ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง


ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง

 

ชุดฝึกอบรม (Training Package) ได้เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 มีการดำเนินการพัฒนาจากบทเรียนแบบโมดูล และมีการพัฒนาเป็นลำดับเรื่อยมาจนเป็น

ชุดฝึกอบรมเมื่อกลางปี ค.ศ. 1970 ซึ่ง เร็กซ์ เมเยอร์ (Rex Meyer) ณ ศูนย์พัฒนาการสอน

แห่งมหาวิทยาลัยแมคควอรี่ เป็นผู้นำในการทดลองใช้ชุดการสอนมีลักษณะและรูปแบบต่างๆ

จนได้รูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และได้นำไปใช้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายในภูมิภาคแถบเอเซียและแปซิฟิค (เปรมวดี คฤหเดช.  2540 : 52 ; อ้างอิงจาก สุดารัตน์  ชาญเลขา. 2535)            และศูนย์พัฒนาการสอนแห่งมหาวิทยาลัยแมคควอรี่ (เปรมวดี  คฤหเดช. 2540 : 52-53 ; citing Center For advancement of teaching : C.A.T.; Macquarie University. 1980) ได้ให้

ความหมายของ ชุดฝึกอบรม หมายถึง โครงการเรียนที่มีเนื้อหาจบในตัวเอง สามารถใช้ได้ทั้งกับกลุ่มหรือรายบุคคล โดยทั่วไปการเรียนรู้โดยชุดฝึกอบรมมีกลวิธีหลายแบบ แต่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ชัดเจน สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในระยะสั้นได้ และ แอลเลนและแวเลท์ (Allen & Valette.  1977) ได้กล่าวว่า ชุดฝึกอบรม สามารถใช้ในการฝึกอบรมโดยใช้เวลาตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนถึงสามเดือนตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเนื้อหาของชุดฝึกอบรมจะกำหนดตามความสนใจของผู้เรียนและสมรรถภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

           นอกจากนี้ บราวน์ (นภาพร  สิงหทัต. 2531: 5 ; citing Brown. 1977: 38) ได้กล่าวว่า ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง มีลักษณะเหมือนชุดการสอนรายบุคคล จัดระบบขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดยใช้สื่อการสอนประเภทสื่อประสม ที่สอดคล้องกับเนื้อหา

บทเรียนตอนหนึ่งๆ เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมเป็นกล่องหรือเป็นชุด บางชุดอาจประกอบด้วยสื่อหลายๆอย่าง บางชุดอาจประกอบด้วยเอกสารเพียงอย่างเดียว บางชุดอาจจะเป็นบัตรคำสั่งหรือเอกสาร เพื่อให้ผู้เรียน           เรียนด้วยตนเองซึ่งชุดการสอนที่จัดเป็นสื่อการเรียนรู้ด้วยเองในลักษณะชุดฝึกอบรมด้วยตนเองนี้ สามารถออกแบบในลักษณะต่างๆ แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จะเป็นชุดฝึกอบรมที่มีลักษณะ             เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่พัฒนาขึ้นโดยจากการอาศัยหลักการสอนแบบบทเรียนโปแกรม เริ่มตั้งแต่

ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เป็นผลเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าด้านการสื่อสาร การบริหาร การพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การยอมรับทฤษฎีเชิงมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

(วิโรจน์ สารรัตนะ. 2532 : 36)

1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง กล่าวคือ

จัดให้มีการเรียนรู้ด้วยการกระทำด้วยตนเอง โดยการตอบคำถาม มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคำถาม เป็นต้น

2.ให้ผู้เรียนได้รับทราบผลการเรียนของตนเองในทันที โดยให้ทราบถึงคำตอบที่ถูกต้อง

ในลักษณะข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และถ้าจัดให้เป็นที่พอใจจะเป็นการเสริมแรงให้ผู้เรียนอยากจะเรียนต่อไป

3.ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงแห่งความสำเร็จเป็นระยะๆ โดยการเสริมแรงดังกล่าวมา

แล้ว โดยจัดอย่างฉับพลันทันที จึงจะเป็นผลดีแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถ้าปล่อยให้ล่าช้าไป จะมีผลทำให้ตัวเสริมแรงจะลดประสิทธิภาพการเสริมแรงลง

4.การจัดลำดับเนื้อหาเป็นขั้นตอนย่อยๆต่อเนื่องกัน คือเริ่มจากเรื่องง่ายๆเหนือสิ่งที่รู้

แล้ว เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจเริ่มแรกก่อน แล้วจึงค่อยเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ

           นอกจากนี้ สุเทพ  หุ่นสวัสดิ์ (2540 : 14-15) ได้สรุปว่า ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง

(Self - learning module) และ โดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1.วัตถุประสงค์การฝึกอบรม เป็นการกำหนดว่า เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่าน

การฝึกอบรมแล้วควรมีพฤติกรรมเช่นใด พฤติกรรมต่างๆดังกล่าวที่แสดงออกจะเป็นผลจาก

การเรียนรู้ โดยกำหนดในลักษณะวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ สามารถวัดได้ และสังเกตได้ เป็นต้น

2. เนื้อหาของการฝึกอบรม เป็นเรื่องราวหรือกิจกรรม ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

3. วิธีการฝึกอบรม เป็นวิธีการที่ใช้ในการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมเกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายวิธีการดังนี้

           3.1 การศึกษาด้วยตนเอง เป็นการฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถศึกษา

ด้วยตนเอง โดยทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ตามที่ระบุไว้ในคู่มือ

           3.2 การบรรยาย เป็นการฝึกอบรมที่ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฟังการบรรยาย

จากวิทยากรที่จัดให้ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม

3.3   ใช้ทั้งสองวิธีการประกอบกัน ซึ่งมีทั้งการบรรยายจากวิทยากรและให้ผู้เข้ารับ

การฝึกอบรมศึกษาเองบางส่วน

5.สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ประกอบด้วย วีดีทัศน์ สไลด์ แผ่นภาพโปร่งใส

คู่มือ แบบฝึกหัด เอกสารที่เกี่ยวข้องและอุปกรณ์ที่อาจมีตามความเหมาะสม

1. การประเมินผลการฝึกอบรม เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมว่า เป็นไป             

ตามวัตถุประสงค์เพียงใด เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งสามารถวัดได้ได้หลายวิธี เช่น

การสังเกต สัมภาษณ์ หรือใช้แบบทดสอบ เป็นต้น

สรุปได้ว่า ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง  เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมอย่างหนึ่ง โดยการใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะการสอนสำเร็จรูป  ซึ่งเป็นการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ ให้อิสระผู้เรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากเครื่องมือหรือหนังสือ ที่เตรียมบทเรียนที่กำหนดให้ และ

มีสื่อต่างๆประกอบบทเรียนด้วย ซึ่งชุดฝึกอบรมด้วยตนเองนี้ เป็นเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับ

การสอน การอบรมความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรมทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ

ในลักษณะการฝึกอบรมประเภทการฝึกนอกงาน (Off-the-Job Training) และโดยทั่วไปมีส่วนประกอบคือ วัตถุประสงค์การฝึกอบรม เนื้อหาของการฝึกอบรม วิธีการฝึกอบรม (การศึกษาด้วยตนเอง) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและการประเมินผลการฝึกอบรม ซึ่งผู้จัดทำได้ใช้

หลักการและแนวคิดมาใช้ในการจัดทำและพัฒนาชุดสื่อนิเทศสำหรับศึกษาด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นกิจกรรมและวิธีการการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในบทบาทและหน้าที่

ครูผู้สอนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 

              หลักการเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนาชุดสื่อนิเทศสำหรับศึกษาด้วยตนเอง

             เนื่องจากชุดสื่อนิเทศศึกษาด้วยตนเองได้ใช้หลักการและแนวคิดการสร้างและพัฒนาจากชุดฝึกอบรม นั้น เป็นรูปแบบการฝึกอบรมที่ใช้พัฒนาความสามารถของบุคคลในรูปแบบการสอนสำเร็จรูป ซึ่งจะต้องสร้างและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอน ดังนั้น จึงต้องใช้แนวคิด ทฤษฎี และหลักการของจิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้

              ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม

           บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะ

ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives (อติญาณ์ ศรเกษตริน.  2543 :72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom.  1976 : 18)

           1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) : เป็นจุดประสงค์ด้านเชาวน์ปัญญา หรือด้านความรู้ ความคิด ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถที่ซับซ้อนจากน้อยไปหามากดังนี้

                1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ

                1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้

                1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้

                1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน

                1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น

                1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้

           2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) : เป็นจุดประสงค์ด้านความรู้สึก ได้แก่ ความสนใจ ค่านิยม คุณค่า ฯลฯ มีขั้นตอนของพฤติกรรมตามลำดับขั้นดังนี้

                2.1 การรับรู้ (Receiving of Attending) เป็นการที่ผู้เรียนได้รับผลประโยชน์จาก

สภาพแวดล้อม เช่น คน สิ่งของ ผลงาน ข้อมูล หรืออะไรก็ตาม แล้วเกตการเรียนรู้และเข้าใจถึงสิ่งนั้นได้ การรับรู้นี้จะมี 3 ขั้น คือ ความตระหนัก ความเต็มใจ ที่จะรับรู้และการควบคุมหรือเลือกให้ความสนใจ

                2.2 การตอบสนอง (Responding) เป็นปฏิกิริยาที่ผู้เรียนมีต่อสิ่งเร้าโดยมีพฤติกรรม

การตอบสนอง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ การยอมรับการตอบสนอง ความเต็มใจที่ตอบสนอง และพอใจในการตอบสนอง

                2.3 การสร้างคุณค่า (Value) เป็นการสร้างคุณค่าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยมีพฤติกรรมดังนี้คือ การยอมรับคุณค่า การนิยมในคุณค่า และการผูกพันในคุณค่า

1.1  การจัดระบบคุณค่า (Organization) เป็นการที่ผู้เรียนจะต้องมีการคิดพิจารณาและ

รวบรวมคุณค่าภายหลังจากที่ผู้เรียนได้สร้างค่านิยมย่อยๆเกี่ยวกับสิ่งเร้าต่างๆแล้ว ซึ่งการจัดคุณค่าเป็นระบบแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ การสร้างมโนภาพเกี่ยวกับคุณค่าเหล่านั้น และการจัดระบบคุณค่าเหล่านั้นให้เป็นระเบียบ

           2.5 การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization) ในขั้นตอนนี้ ความคิด ความรู้สึกและ

ค่านิยมที่เกิดขึ้นมาในระดับก่อนหน้านี้ จะกลายมาเป็นความประพฤติ คุณสมบัติ คุณลักษณะของ

แต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลของการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยที่สูงสุด พฤติกรรมที่แสดงออกในระดับนี้ได้

แก่การมีหลักยึดในการตัดสินใจหรือพิจารณาสิ่งต่างๆและการแสดงลักษณะนิสัย และคุณสมบัติของแต่ละบุคคล

           3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) : เป็นการกระทำที่ใช้ความสามารถที่แสดงออกทางกาย ซึ่งแบ่งระดับพฤติกรรมทางด้านการปฏิบัติตามระดับความซับซ้อนของการกระทำ 5 ระดับ คือ

           3.1 การรับรู้ (Perception) เป็นการรับรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการเรียนอย่างชัดเจน สอดคล้องสัมพันธ์กับการปฏิบัติการเรียนของเขา

           3.2 ความพร้อมในการปฏิบัติ (Set) เป็นความพร้อมในการกระทำหรือประสบการณ์เฉพาะทั้งด้านร่างกาย ความคิด และอารมณ์

           3.3 การตอบสนองตามคำแนะนำ (Guided Response) ผู้เรียนจะตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมการยอมรับออกมาภายหลังได้รับคำแนะนำ

           3.4 การปฏิบัติได้ (Mechanism) ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้เอง

  3.5 การตอบสนองต่อสิ่งที่ซับซ้อน (Complex Overt Response) ผู้เรียนสามารถ

กระทำหรือปฏิบัติในสิ่งที่ซับซ้อนได้โดยปราศจากความลังเลสับสน

           สรุปได้ว่า ตามแนวคิดของบลูมนั้น ความสามารถของบุคคลเกิดจากการเรียนรู้ ประกอบด้วยพฤติกรรมที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ



00259 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-07-14 10:42:51 v : 4877



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา