านี้แล้วความขัดแย้งก็จะลดน้อยลงหรือสามารถขจัดออกไปได้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จะดีขึ้น วิจิตร อาวะกุล. (2542:34)
            นอกจากนี้แล้วองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง พฤติกรรม การจูงใจ ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม เจตคติ นิสัย ระบบสังคม   สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เกิดเป็นพฤติกรรมที่น่าพึงพอใจแก่บุคคลอื่น ๆ ที่เรียกว่า “มนุษยสัมพันธ์”
 
องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
การที่จะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่จะ
ช่วยส่งเสริมให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีดังต่อไปนี้
            1. พฤติกรรมของคน (Human Behavior)   ในการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสุขในการดำเนินชีวิตหรือเพื่อการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นในหน่วยงานเราทุกคนต้องเข้าใจพฤติกรรมของคน
            2. การจูงใจ (Motivation)   เป็นแรงกระตุ้น   เป็นพลังให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่ออำนวยประโยชน์และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
            3. กลุ่มพวกในการปฏิบัติงาน   (Team work)   ตามรูปแบบของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมนุษย์ที่ดำรงตนด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกันหรือเคารพนับถือในความแตกต่างระหว่างบุคคล
            4. การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)   ระหว่างบุคคลต่อบุคคล   บุคคลต่อหน่วยงานหรือองค์การ มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ แบ่งแยกกลุ่มไปตามลักษณะของความต้องการ มีการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน 
ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
            “มนุษยสัมพันธ์” เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงาน และการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เพราะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ที่จะยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและปรับตัวปรับใจให้ร่วมสังคมและร่วมกิจกรรมกันอย่างสันติสุข มนุษยสัมพันธ์เป็นเสมือนมนต์ขลังช่วยลดความเกลียดชัง แม้ศัตรูผู้มีผลประโยชน์ขัดกับเราก็จะกลับกลายไปในรูปเห็นอกเห็นใจ เป็นมิตรภาพ เรื่องร้ายกลายเป็นดีได้ไม่ว่าจะติดต่อสัมพันธ์กันในทางการงานหรือส่วนตัว ก็จะเกิดผลดีมีประโยชน์ต่องานอาชีพ และการดำเนินชีวิต อุปสรรค ความยุ่งยากจะเรียบร้อยราบรื่น
            การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมในแง่ประโยชน์ต่อตนเอง บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนจะก่อให้เกิดความเข้าใจและความเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันสามารถสมาคมกับบุคคลในระดับต่าง ๆ ได้ดี ประสบความสำเร็จในการศึกษาและการประกอบกิจกรรมหรือการอาชีพ ในแง่ส่วนรวมการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยสร้างความสามัคคีกลมเกลียวขึ้นในหมู่คณะร่วมใจกันทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและในที่สุดจะช่วยพัฒนาให้สังคมและประเทศชาติเจริญก้าวหน้าทางสังคมจะทำให้คนงานมีกำลังใจทำงาน มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับองค์การที่ตนทำงานอยู่ การมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความเป็นกันเอง การทำงานด้วยความสมัครใจก็จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นปึกแผ่นขึ้นในองค์การ และมุ่งทำงานโดยมีจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายเดียวกันอย่างเหนียวแน่น สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับผู้ใช้แรงงาน
            ถ้าจะเน้นถึงประโยชน์ในแง่ของการบริหารงาน มนุษยสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้หัวหน้างานประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า หัวหน้างานควรจะต้องใส่ใจกับศิลปะของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของคนโดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของมนุษย์และการจูงใจ ซึ่งปัจจุบันก็มีแนวคิดใหม่ ๆ ที่ท้าทายให้ผู้บริหารได้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงาน หัวใจของมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงานด้วย ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์หัวหน้างานจะต้องใช้วิธีการหลายวิธี เพราะผู้ร่วมงานมีความแตกต่างกันมาก การประยุกต์หลักการและวิธีการต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง จะช่วยหัวหน้างานสามารถหาทางเลือกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วมนุษยสัมพันธ์ยังสามารถให้ประโยชน์ดังนี้คือ ทำให้เกิดความรู้จักคุ้นเคย ยอมรับนับถือกันในหมู่สมาชิก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพลังกลุ่มและช่วยให้การคบหาสมาคมเป็นไปโดยราบรื่น ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีและอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสามัคคี ทำให้บรรยากาศในการทำงานราบรื่น สามารถร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันง่ายและเป็นผลดี ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน และให้ความร่วมมือในการทำงานและทำให้ปัญหาความขัดแย้งลดน้อยลง บริหารงานได้ง่ายขึ้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในสังคม มนุษยสัมพันธ์ในส่วนที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมมีดังนี้ คือ   การมีความสัมพันธ์กันโดยการรวมกลุ่มในการผลิตและการอำนวยบริการเป็นการรวมพลังของกลุ่มบุคคลเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ซึ่งบุคคลคนเดียวทำได้ยาก ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลหลายคนจึงจะกระทำได้ความสัมพันธ์ที่กระทำต่อเนื่องกันมาจนเป็นที่ยอมรับ จะกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเกิดความรู้สึกที่เรียกว่ามีมนุษยสัมพันธ์ การทำให้เกิดความสำเร็จมนุษยสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญที่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันช่วยกันประกอบกิจการงานนำเอาความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมาใช้ในการดำเนินการร่วมกันเพื่อความสำเร็จของงาน โดยอาศัยมนุษยสัมพันธ์เป็นเครื่องยึดโยงให้มนุษย์มีความเข้าใจและร่วมมือกันทำงาน อันเป็นผลทำให้มีความสำเร็จของงานเกิดขึ้น การทำให้มีความมั่นคง            ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ คือ การสร้างให้มีความมั่นคงในครอบครัว ในสังคมและในประเทศชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ขึ้น ๆ ตามลำดับ จนถึงสังคมโลก ความรู้จักอภัยและชนะใจผู้อื่น สร้างความแช่มชื่นในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับผลตอบแทนทั้งทางด้านเศรษฐกิจและจิตใจคนในสังคม เป็นการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้แก่สังคม และการทำให้มีความสามัคคี ความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มของบุคคลก่อให้เกิดสามัคคีธรรมและความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของหมู่คณะ ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ ความเข้าใจระหว่างกันและกันของบุคคลในกลุ่ม อันได้แก่ มนุษยสัมพันธ์นั่นเอง ดังนั้น มนุษยสัมพันธ์จึงมีความสามัคคีในการสร้างให้มีความสามัคคีในหมู่คณะ ในที่นี้อาจสรุปผลดีในการมีมนุษยสัมพันธ์และผลเสียในการไม่มีมนุษยสัมพันธ์ได้ดังนี้คือ
            การมีมนุษยสัมพันธ์ก่อให้เกิดผลดี  พอสรุปได้ดังนี้
1.   เป็นประโยชน์ในการสื่อความคิดติดต่อการประชาสัมพันธ์กับประชาชน เพื่อเรียกร้อง
ความเห็นชอบกับชี้แจงให้รู้ถึงบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ
2.   ทำให้มีความพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้นการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด และวัตถุ
สิ่งของซึ่งกันและกัน จะนำไปสู่ความพอใจในชีวิต รู้สึกว่าชีวิตไม่แห้งแล้ง
3.   ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มนุษยสัมพันธ์ช่วยส่ง
เสริมความเข้าใจในระหว่างสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการงาน ความเข้าใจอันดีมีผลทำให้การประกอบธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงานได้ มนุษยสัมพันธ์จึงมีผลช่วยให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการประกอบธุรกิจการงาน
4.   ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้นการมีมนุษยสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีจะทำให้เกิดความสดชื่น
และส่งผลมายังครอบครัว คือ จะไม่มีอารมณ์เครียดมาระบายความหงุดหงิดกับครอบครัว ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสุข มีความพอใจที่ได้มีกิจกรรมและปฏิบัติงานร่วมด้วย
5.      ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่รู้จักบทบาทและภารกิจในการประกอบการผลิต การจำหน่าย
การกระจายบริหารงานออกไปโดยทั่วถึงกัน     มนุษยสัมพันธ์มีส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระหน้าที่รับผิดชอบบนพื้นฐานของความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นการแบ่งงานกันทำตามวิธีการบริหารงานแผนใหม่ อันเป็นผลช่วยทำให้การประกอบธุรกิจการงานร่วมกันสำเร็จลุล่วงตามที่กำหนดไว้อย่างได้ผล และมีความสมานฉันท์กันในหมู่คณะ
6.   ทำให้เข้าใจถึงธรรมชาติความต้องการความแตกต่าง ตลอดจนลักษณะของคน รู้วิธีที่
จะเอาชนะในคนให้เข้ามาร่วมงานด้วยความรักความพอใจ
7.   สร้างทักษะให้ผู้บริหารช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา และติดต่อกับ
กลุ่มชนประสานงานหน่วยอื่น ๆ ได้ดี ทำให้การบริหารงานของผู้บริหารง่ายขึ้น เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการใช้มนุษยสัมพันธ์เพื่อความสำเร็จของงาน
8.   ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีค่า จากการมีความสัมพันธ์และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
เป็นต้นว่า ความคิดเห็นของเราได้รับการยอมรับจากผู้อื่น เราสามารถจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนมีค่า
9.   ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเสรี ในด้านการผลิต การจำหน่าย การบริการ
10.ทำให้นักบริหารสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกชั้น
11. ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์การมีมนุษยสัมพันธ์
ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้องจะสามารถทำงานร่วมกันได้ดี จะประสบความสำเร็จก้าวหน้าในการทำงานและสามารถปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ของตนได้อย่างมีความสุข
12.ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคม สามารถทำงานร่วมกับบุคคลทุกคนได้อย่าง
ดีทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันพร้อมจะร่วมมือกันทำงานและอยู่ร่วมกันด้วยความสุข
13.ทำให้เกิดการเผยแพร่ และการถ่ายทอดความคิดเห็น ในด้านการศึกษา ทฤษฎี การ
ทดลอง การปฏิบัติ แนวความคิดโดยเสรี
14.ทำให้เกิดความรักใคร่ ศรัทธา เชื่อถือซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งความสามัคคี
15.ทำให้เกิดความต้องการที่จะได้ผู้ร่วมงาน   ในอันที่จะทำให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ สำเร็จ
ลุล่วงไปด้วยดี
16.เป็นสื่อในการติดต่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลอื่นยอมรับ เข้าใจในการปฏิบัติงานของเรา
ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำขึ้นนั้นสำเร็จได้ด้วยดี
17.ทำให้เกิดความพอใจ ยินดี และความร่วมมือในการงาน
18.ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ทำให้เกิดพลังร่วมมากขึ้น และลดความขัดแย้งในกลุ่ม
19.เป็นปัจจัยสำคัญในการประสานประโยชน์เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆ   ทางสังคม
 เศรษฐกิจ การปกครอง และการเมือง ทำให้การติดต่อสื่อสารต่างๆถึงกันง่ายและมีผลดี
20.ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ถ่ายทอดแนวความคิดปรัชญา สิ่งประดิษฐ์ ผลิตผลและบริการ
มนุษยสัมพันธ์ช่วยให้สมาชิกของกลุ่มและสังคมมีความเข้าใจดีระหว่างกัน เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความประสงค์ดีต่อกัน สามารถแนะและถ่ายทอดประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจการงานแก่กันได้ ซึ่งเป็นการกระจายวัฒนธรรมจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง  การเผยแพร่นี้อาจเกิดขึ้นในสังคมเดียวกัน หรือระหว่างสังคมก็ได้ ถ้ามีความสัมพันธ์ต่อกัน การเผยแพร่นี้เป็นการถ่ายทอดแนวความคิด เจตคติ ปรัชญา สิ่งประดิษฐ์ อุดมการณ์ ผลิตผล และบริการ เป็นต้น และยังช่วยสร้างความรู้สึกให้ใกล้ชิด    มนุษยสัมพันธ์เป็นรากฐานที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจและยึดโยงบุคคลในหมู่คณะให้มีความจงรักภักดี มีความใกล้ชิดคุ้นเคยและเป็นกันเอง สมดังพุทธภาษิตที่ว่า “วิสสาสปรมา ญาติ” หมายความว่า “ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” และความคุ้นเคยนี้เองได้ช่วยสร้างให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน  ในรูปของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมทั้งสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น   น่าปฏิบัติ น่าให้ความร่วมมือ ทำให้บรรยากาศในการทำงานดี มีความราบรื่น
ผลเสียของการที่บุคคลขาดมนุษยสัมพันธ์
            บุคคลที่รวมกันอยู่ในสังคมมีหลายประเภทมีความแตกต่างกันและแตกต่างกันในความต้องการทางด้านจิตใจอารมณ์ ด้านสติปัญญา เพราะฉะนั้นหากสมาชิกของสังคมขาดมนุษยสัมพันธ์ คือ ไม่พยายามเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่คิดถึงจิตใจของจิตใจเรา และมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ สังคมนั้นก็จะไม่มีความเจริญก้าวหน้าและไม่มีความมั่นคง เพราะสมาชิกแต่ละคนของสังคมจะไม่ร่วมมือกันต่างฝ่ายต่างก็จะเอาชนะและชิงดีชิงเด่นกันและกันอันจะนำมาซึ่งการแตกแยกความสามัคคีในหมู่คณะสังคมใดขาดมนุษยสัมพันธ์ผู้คนจะเครียดหงุดหงิด สุขภาพจิตเสื่อม มีผลกระทบถึงสังคมมาก ฉะนั้นทุกคนควรจะสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้บังเกิดขึ้นในหน่วยสังคมทุกหน่วยที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ เพราะเป็นวิธีการหนึ่งในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สังคมโดยส่วนรวม
 
ที่มา  http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=16293
 


00350 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2010-04-02 02:54:55 v : 2617



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา