วิทยากรที่พังงา/สิงคโปร์


 

วิทยากรที่พังงา/สิงคโปร์  AEC Teacher Development Program

โดย สถาบันพัฒนาบุคลากร PHD

22 / 4 / 13 วิทยากรที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพังงา

23-25 / 4 / 13 นำสมาชิกสหกรณ์ครูจังหวัดพังงาศึกษาดูงานที่สิงคโปร์ 

 

 

 

Singapore

 

April 2013

 

DR. SAKCHAI  PHUCHAROEN

www.kruinter.com

 

 

คนสิงคโปร์                                                                                                                    ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

 

          สิงคโปร์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่บนเกาะขนาดเล็ก ประกาศแยกตัวจากสหพันธรัฐมลายา (มาเลเซีย) ในปี ค.ศ. 1960 ประกอบไปด้วยผู้อพยพชาวเอเชียหลากหลายเชื้อชาติที่ละทิ้งถิ่นฐานดั้งเดิมเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ได้บอกเล่าให้เห็นภาพผู้อพยพต่างเชื้อชาติเหล่านี้ล้วนประสบกับความยากลำบากและสารพัดปัญหาเพียงใด จากภาวะที่ลำบากมีปัญหา มีส่วนช่วยบ่มเพาะให้คนสิงคโปร์มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ จนกลายเป็นส่วนสำคัญเชิงคุณค่าที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้คนและประเทศสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา

          มีรายงานการวิจัยฉบับหนึ่งได้ทำการสำรวจค่านิยมเชิงวัฒนธรรมของคนสิงคโปร์ โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจากหลายสาขาวิชาชีพ ผลการวิจัยได้เปิดเผยต่อข้อคำถามที่ว่า คนสิงคโปร์เป็นคนอย่างไร  กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 93 ได้กล่าวถึง ความพยายามอย่างต่อเนื่องและ การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วคนสิงคโปร์พร้อมที่จะลุกขึ้นสู้หลังประสบกับความล้มเหลว พวกเขามักจะวางแผนล่วงหน้าเสมอ และไม่ทำอะไรโดยไร้การวางแผน สำหรับข้อคำถามที่ว่าแนวทางใดได้ช่วยให้ชาวสิงคโปร์เป็นผู้ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค        กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60 ตอบถึงประวัติศาสตร์ชาติได้หล่อหลอมให้แกร่ง และ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 กล่าวถึงเจตนารมณ์ทางการเมือง ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผลวิจัยได้สรุปให้เห็นถึงคุณค่าที่คนสิงคโปร์ยึดถือปฏิบัติคือการทำงานหนัก ต้องการความเจริญก้าวหน้าเพื่อความสำเร็จ ไม่ต้องการเห็นความล้มเหลวและการพึ่งพาตนเองซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ และงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้ขยายความถึงคุณค่าของคนอเมริกันและคนญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบให้แก่คนสิงคโปร์นำไปยึดถือในการทำงาน คนอเมริกันนั้นจะไม่หยุดนิ่งหรือหยุดการพัฒนาพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆโดยอาศัยเทคโนโลยี  ส่วนชาวญี่ปุ่นนั้น จะมีแนวคิดว่า การอยู่รอดคือหัวใจสำคัญโดยญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีนที่มี  คำกล่าวของชาวจีนว่า  มดมักวุ่นวายตลอดเวลา  ซึ่ง จะหมายถึงมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

 

 

การศึกษาของสิงคโปร์                                                                ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

         ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัยอีก 2 ปี

         การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)

         รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น

         มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-

        1. National University of Singapore (NUS)

        2. Nanyang Technological University

        3. Singapore Management University (SMU)

          โดยมหาวิทยาลัย NUS จะให้การศึกษาครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชา ทั้งแพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ กฎหมาย ศิลปะศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการบริหารธุรกิจ ส่วนมหาวิทยาลัย Nanyang จะเน้นการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาธุรกิจ และการบัญชี สำหรับมหาวิทยาลัย SMU จะเน้นเรื่องธุรกิจการจัดการ

         วิทยาลัยเทคนิค (Polytechnic) ของสิงคโปร์มี 4 แห่งได้แก่ Singapore Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Temasek Polytechnic และ Nanyang Polytechnic ส่วนวิทยาลัยผลิตครูของสิงคโปร์มีอยู่เพียงแห่งเดียว คือ National Institute of Education นอกจากนี้ ยังมี Institute of Technical Education : ITE เป็นสถาบันที่จัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องการทักษะทางช่าง และช่างผีมือ

         ผู้ปกครองนักเรียนของสิงคโปร์จะส่งบุตรหลานเข้ารับการเตรียมความพร้อมในโรงเรียนเมื่อเด็กมีอายุ ได้ 2 ขวบครึ่ง เมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบก็จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1

         ระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ป.1-ป.4 เรียกว่า Foundation Stage และ ป.5-ป.6 เรียกว่า Orientation Stage ชั้นประถมต้นจะเรียน 3 วิชาหลัก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ และคณิตศาสตร์ นอกจากนั้น จะมีวิชาดนตรี ศิลปหัตถกรรม หน้าที่พลเมือง สุขศึกษา สังคม และพลศึกษา แต่ในช่วงประถมปลาย หรือ Orientation Stage นั้น นักเรียนจะถูกแยกออกเป็น 3 กลุ่มทางภาษา คือ EM 1. EM 2. และ EM 3.  การแยกนักเรียนเข้ากลุ่มทางภาษานั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษาของแต่ละคน เมื่อจบ ป.6 แล้วจะมีการสอบที่เรียกว่า Primary School Leaving Examination (PSLE) เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาต่อไป ผลการเข้าสอบมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

         การศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น จะมี 3 หลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ และความสนใจ โดยใช้เวลา 4-5 ปี หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่

         หลักสูตรพิเศษ  (Special Course)

         หลักสูตรเร่งรัด  (Express Course)

         หลักสูตรปกติ    (Normal Course)

         เมื่อจบหลักสูตรจะมีการสอบ โดยหลักสูตรพิเศษ และหลักสูตรเร่งรัดจะต้องผ่านประกาศนียบัตร GCB (General Certificate of Education) ในระดับ “O” Level ส่วนหลักสูตรปกติจะต้องผ่าน GCB “N” Level แต่ถ้าต้องศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษา ก็ต้องสอบให้ผ่าน GCB “O” Level เช่นเดียวกัน

         เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ผู้ที่สนใจเรียนสายวิชาชีพเทคนิค หรืออาชีวศึกษา ก็สามารถแยกไปเรียนตามสถาบันต่างๆ ได้  ส่วนผู้ที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าศึกษาต่อใน Junior College อีก 2 ปี เมื่อจบแล้วจะต้องสอบ GCE “A” Level เพื่อนำผลคะแนนไปตัดสินการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ผู้ที่เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็อาจศึกษาในสายอาชีพ หรือหางานทำ

         ปีการศึกษาของสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาคเรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นปีการศึกษา

 

 

 

จุดแข็ง จุดอ่อน 10 ประเทศอาเซี่ยน                                 

ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

1.ประเทศสิงคโปร์

จุดแข็ง

          • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก

          • การเมืองมีเสถียรภาพ

          • เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ

          • แรงงานมีทักษะสูง

          • ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ

          • มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ

จุดอ่อน

          • พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง

          • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้นเพื่อลด  การพึ่งพาการส่งออกสินค้า

 

2.ประเทศอินโดนีเซีย

จุดแข็ง

          • ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          • ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

          • มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก

          • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ

          • ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง

จุดอ่อน

          • ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว

          • สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

 

3.ประเทศมาเลเซีย

จุดแข็ง

          • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน

          • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก

          • ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร

          • แรงงานมีทักษะ

จุดอ่อน

          • จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • ตั้งเป้าหมายเป็น ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2563

          • ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย

          • มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

 

4.ประเทศบรูไน

จุดแข็ง

          • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก

          • การเมืองค่อนข้างมั่นคง

          • เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน

จุดอ่อน

          • ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน

          • ขาดแคลนแรงงาน

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

          • การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก

          • ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

 

5.ประเทศฟิลิปปินส์

จุดแข็ง

          • ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)

          • แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้

จุดอ่อน

          • ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน

          • ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ

          • การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศ

 

 6.ประเทศเวียดนาม

จุดแข็ง

          • ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)

          • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก

          • มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร

          • การเมืองมีเสถียรภาพ

          • ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา

จุดอ่อน

          • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

          • ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว

 

 7.ประเทศกัมพูชา

จุดแข็ง

          • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ

          • ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)

จุดอ่อน

          • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

          • ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง

          • ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้

 

 8.ประเทศลาว

จุดแข็ง

          • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ และแร่ชนิดต่างๆ

          • การเมืองมีเสถียรภาพ

          • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)

จุดอ่อน

          • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

          • พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน น้ำ และ  เหมืองแร่

 

 9.ประเทศพม่า

จุดแข็ง

          • มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก

          • มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย

          • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)

จุดอ่อน

          • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

          • ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ

 

 10.ประเทศไทย

จุดแข็ง

          • เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการ  รายใหญ่ของโลก

          • ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ

          • สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง

          • ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง

          • แรงงานจำนวนมาก

จุดอ่อน

          • แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ

          • เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง

ประเด็นที่น่าสนใจ

          • ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว

          • ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง

 

 

หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซี่ยนได้ที่

 www.kruinter.com   www.thai-aec.com   www.dtn.go.th   www.bic.moe.go.th

 

 

 



03482 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2013-05-19 15:06:27 v : 8493



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา