ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์


ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ (อับราฮัม มาสโลว์)

Abraham Maslow เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1908 ที่เมือง Brooklyn ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐ New York บิดามารดาเป็นชาวยิว (Jews) ซึ่งอพยพมาจากรัสเซีย Maslow เป็น พี่ชายคนโตมีพี่น้อง 7 คน พ่อแม่ของเขามีความปรารถนาที่จะให้เขาได้รับการ ศึกษาอย่างดีที่สุดซึ่ง Maslow ก็ยอมรับในความปรารถนานี้ อย่างไรก็ตามการ ศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายที่พ่อแม่ตั้งไว้ในระยะวัยเด็กและวัยรุ่นตอนต้นก็ สร้างความขมขื่นให้แก่เขามากเหมือนกัน ดังที่เขาได้เขียนเกี่ยวกับตัวเองได้ ว่า“ ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมฉันจึงไม่ป่วยเป็นโรคจิตฉัน เป็นเด็กชายยิวตัวเล็กๆอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งมันเหมือนกับสภาพของเด็กนิโกรคนแรกที่เข้าไปอยู่โรงเรียนที่มีแต่เด็ก ผิวขาว ฉันรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีความสุข ฉันใช้เวลาอยู่แต่ในห้องสมุดและห้อมล้อมด้วยหนังสือต่างๆ โดยปราศจากเพื่อน” จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนอาจคิดว่าความปรารถนาของ Maslow ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นนั้นเริ่ม ต้นมาจากความปรารถนาที่จะให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นนั่นเอง Maslowได้ทุ่มเทเวลาอย่างมากให้กับการศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์ แต่เขาก็ยังมีประสบการณ์งานด้านอื่นๆ เช่น ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบธุรกิจสร้างถังไม้ ซึ่งน้องชายของเขาก็ยังทำกิจการนี้อยู่ทุกวันนี้ Maslow เริ่มต้นการศึกษาใน ระดับปริญญาในวิชากฎหมายตามคำเสนอแนะของพ่อที่ City College of New Yorkแต่เมื่อเรียนไปเพียง 2 สัปดาห์เขาก็ตัดสินใจว่าเขาไม่สามารถเป็นนักกฎหมายได้ เขาจึงเปลี่ยนมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยCornellและต่อมาก็มาเรียนที่ มหาวิทยาลัย Wisconsin ในสาขาจิตวิทยา เขาได้รับปริญญาตรีเมื่อค. ศ. 1930 ปริญญาโท ในปีค.ศ. 1931 และปริญญาเอกในปีค.ศ. 1934 ทางด้านชีวิตครอบครัว เขาได้แต่งงาน กับ Bertha Goodman ซึ่ง Maslow ยกย่องภรรยาว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเขามาก ดังที่เขากล่าวว่า“ ชีวิตยังไม่ได้เริ่มต้นสำหรับฉันจนกระทั่งเมื่อฉันแต่งงานและได้ย้ายเข้ามา อยู่ใน Wisconsin”

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] Humanistic Theory

งานวิจัย เพื่อรับปริญญาเอกของเขาเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องมาจนกระทั่งทุก วันนี้ นั่นคือ การศึกษาเรื่องเพศและคุณลักษณะของลิง การศึกษาเรื่องนี้ทำ ให้ Maslow เกิดความสนใจในเรื่องเพศ และความรักซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนความสนใจนี้มาสู่มนุษย์ Maslow ได้ทำวิจัย เรื่องเพศโดยเฉพาะการศึกษารักร่วมเพศ (homosexuality) ซึ่งมีสระสำคัญทำให้ เข้าใจมนุษย์ลึกซึ้งมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1930–1934 Maslow เป็นผู้ช่วยหัวหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Wisconsin ต่อ มาได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย Columbia เขาทำงานอยู่ที่นี่ ระหว่างปีค.ศ.1935–1937 ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ มหาวิทยาลัย Brooklyn จนถึงปีค.ศ. 1951 Maslow ก็ได้ย้ายมาสอนที่ มหาวิทยาลัย New York ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์ กลางของมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาจิตวิทยา ณ ที่นี้เอง เขาได้พบกับนักจิตวิทยา ชั้นนำหลายคนที่หลบหนีจาก Hitler ในสมัยนั้น ได้แก่ Erich From , Alfred Adler, Karen Horney, Ruth Benedick และ Max Wertheimer ซึ่งเป็น โอกาสดีที่เขาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักจิตวิทยาเหล่านั้น อย่างมากมาย และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ Maslow ได้ศึกษาถึงกฎพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และในระหว่างนั้นทำให้เขากลาย เป็นนักจิตวิเคราะห์ไปด้วย Maslow มีความปรารถนาอย่างมากที่จะศึกษาพฤติกรรมที่ครอบคลุมมนุษย์อย่างแท้ จริง Maslow มีลูกสาว 2 คน เมื่อมีลูกสาวคนแรกเขากล่าวว่า “ลูกคนแรกได้ เปลี่ยนฉันให้มาเป็นนักจิตวิทยา และพบว่าจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นที่จะนำมาใช้ในการ เลี้ยงดู ฉันกล่าวได้ว่าทุกๆ คนที่มีลูกจะไม่สามารถเป็นนักพฤติกรรมนิยม ได้” Maslow ได้พบพฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ซึ่งแสดงออกโดยลูกๆ ของ เขา เขากล่าว่า “จิตวิทยาพฤติกรรมนิยมมีความสัมพันธ์ที่จะเข้าใจ หนู (rodents) มากกว่าจะเข้าใจมนุษย์” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิด ขึ้นเป็นสาเหตุให้การทำงานของ Maslow เปลี่ยนแปลงไป ในความเห็นของเขาสงคราม ก่อให้เกิดอคติความเกลียดชังซึ่งเป็นความชั่วร้ายของมนุษย์ หลังจากที่ทหาร ยึด Pearl Harborได้นั้นมีผลต่องานของ Maslow มากดังที่เขาบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า“ข้าพเจ้ายืนมองการรบด้วยน้ำตานอง หน้า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลยว่าพวก Hitlerพวก Germanพวก Stalin หรือพวก Communist มีจุดมุ่งหมายอะไร ไม่มีใครที่จะเข้าใจ การกระทำของเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะเห็นโต๊ะสันติภาพ ซึ่งมีบุคคลนั่งอยู่รอบโต๊ะนั้นและพูดกันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่พูด ถึงความเกลียดชังสงคราม พูดแต่เรื่องสันติภาพและความเป็นพี่เป็นน้องกัน” ในเวลาที่ข้าพเจ้าคิดเช่น นี้ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจได้ว่าควรจะทำอะไรต่อไปนับตั้งแต่วินาทีนั้น ในปีค.ศ. 1941 ข้าพเจ้าได้อุทิศตัวเองในการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งทฤษฎีนี้ จะสามารถทดสอบได้จากการทดลองและการวิจัย ปีค. ศ.1951Maslowได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของคณะจิตวิทยาที่ มหาวิทยาลัย Brandeisและอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงปีค.ศ.1961 และหลังจากนั้นเขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา ในระหว่างนี้ เขาเป็นบุคคลสำคัญในการเคลื่อนไหวในกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมในหมู่นัก จิตวิทยาชาวอเมริกันถึงปี 1969 เขาได้ย้ายไปเป็นประธาน มูลนิธิ W.P.Laughlin ใน Menlo Part ที่Californiaและที่นี้เอง เขาได้ศึกษาในเรื่องที่เขาสนใจคือปรัชญาทางการ เมืองและจริยธรรม และแล้ววาระสุดท้ายของเขาก็มาถึง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1970 เมื่ออายุเพียง 62 ปี เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจวายหลังจาก ที่เขาป่วยเป็นโรคหัวใจเรื้อรังมาเป็นเวลานาน หนังสือที่ Maslow เขียนมีเป็นจำนวนมาก ตัวอย่าง เช่น Toward a Psychology of Being ,Religions, Values and Peak Experiences,The Psychology of Science : A Reconnaissance


[แก้] หลักเบื้องต้นของจิตวิทยามานุษยนิยม

คำว่า “จิตวิทยามานุษย นิยม” (Humanistic psychology) ตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักจิตวิทยาเมื่อประมาณ ต้นๆ ปี 1960 โดยมี Maslow เป็นหัวหน้ากลุ่มในสมัยนั้น ทฤษฎีที่มีอิทธิพล ต่อวงการจิตวิทยาคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพฤติกรรม นิยม (psychoanalysis and behaviorism) แต่ Maslow ได้ตั้งทฤษฎีที่มีตัวแปร แตกต่างออกไปจากกลุ่มทฤษฎีทั้ง 2 และเป็นทฤษฎีที่ไม่เหมือนกับทฤษฎี อื่นๆ จิตวิทยามานุษยนิยมไม่ได้มีระบบหรือการรวบบรวมเฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่ง ใด แต่มันแสดงคุณลักษณะของความเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการเข้ามารวมกันของความ คิดหลายๆ อย่าง Maslow เรียกว่า “พลังที่ 3 ของ จิตวิทยา” (third force psychology) ถึงแม้ว่า การเคลื่อนไหวนี้จะแสดงความคิดเห็นได้กว้างขวางแต่ทั้งหมดแสดงถึงความคิด พื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ และความคิดพื้นฐานในทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากปรัชญา ตะวันตก กลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมเน้นอย่างมากในปรัชญาเรื่องอัตถิภา วนิยม (Existential) ซึ่งเป็นปรัชญาที่กล่าวว่า บุคคลมีความรับผิดชอบในตน เอง อิทธิพลจากปรัชญานี้มีต่อแนวความคิดทางจิตวิทยาได้พัฒนาขึ้นโดยนักคิด และนักเขียนหลาย คน เช่น Kierkegaarad, Startre, Camus, Binswanger, Boss และ Frankl ส่วน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เช่น Rollo May ก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้เช่นกัน

  • ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existential) กล่าวถึง มนุษย์ในแง่ของความเป็นเอกัต บุคคลและปัญหาเกี่ยวกับความคงอยู่ของแต่ละบุคคล มนุษย์เป็นผู้ที่มีความ สำนึกในตนเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตที่ทุกคนต้อง ประสบคือ ความตาย ปรัชญาของลัทธินี้ไม่ยอมรับว่าบุคคลเป็นผลมาจากการถ่ายทอด ทางพันธุกรรมหรือเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะชีวิตในตอนต้นๆ และเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกทางเดินชีวิตของ ตนเอง ไม่มีสาเหตุหรือเหตุผลใดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ทุกคนมีความรับ ผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง และมีอิสรภาพที่จะเลือกในสิ่งที่ตนสนใจหรือต้อง การ กล่าวได้ว่า “ชีวิตเป็นไปตามที่ตนสร้างขึ้น” มนุษย์เป็นผู้กำหนดว่าสิ่ง ใดที่เขาจะกระทำหรือสิ่งใดที่เขาจะไม่กระทำ มนุษย์มีอิสระที่จะเป็นในสิ่ง ที่เขาต้องการ การมีอิสระในการเลือกไม่ได้เป็นสิ่งที่ประกันว่าสิ่งที่เขา เลือกนั้นจะดีสำหรับเขา เพราะถ้าเช่นนั้นบุคคลก็จะไม่พบกับความผิดหวังหรือ มีความวิตกกังวล หรือมีความเบื่อหน่าย หรือความรู้สึกผิดเกิดขึ้น
  • แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยม ส่วนมากนำมาใช้จากปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( Existential ) คือ มนุษย์เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง มนุษย์จะแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ต่าง ๆ เช่น เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นเด็กวัยรุ่นที่ร่าเริงสนุกสนาน แต่เพียงไม่ กี่ปีหลังจากนั้น เด็กวัยรุ่นเหล่านั้นก็กลายเป็นผู้จรรโลงสังคม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในเวลาต่อมาทั้งนี้เนื่องมาจากมนุษย์สามารถ ตระหนักในความรับผิดชอบและพยายามค้นหาศักยภาพแห่งตน เพื่อกระทำในสิ่งที่ตนเองสามารถจะกระทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยเหตุ นี้มนุษย์จึงสามารถเผชิญกับความจริงของชีวิตได้ ในทัศนะของกลุ่มอัตถิภา วนิยมและกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมมีความสอดคล้องกันว่า มนุษย์เป็นผู้ค้นหาความเป็นจริงของชีวิตนอกเหนือไปจากความต้องการในการตอบ สนองทางชีวภาพหรือการตอบสนองทางเพศและสัญชาตญาณของความก้าวร้าวแล้ว และถ้า บุคคลใดปฏิเสธการเจริญเติบโต หรือไม่ต้องการความเจริญก้าวหน้าแสดงว่าบุคคลนั้นไม่ยอมรับตนเองไม่ยอมรับใน ความสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้กับชีวิตด้วยตนเอง ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มมานุษย นิยมได้กล่าวว่า เป็นเรื่องเศร้าที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องบิดเบือนไปและเป็นสาเหตุให้ Maslow เริ่มสนใจกระบวนการของความเจริญเติบโตหรือการเข้าใจตนเองอย่างแท้ จริงในธรรมชาติที่เกี่ยวกับมนุษย์
  • แนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( existential ) ได้เน้นมนุษย์ในเรื่องความรู้สึกและอารมณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่วัดได้ยากรวม ทั้งเน้นประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำให้บุคคลสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ดังนั้นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์จึงมุ่งอธิบายพฤติกรรมที่เกิดภายในจิต ซึ่งเขาถือว่าเป็นประสบการณ์ภายในหรือประสบการณ์ส่วนตัว ทฤษฎีบุคลิกภาพ Maslow มีแนวคิดสำคัญๆ 5 เรื่อง ดังนี้

[แก้] เอกัตบุคคลเป็นบูรณาการโดยส่วนรวมทั้งหมด

พื้นฐาน สำคัญที่สุดของทฤษฎีจิตวิทยามานุษยนิยมคือ นักจิตวิทยาจะต้องศึกษาสิ่งที่ทำ ให้เกิดบูรณาการ ความเป็นเอกลักษณ์และการจัดระบบร่วมกันทั้งหมด Maslow รู้สึก ว่านักจิตวิทยาได้เสียเวลาเน้นการวิเคราะห์ส่วนย่อยที่แตกแยกออกมา โดยไม่คิดถึงบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและขาดการระลึกถึงธรรมชาติของ มนุษย์ อุปมาเสมือนการศึกษาต้นไม้โดยไม่มีความรู้เรื่องป่าเลย ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีของ Maslow จึงเป็นทฤษฎีเริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยต่อต้านทฤษฎีเหล่านี้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) เพราะทฤษฎีพฤติกรรมนิยมได้เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย หรือเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมและละเลยบุคคลในฐานะที่เป็นเอกภาพรวม Maslow ได้กล่าวถึงทฤษฎีบุคลิกภาพที่ดีไว้ว่าควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • "ทฤษฎีที่ดีนั้นต้องไม่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์เฉพาะในเรื่อง ท้อง ปาก หรือความต้องการทางเพศ แต่จะต้องกล่าวถึงความต้องการทั้งหมดของตัว บุคคล เช่น John Smith ต้องการอาหารซึ่งมิใช่แต่เพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เขาต้องการความพึงพอใจด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดความหิว John Smith จึงมิได้ท้องหิวแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นความหิวที่เกิดจากส่วนรวมของตัวเขาทั้งหมด” ดังนั้นสำหรับทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow สนใจเรื่องศูนย์กลางคุณลักษณะของ บุคลิกภาพจะต้องมีลักษณะเป็นเอกภาพและรวมเข้ามาด้วยกันทั้งหมด มองบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของมนุษย์ แต่ละคน

[แก้] ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างผลการวิจัยพฤติกรรมของสัตว์กับพฤติกรรมมนุษย์

สิ่งหนึ่งที่สนับสนุนความคิดของนัก จิตวิทยามานุษยนิยมที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ก็ คือ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีมากกว่าสัตว์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์ชนิด พิเศษก็ตามซึ่งความคิดนี้ค้านกันอย่างแรงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งให้ความสำคัญของมนุษย์ดำเนินไปอย่างเดียวกับโลกของสัตว์ Maslow ได้ให้ ความเห็นว่ามนุษย์มีความเป็นเอกภาพและแตกต่างจากสัตว์ เขากล่าวว่ากลุ่ม พฤติกรรมนิยมมีปรัชญาว่า “มนุษย์เป็นเอกัตบุคคลมีชีวิตอยู่เสมือนเครื่อง จักรซึ่งประกอบไปด้วยพันธนาการที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขหรือความไม่มี เงื่อนไข” แนวคิดของ Maslow เชื่อว่าแท้จริงแล้วการวิจัยพฤติกรรมจากสัตว์ไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้า ใจพฤติกรรมมนุษย์เนื่องจากสัตว์และการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ก็ไม่ได้ทำให้ เราเข้าใจสิ่งต่อไปนี้ ความคิดของมนุษย์ ค่านิยมของมนุษย์ ความอายของมนุษย์ อารมณ์ขันของมนุษย์ ความกล้าหาญของมนุษย์ ความรักของมนุษย์รวมไปถึง งานศิลปะ ความรู้สึกอิจฉา ริษยา และที่สำคัญคือสัตว์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานในด้านการ ประพันธ์ ดนตรี วิทยาศาสตร์ และงานอื่นๆ อันเป็นผลมาจากสมองและจิตใจของ มนุษย์ได้เลย และไม่พบเลยว่ามีตำราเล่มใดที่กล่าวขวัญหรือยกย่องในความ สามารถของหนู นกพิราบ ลิง และแม้แต่ปลาโลมาว่ามันฉลาดเทียบเคียงมนุษย์ ฉะนั้นจะเอาพฤติกรรมสัตว์มาสรุปเป็นพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้

[แก้] ธรรมชาติภายในของมนุษย์

ทฤษฎีของ Freud เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีความชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน แรงกระตุ้นของมนุษย์ถ้าไม่มี การควบคุมก็จะนำไปสู่การทำลายผู้อื่นและทำลายตนเองได้ ทัศนะนี้จะถูกต้อง หรือไม่ก็ตาม Freud มองว่า ”คนมีความดีบ้างเล็กน้อย” อย่างไรก็ดี แนวคิดของทฤษฎีมานุษยนิยมเชื่อว่า แท้จริงแล้ว “มนุษย์เป็นคนดีหรืออย่างน้อยก็มีทั้งดีและเลวพอ ๆ กัน” ทั้ง ทฤษฎีกลุ่มจิตวิเคราะห์และทฤษฎีมานุษยนิยมต่างมีเจตคติแตกต่างกัน กลุ่มมานุษยนิยมจะมองว่า “ความชั่วร้าย การทำลาย และแรงที่ผลักดันรุนแรงในตัวมนุษย์จะเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ชั่วร้ายมากกว่า จะเกิดจากสันดานของมนุษย์เอง"

[แก้] ศักยภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษย์

การสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นความคิดสำคัญของ จิตวิทยามานุษยนิยม โดย Maslow กล่าวยกย่องว่าบุคคลที่เขาศึกษาหรือสังเกตนั้นส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพ ประการแรกคือ เป็นผู้มีลักษณะการสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะทั่วไปของธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นศักยภาพที่แสดงออกนับตั้งแต่เกิดมา และการสร้างสรรค์ถือว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ ธรรมชาติอื่นๆ เหมือนกับที่ต้นไม้ผลิใบ หรือนกสามารถบิน เป็นต้น อย่างไรก็ดี Maslow ให้ความเห็นว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ จะสูญเสียการสร้างสรรค์ไปเมื่อเขาเจริญเติบโตเพราะการเข้าสู่กรอบของสังคม และวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาในโรงเรียนมักจะทำให้การสร้างสรรค์ลบเลือนไปแต่ก็มีคนเป็นจำนวน น้อยที่ยังรักษาไว้ได้ การสร้างสรรค์ที่สูญเสียไปนี้สามารถเรียกกลับคืนมา ได้ในระยะต่อมาของชีวิต Maslow กล่าวว่าการสร้างสรรค์เป็นศักยภาพของแต่ละบุคคลไม่ใช่เป็นความสามารถพิเศษ เพราะ ความสามารถพิเศษมีเฉพาะบางคนเท่านั้นซึ่งแสดงออกเป็นผลงานที่มีคนเป็นจำนวน น้อยสามารถทำได้ เช่น ความสามารถพิเศษในการเป็นนักประพันธ์ ความสามารถพิเศษ ในการเป็นศิลปิน เป็นต้น ส่วนความสามารถสร้างสรรค์เป็นความสามารถทั้งหมดของ มนุษย์ที่แสดงออกมาได้ในอาชีพต่างๆ เช่น ช่างสร้างบ้าน จ๊อกกี้ ช่างทำ รองเท้า นักเต้นรำ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

[แก้] การให้ความสำคัญของจิตใจที่สมบูรณ์

Maslow กล่าวว่าการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ของ นักจิตวิทยาที่ผ่านๆ มานั้นไม่มีวิธีการทางจิตวิทยาวิธีใดที่จะศึกษา พฤติกรรมต่อไปนี้ได้ถูกต้อง การทำหน้าที่ของการมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ของมนุษย์ รูปแบบของชีวิต เป้าหมาย ของชีวิต โดยเฉพาะเขาวิจารณ์ทฤษฎีของ Freud ว่าเป็นทฤษฎีที่หมกมุ่นในการ ศึกษาโรคประสาทและโรคจิตมากเกินไปและทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นการมองคนในด้าน เดียวและขาดความเข้าใจที่แท้จริงคือ มองมนุษย์เฉพาะด้านความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยของพฤติกรรมเท่านั้น ( มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติในด้านที่ไม่พึงปรารถนาเพียงด้านเดียว มนุษย์มีทั้งที่ผิดปกติและปกติ ถ้าสนใจมนุษย์ด้านผิดปกติเราก็จะพบ ความล้ม เหลว และความไม่ดีต่างๆ ในตัวมนุษย์

เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ Maslow และผู้ร่วมงานในกลุ่มมานุษยนิยม ของเขาจึงหันมาสนใจ”ธรรมชาติทางจิตที่ดีงามของมนุษย์” และ การเข้าใจสภาพจิตดังกล่าว โดยจะศึกษากับคนปกติมากกว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต ใจMaslowเชื่อว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจความเจ็บป่วยทางจิตใจได้จนกว่าเราจะ เข้าใจสภาพจิตใจที่มีความสมบูรณ์Maslow ยอมรับว่าการศึกษาคนพิการ บุคคลที่มีปัญหาทางจิต ผู้ที่ไม่มีวุฒิภาวะ (immature) และผู้ที่สติปัญญาอ่อน เป็นตัวอย่างการ ศึกษาผู้มีความบกพร่องทางจิตได้ เขามีความเชื่อมั่นว่า การศึกษาในเรื่องความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualizing ) จะเป็นการศึกษาบุคคลที่มีรากฐานกว้างขวางในศาสตร์ของจิตวิทยา กล่าวโดย สรุปจิตวิทยาในกลุ่มมานุษยนิยมพิจารณาว่า “การกระทำตนให้สมบูรณ์” (Self-fulfillment) เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ และหลักการดังกล่าวนี้จะไม่สามารถพบจากการศึกษาบุคคลที่ผิดปกติได้เลย

[แก้] ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

  • Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคล ในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์

ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจ และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ

  • Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนา เหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนา ขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ

[แก้] ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์

Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้

  • ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
  • ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
  • ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
  • ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
  • ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุด จะต้องได้รับความพึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้

[แก้] ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ ชัดที่สุด จากความต้องการทั้งหมดเป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการ ทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ตลอดจนความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับ สัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดของร่าง กายและของอินทรีย์ ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในขั้นที่สูงกว่าและถ้าบุคคลใดประสบ ความล้มเหลวที่จะสนองความต้องการพื้นฐานนี้ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น ให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่ภายใต้ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ความต้องการอื่นๆ ไม่ ปรากฏหรือกลายเป็นความต้องการระดับรองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลา นานจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกได้ บุคคลเช่นนี้จะหมกมุ่น อยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับประทาน Maslow อธิบายต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่เมื่อมีอาหาร เพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใดอีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็น เรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็น เสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญา ชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อ แสดงว่า ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และได้ พบผลว่าเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอาหาร หรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขังเชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรม และค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธี การต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ. 1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ผู้ที่รอดตาย รวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิดความหิว ขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีความต้อง การทางด้านร่างกายเหนือความต้องการอื่นๆ และแรงผลักดันของความต้องการนี้ได้ เกิดขึ้นกับบุคคลก่อนความต้องการอื่นๆ

[แก้] ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)

เมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย ได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นใหม่ต่อไป ซึ่งขั้นนี้เรียกว่าความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึกมั่นคง (safety or security) Maslow กล่าว ว่าความต้องการความปลอดภัยนี้จะสังเกตได้ง่ายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่อง จากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการความช่วยเหลือและต้องพึ่งพออาศัยผู้ อื่น ตัวอย่าง ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียง ดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ความรู้สึก กลัวหมดไป ดังคำพูดที่ว่า “ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบอีกต่อไป แล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความต้องการความปลอดภัยจะ เห็นได้ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิดความเจ็บป่วย ตัวอย่างเด็กที่ประสบ อุบัติเหตุขาหักก็ตะรู้สึกกลัวและอาจแสดงออกด้วยอาการฝันร้ายและความต้องการ ที่จะได้รับความปกป้องคุ้มครองและการให้กำลังใจ Maslow กล่าว เพิ่มเติมว่าพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะไม่ทำ ให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้รับความพึงพอใจจากความต้องการความปลอดภัยการให้ นอนหรือให้กินไม่เป็นเวลาไม่เพียง แต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเขา สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่าง กายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมี อิทธิพลต่อความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความต้อง การความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อบุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว แม้ใน บุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี หรือทำงาน เกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อความ ปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าว มานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคน ชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาและ ปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบ ของตัวเองให้มีเหตุผลและวิถีทางที่ทำให้บุคคลรู้สึก “ปลอดภัย” ความ ต้องการความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญกับสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่ เป็นระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้ Maslow ได้ ให้ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด -ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหาความ รู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ ทที่ร้ายกาจและกำลังมีอันตรายต่างๆ เขาจึงต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้ม ครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้

[แก้] ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs)

ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเป็นความต้องการขั้นที่ 3 ความ ต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรัก และความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภาย ในครอบครัวหรือกับผู้อื่น สมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับ บุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือ ถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ ญาติพี่ น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่าง ไกลบ้านจะเกิดความต้องการเป็นเจ้าของอย่างยิ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้ รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน Maslow คัด ค้านกลุ่ม Freud ที่ว่าความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทาง เพศ (sublimation) สำหรับ Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่อง เพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ ดี ความสัมพันธ์ของความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึงความรู้สึกนับถือซึ่งกัน และกัน การยกย่องและความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ำว่าความต้อง การความรักของคนจะเป็นความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการรู้จักให้ความรักต่อ ผู้อื่นและรู้จักที่จะรับความรักจากผู้อื่น การได้รับความรักและได้รับการ ยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า บุคคลที่ขาดความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียด แค้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่าบุคคลต้องการความรักและความรู้สึก เป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความข้องคับใจและทำให้เกิดปัญหาการ ปรับตัวไม่ได้ และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจในลักษณะ ต่างๆ สิ่งที่ ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัว เองเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่าจะถูก ปฏิเสธความรู้สึกเช่นนี้ Maslow กล่าว ว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับความรักหรือการขาดความรักใน วัยเด็ก ย่อมมีผลกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของ ความรัก Maslow เปรียบเทียบว่าความต้องการความรักก็เป็นเช่นเดียวกับรถยนต์ ที่สร้างขึ้นมาโดยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)

[แก้] ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)

เมื่อ ความต้องการได้รับความรักและการให้ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมีเหตุผลและ ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็ จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้ รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นความต้องการนับถือตน เอง (self-respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ จากผู้อื่น (esteem from others)

  • ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อ

มั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความ สามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็น อิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบความ สำเร็จในงานภาระกิจต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง

  • ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความ

ต้องการมีเกียรติยศ การได้รับ ยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าว ขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี มีความต้องการที่จะได้รับความยกย่องชมเชยในสิ่ง ที่เขากระทำซึ่งทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าว่าความสามารถของเขาได้รับการ ยอมรับจากผู้อื่น ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่องความต้องการด้านแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ใน เรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหาความต้องการได้รับการ ยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของได้รับการตอบสนองความพึงพอใจของเขา แล้ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับ จากระดับขั้นความต้องการในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่ 3 อีกถ้าความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบ กระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow นำมาอ้างคือหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนองความต้องการความรักของ เธอได้ดำเนินไปด้วยดี แล้วเธอจึงทุ่มเทและเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จเป็นนัก ธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝันสามีได้ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่น นี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับความ ยกย่องนับถือ และหันมาใช้ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการ กระทำเช่นนี้ของเธอเป็นตัวอย่างของความต้องการความรักซึ่งครั้งหนึ่งเธอได้ รับแล้ว และถ้าเธอได้รับความพึงพอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับ ไปเกี่ยวข้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ความ พึงพอใจของความต้องการได้รับการยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติ ของความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมี ความสามารถ และความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็นบุคคลที่มี ความจำเป็นต่อโลก ในทางตรงกันข้ามการขาดความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำ ไปสู่ความรู้สึกและทัศนคติของปมด้อยและความรู้สึกไม่พอเพียง เกิดความรู้สึก อ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทาง นิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิด ความรู้สึกขลาดกลัวและรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้นหวังในสิ่ง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชีวิต และประเมินตนเองต่ำกว่าชีวิต ความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมีชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้ รับการประจบประแจง การได้รับความนับถือยกย่องเป็นผลมาจากความเพียรพยายามของ บุคคล และความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชย จากผู้อื่นมากกว่าการยอมรับความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่าการได้รับความ นับถือยกย่อง มีพื้นฐานจากการกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก

[แก้] ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)

ถึง ลำดับขั้นสุดท้าย ถ้าความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิดความพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบาย ความต้องการเข้าใจตนองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทาย ความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับ ของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตน เองอย่างแท้จริงเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะบรรลุถึงวจุดสูงสุด ของศักยภาพ เช่น “นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้อง วาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตน ตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้ จริง” Maslow ( 1970 : 46) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อ ว่าคนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้ “ด้านที่ดีที่สุดของเรา ความสามารถ พิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์” Maslow (1962 : 58) ความต้อง การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คน ทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตน เองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถทำในสิ่งที่ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบ เฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวางจากคน หนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับความต้องการที่แสดงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด Maslow ได้ ยกตัวอย่างของความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษา ชื่อ Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัว เป็นนักจิตวิทยาคลีนิค นักทฤษฎีคนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพ นี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่เขา เก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่า มันเป็นความพยายามเพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจ มองว่าเป็นผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่ Bandura สัมพันธ์ เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณา ว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่าง ที่แสดงถึง การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดยความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้ จริงและถ้าจะพิจารณากรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่าน กาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและ ในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาใน ตำแหน่งตำรวจสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับ ผลประโยชน์พิเศษหลายๆ อย่างตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและความมั่นคงสำหรับ ชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำอย่างไร ถ้าคำตอบของเขา คือ “ตกลง” เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ความต้องการระดับที่ 2 คือความต้องการความ ปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าว ว่า “อะไรที่มนุษย์สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น” เรื่อง ของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจสืบสวน เขาก็จะไม่มี โอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why

00308 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-09-25 14:47:17 v : 9611



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา