“ลับคม” ภาวะผู้นำ


 
“ลับคม” ภาวะผู้นำ
จากนิตยสาร Business.Com เดือนมิถุนายน 2552


ในวงสนทนาของนักธุรกิจ หลายครั้งหลายครา มักจะวนเวียนในเรื่องกลยุทธ์ในการพัฒนา หรือ “ลับคม” ภาวะผู้นำ อันเป็นศิลปะขั้นสูงสำหรับการครองใจลูกน้อง ผูกใจเจ้านาย (ผู้ถือหุ้น) ให้อยู่หมัด แต่กระบวนการลงมือปฏิบัติในหลายครั้ง ดูช่างยากเย็นเหลือเกิน แล้วผู้นำ (ตัวจริง) จะเริ่มจากจุดใด

การศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำจากตำราวิชาการ หรือ การอ่านหนังสือที่เขียนโดยผู้นำองค์กรชั้นยอด อาทิ Jack Welch (อดีต CEO แห่ง General Electric) หรือ Sir Richard Branson (เจ้าพ่อแห่ง Virgin Group) ก็ไม่เท่ากับตัวเราสามารถตกผลึกความคิดในเชิงภาวะผู้นำ และเข้าใจอัตลักษณ์ของตัวเอง รวมทั้งสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเด่นชัด

หากเราพยายามลอกเลียนแบบคุณลักษณะอย่างเรียกได้ว่า “ถอดพิมพ์” มาเลยนั้น คงเป็นไปได้ยาก และคงไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด แม้ว่าคุณลักษณะบางอย่างเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจ แต่พอดีไม่เหมาะกับตัวผู้บริหารนั้นๆ เพราะบุคลิกตนเองไม่ให้ ทำไปก็ฝืนความรู้สึกตัวเองเปล่าๆ

บางคนเก่งลอกเลียนแบบได้ (แต่แบบเป็นนักแสดงในบางฉากเท่านั้น) ถ้าทำได้ ก็โอเค แต่ก็จะกลายเป็นผู้นำแบบ “ตัวปลอม” เพราะเราพยายามที่จะเป็นผู้นำองค์กรภายใต้ร่มเงาของกูรูหรือผู้นำที่ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจ

แต่ลืมไปว่าตัวเอง “คือใคร” ฉะนั้นเราคงต้องมาหาวิธีในการ “ลับคม” ภาวะผู้นำแบบฉบับของตนเอง รับรองว่าจะทำให้เรา “มั่นใจ” ที่จะพัฒนาและที่จะเล่าให้คนอื่นฟัง (ลูกน้อง เจ้านายและเพื่อนร่วมงาน) อย่างภาคภูมิใจว่า ผู้นำแบบฉบับอย่างนี้ พัฒนามาได้อย่างไร

ผู้บริหารระดับสูงบางคนลงทุนจ้าง Executive Coach ที่มีค่าตัวสูงมาก มาเป็นกระจกสะท้อนเชิงจิตวิทยาของ
อัตลักษณ์แห่งภาวะผู้นำในตัวผู้บริหารนั้นๆ ซึ่งก็ได้ผลไม่น้อยทีเดียว

หนึ่งในวิธีการพัฒนาผู้นำ ก็คือ “Learning by Leading” สำหรับผู้นำองค์กรมือใหม่ เป็นช่วงที่ท่านต้องเก็บเกี่ยวหาความรู้และประสบการณ์จากทุกสารทิศ (ทั้งผู้บริหารระดับสูงในและนอกองค์กร) และค่อยๆ ลองหาจุดสมดุลในการใช้อำนาจ (Power) อย่างระมัดระวัง โดยควรมุ่งเน้นในการใช้อำนาจที่มาจากส่วนบุคคล (Personal Power) อันได้แก่ อำนาจจากความรู้ความเชี่ยวชาญส่วนตัว (Expert Power)

และให้แรงกว่านั้น ก็ต้องเป็นอำนาจที่ได้จากแรงศรัทธาของผู้อื่น (Charismatic Power) เป็นเสน่ห์ส่วนบุคคล ลอกเลียนแบบกันยากมาก

การพัฒนาภาวะผู้นำแบบนี้ แม้ใช้เวลาลองผิดลองถูกซึ่งอาจใช้เวลาค่อนข้างนาน กว่าจะเก่งทั้งบุ๋นและบู๊ เจนสนามรบทางธุรกิจ และ “เก๋าเกม” ในการบริหารลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ศรัทธา”

ผู้นำองค์กรอาจพยายามที่จะหาตัวช่วยที่จะทำให้ตนเองไม่ต้องลองผิดลองถูกทั้งหมด หาทางลัด โดยอาจจะอัพเดตความรู้ว่ารูปแบบภาวะผู้นำในองค์กรยุคนี้มีทิศทางไปทางใด จะบริหารองค์กรให้เจ๋ง ไม่เจ๊ง ต้องทำอย่างไร มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำองค์กรอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่าย (Networking) ไปในตัว ซึ่งอาจมีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในอนาคตก็เป็นได้

อีกวิธีการหนึ่ง ก็คือ การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงระยะสั้น (เพราะไม่ค่อยมีเวลา) ซึ่งมีหลากหลายพอสมควรในประเทศไทย แต่ถ้าเป็นโครงการฯ ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก นับแล้วคงมีไม่กี่แห่ง และส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงเพราะเปิดมานานแล้ว

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำในฟากฝั่งยุโรปก็เริ่มเปิดตัวมากขึ้น แม้จะไม่เก่าแก่เท่าฝั่งอเมริกาแต่ด้วยชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยนั้นก็คงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อย่างเช่น ล่าสุด สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Judge Business School-JBS, University of Cambridge) ประเทศอังกฤษ ริเริ่มหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูงที่เน้นการบูรณาการของภาวะผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (www.hri.tu.ac.th/leadership) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาค Southeast Asia ที่ JBS จับมืออย่างเป็นทางการกับสถาบันการศึกษา

โครงการฯ นี้ค่อนข้างฉีกไปจากที่อื่นๆ เพราะเจาะเน้นที่ “หัวใจ” ของการสร้างองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High-Performing Organization-HPO) ซึ่งผู้นำองค์กรต้องสามารถผูก “คน” ให้เข้ากับ “กลยุทธ์” แบบธรรมชาติให้มากที่สุด

เพื่อมิให้พนักงานรู้สึกเหมือนว่า “ถูกบีบบังคับ” ให้สร้างผลงานให้เด่น ทำยอดให้ทะลุ บรรลุ KPI ที่หน่วยงานกำหนดไว้

ทั้งนี้ แนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR Practice) ต่างๆ ตั้งแต่การรับคน พัฒนาคน และรักษาคน ล้วนเป็นศิลปะชั้นยอดที่ผู้นำควรที่จะ “ลับคม” ให้ “คม” อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเติมไฟด้วยการเข้าร่วมอบรมโครงการหลักสูตรสั้นๆ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระตุกต่อมคิด อัพเดตเรื่องราวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ที่อาจคาดไม่ถึง) กับนักวิชาการและเพื่อนร่วมเรียน ซึ่งทำให้ผู้นำองค์กรสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรตนเองได้เป็นอย่างดี

 

ที่มา http://www.microsoft.com/business/smb/th-th/articles/fy09q4_june/hr-leadership.mspx



00285 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-08-02 11:25:18 v : 3559



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา