กลยุทธ์ สู่การบริหารธุรกิจอย่างอัจฉริยะ


 

กลยุทธ์ สู่การบริหารธุรกิจอย่างอัจฉริยะด้วย Business Intelligence
เรียบเรียงโดย ทศพนธ์ นรทัศน์ จากนิตยสาร EWorld Magazine เดือนพฤษภาคม 2552

ระบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ทำให้ธุรกิจต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจไม่อาจเติบโตและอยู่รอดได้ด้วยการบริหาร ในรูปแบบเดิมๆ โดยปราศจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินงาน การตัดสินใจ การวางกลยุทธ์ การกำหนดนโยบายทางธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation)

ในอดีตระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) ถูกนำมาใช้งานเฉพาะในธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ในปัจจุบันระบบธุรกิจอัจฉริยะได้ถูกนำมาใช้งานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ลดต่ำลงในระดับหลักแสนบาทและใช้ระยะเวลาในการติดตั้งระบบเพียง 1-2 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม การนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานนั้น ผู้บริหารจะต้องกำหนดกลยุทธ์ในการนำระบบมาใช้งานที่ชัดเจน มิเช่นนั้น ธุรกิจอาจประสบกับความล้มเหลวในการนำระบบมาใช้งานได้

การวางกลยุทธ์ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Strategy)

การวางกลยุทธ์ระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นวิถีทางที่ดีที่สุดในการที่ องค์กรจะรวมเอาหลักการบริหารธุรกิจผสานเข้ากับเทคโนโลยี สารสนเทศอันทันสมัย เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร โดยระบบธุรกิจอัจฉริยะนี้ จะสามารถให้สารสนเทศที่ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อสนับสนุนระบบการบริหารและการประเมินผลการ ดำเนินงาน (Corporate Performance Management : CPM) มากกว่าการใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจเช่นในอดีต

ก่อนการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานในธุรกิจ ผู้บริหาร จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อระบบธุรกิจอัจฉริยะก่อน ดังนี้

 

แต่ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI) คือ การรวมคน-กระบวนงาน-- เทคโนโลยี (People-Process-Technology) เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจได้มากกว่า ร้อยละ 90 โดยมี ส่วนประกอบของคน (people) และกระบวนงาน (process) รวมกันถึงร้อยละ 90 ส่วนเทคโนโลยี (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ร้อยละ 10 ซึ่งเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน และประมวลผลของระบบธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่ทันสมัยต่อการใช้งาน (timely) เชื่อถือได้ สำหรับสนับสนุน การตัดสินใจและการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร (Electrosmart)

 

 

การกำหนดวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจอัจฉริยะ (BI Vision)

วิสัยทัศน์ด้านธุรกิจอัจฉริยะ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะถูก กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมี เป้าหมายร่วมกันที่จะนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน ในอันที่ จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร (Electrosmart)

การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการนำระบบธุรกิจ อัจฉริยะมาใช้งาน (BI Objective) ผู้บริหารจะต้องมีความ เข้าใจในประเด็น ต่อไปนี้

  1. ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI Drivers) ให้ประสบความสำเร็จ - ผู้บริหารจะต้องทราบว่ามีปัจจัยสำคัญภายในองค์กรใดบ้าง ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้การนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานได้ประสบความสำเร็จ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบธุรกิจอัจฉริยะได้ (BI Culture)
  2. ข้อจำกัด หรือสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน (BI Constraints) -ผู้บริหารจะต้องทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะเป็นข้อจำกัด หรืออุปสรรคที่สำคัญต่อการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน รวมถึงเทคโนโลยีทั้งที่มีอยู่เดิมและที่องค์กรจะนำเข้ามาใช้งานจะต้องรองรับกับสภาพแวดล้อมของการเป็นธุรกิจอัจฉริยะ (BI environment) ซึ่งผู้บริหารจะต้องเอาชนะอุปสรรค หรือก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ให้ได้ จึงจะสามารถนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ในธุรกิจได้อย่างสัมฤทธิผล มิเช่นนั้นองค์กรจะพบกับความล้มเหลวในการนำระบบมาใช้งาน

เส้นทางการพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะ ขององค์กร (BI Roadmaps)

การจัดทำ BI Roadmaps เป็นแนวทางที่ดีที่สุดของการเริ่มต้น สำหรับองค์กรที่จะนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน โดยจัด ทำขึ้นจากมุมมองของธุรกิจ (Business perspective) เพื่อให้ มั่นใจว่าระบบจะสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้ อย่างแท้จริง ดังนั้น การระบุความต้องการทางธุรกิจ จึงเป็น สิ่งแรกที่ต้องกระทำ จากนั้นจึงดูว่าเทคโนโลยีของระบบธุรกิจ อัจฉริยะ (BI technology) ใด ที่จะเป็นเครื่องมือสนับสนุน ความต้องการทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจภาพรวมว่าเทคโนโลยีของ ระบบธุรกิจอัจฉริยะมีความเหมาะสมกับธุรกิจขององค์กรหรือไม่ ก็คือการทำ BI Technical diagram ซึ่งไดอะแกรมนี้ จะช่วยให้ การกำหนดกลยุทธ์และขั้นตอนในการติดตั้งระบบธุรกิจอัจฉริยะ ตามแผนที่วางไว้ สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการวางแผนในการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน จะใช้กระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ผู้จัดการและ พนักงานที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งองค์กร โดยมีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น การเก็บรวบรวมความคิดเห็น การร่วมกันประเมินและ วางแผนว่า องค์กรเหมาะสมที่นำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน มากน้อยเพียงใด รวมถึงร่วมกันค้นหาโอกาสและแนวทางที่ จะทำให้การนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานนั้น ประสบความ สำเร็จสูงสุด ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

  1. การระดมสมองถึงแนวทางที่จะนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานในธุรกิจ เพื่อทบทวนและค้นหาโอกาสในการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร เป้าหมายของการระดมสมองก็คือ การระบุความต้องการทางธุรกิจและสรุปว่าข้อมูลใดคือข้อมูลและมิติที่สำคัญสำหรับองค์กร กระบวนการระดมสมองมีขั้นตอน ดังนี้

    • กำหนดกลุ่มบุคคลที่จะทำการระดมความคิดเห็น ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป (Business users) นักวิเคราะห์ (Analysts) และผู้จัดการ (Managers) จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระบวนงานต่างๆ จะต้องสามารถให้รายละเอียดของกระบวนงานและแหล่งข้อมูลที่นำเข้าของกระบวนงานนั้น รวมทั้งการเชิญผู้แทนจากส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนงานนั้นๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น นักวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial analyst) ซึ่งจะมีความเข้าใจในระบบบัญชี และต้นทุนต่างๆ เป็นอย่างดี ในขั้นตอนนี้ การกำหนดโอกาสในการสร้างธุรกิจอัจฉริยะ จะมุ่งไปที่มุมมองทางธุรกิจเพียงอย่างเดียวก่อน ยังไม่จำเป็นต้องมองในมุมมองของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สามารถให้ความเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีส่วนช่วยให้ความต้องการทางธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นอย่างไร

    การรวบรวมความเห็นจากการระดมสมอง ผู้จัดระดมสมองจะต้องทำให้ผู้ที่เข้าร่วมมีความเข้าใจตรงกันในการระดมสมอง การนำเสนอความคิดเห็นให้ตรงประเด็น ภายในเวลาที่กำหนด โดยมีกระดาน หรือกระดาษ หรือโปรเจ็กเตอร์ที่นำเสนอความเห็นของผู้เข้าร่วมแต่ละคน เพื่อนำไปสู่การหาข้อสรุปร่วมกันของการระดมสมอง การระบุถึงสารสนเทศสำคัญที่องค์กรต้องใช้งาน โดยจัดทำเป็นเอกสาร
  2. การกำหนดคำถามเพื่อนำไปสู่การระบุรายละเอียดและสารสนเทศที่ต้องการทางธุรกิจ โดยสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องในสายงานนั้นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้างาน นักวิเคราะห์ พนักงานระดับปฏิบัติ ซึ่งคำถามส่วนใหญ่จะเป็นประเภท “อะไร (What)” และ “ทำไม (Why)” ข้อมูลที่ได้จากคำถามเหล่านี้ จะช่วยให้สามารถระบุสารสนเทศที่ธุรกิจต้องการและได้มุมมองของสารสนเทศและมิติการนำเสนอที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจมากที่สุด
  3. การจัดทำแผนในการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งานในธุรกิจ (BI Blueprint) ซึ่งเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อสรุปความต้องการสารสนเทศที่ได้จากการระดมสมอง แผนนี้จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูล สารสนเทศและมิติของข้อมูล สารสนเทศที่สำคัญสำหรับธุรกิจ รวมถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของระบบธุรกิจอัจฉริยะที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร ซึ่งแผนดังกล่าวจะใช้ในการจัดหาระบบธุรกิจอัจฉริยะที่เหมาะสมมาใช้งานในธุรกิจต่อไป

การแปลงวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจอัจฉริยะไปสู่การปฏิบัติ

หลังจากที่ธุรกิจได้กำหนดวิสัยทัศน์และจัดทำแผนการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน (BI Blueprint) เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การแปลงวิสัยทัศน์และแผนด้านธุรกิจอัจฉริยะเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติ เพื่อช่วยให้มีข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และมีความสอดคล้องกับระบบปัจจุบันมากที่สุด โดยอาจใช้การประยุกต์จากตัวอย่างของธุรกิจ หรือองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้งาน (BI best practices) แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจะต้องพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะในธุรกิจของตนเองด้วย เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ กระบวนงาน และ ระบบข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอที่จะใช้เป็นส่วนในการวิเคราะห์ตัดสินใจได้

การนำ BI best practice มาใช้กับองค์กรหนึ่งๆ อาจจะได้ผลที่ไม่เหมือนกัน ระบบที่ประสบความสำเร็จในองค์กรหนึ่ง อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในอีกองค์กร ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่พิจารณา ดังนี้

  1. การเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ระบบธุรกิจอัจฉริยะ โดยจะต้องคำนึงความต้องการของผู้ใช้งานทุกระดับเป็นสำคัญ การมีเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัยทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการความต้องการเหล่านั้น รวมทั้ง การมีเครื่องมือในการจัดการและเฝ้าติดตาม (Monitor) กระบวนการทำงานของระบบคลังข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ หรือปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที เช่น กรณีการนำเข้าข้อมูลล้มเหลว ระยะเวลาตอบสนองในการเรียกดูข้อมูลนานเกินไป
  2. การกำหนดว่าข้อมูลใดขององค์กรในระบบที่จำเป็นต้องใช้งานแบบเรียลไทม์ แม้ว่าข้อมูลแบบเรียลไทม์จะทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ณ เวลานั้นๆ แต่การพัฒนาระบบให้รองรับข้อมูลแบบเรียลไทม์ ก็มีต้นทุนสูง และยากต่อการจัดการ ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายอย่างน้อย 2 เครื่อง เพื่อรองรับการนำเข้าข้อมูล รวมทั้งจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมหรือเฝ้าสังเกตการณ์ทำงาน (monitor) ตลอดเวลา ดังนั้น องค์กรจะต้องกำหนดว่าข้อมูลใดที่จำเป็นต้องใช้งานแบบเรียลไทม์จริงๆ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่สูงเกินความจำเป็น
  3. การสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจ บุคลากรในองค์กรซึ่งจะเป็นผู้ใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะ ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ชัดว่า ระบบธุรกิจอัจฉริยะที่จะนำมาใช้งานพวกเขาจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปเช่นไร ระบบจะช่วยให้ประสิทธิการทำงานของเขาดีขึ้นอย่างไร เช่น การลดระยะเวลาทำงาน การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) รวมถึงข้อจำกัดของระบบธุรกิจอัจฉริยะ เพราะผู้ใช้มักจะคิดว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะจะทำให้ทุกปัญหาในระบบงานเดิมของเขาหมดไปได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง
  4. การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการตัดสินใจกับกระบวนงานในธุรกิจ จะต้องออกแบบระบบธุรกิจอัจฉริยะให้สามารถรองรับการการตัดสินใจในแต่ละกระบวนงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาว่ากระบวนงานใดที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในการตัดสินใจ กระบวนงานใดไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งหากเป็นกระบวนงานที่ใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะต้องคำนึงถึง
    • เวลาที่ใช้ในการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
    • เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่
    • เวลาที่ใช้ในการส่งสารสนเทศที่วิเคราะห์แล้วกลับมายังผู้ใช้
  5. การจัดคนที่มีความเหมาะสมเข้ามาดำเนินงาน ในการการออกแบบและจัดการกับคลังข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการทำระบบธุรกิจอัจฉริยะนั้น จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย โดยมีทั้งคนที่เข้าใจการดำเนินงานของธุรกิจนั้นๆอย่างถ่องแท้ (Domain Expert) ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และที่สำคัญบุคคลเหล่านี้ จะต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้ในทุกระดับเพื่อทราบถึงความต้องการของผู้ใช้ที่แท้จริง
  6. การนำเข้าข้อมูลต้องเป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยเฉพาะการนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มายังคลังข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน และควรจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติที่มากสุด โดยจะใช้การทำงานโดยพนักงานก็ต่อเมื่อมีการแจ้งเตือนจากระบบตรวจสอบสถานะว่ามีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น
  7. การจัดการต่อการจัดเก็บข้อมูล ในกรณีที่ระบบมีการใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์จำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จะต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสม เพราะการเก็บข้อมูลมหาศาลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและจะมีผลกระทบต่อทรัพยากร ในการเข้าถึงข้อมูลพร้อมๆ กัน ในช่วงระยะเวลายาวๆ ได้ อาจใช้ การควบคุมโดยใช้คำสั่ง SQL query กำหนดขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดการแก้ไขข้อมูลต่างๆ อย่างระมัดระวัง

http://www.microsoft.com/business/smb/th-th/articles/fy09q4_may/businessintelligence.mspx



00286 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-08-02 11:43:47 v : 8218



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา