ดนตรีกับสุขภาพ


นตรีกับสุขภาพ

        โ้ตเพลงแรกที่มนุษย์ร้องได้แว่วหายไปในอากาศเป็นเวลานานเสียจนเราไม่มีวันจะรู้ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักร้องเพลงตั้งแต่เมื่อใด ถึงกระนั้นนักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาก็รู้ดีว่า มนุษย์รู้จักร้องเพลงก่อนที่จะรู้จักเขียนหนังสือ เพราะได้พบหลักฐานว่าชาว Sumerian รู้จักร้องรำทำเพลงตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลประมาณ 3,600 ปี และเมื่อมีการเต้นรำบูชาเทพเจ้า นั่นหมายความว่า ชนเผ่านี้มีความสามารถในการทำอุปกรณ์ดนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนตัวอักษรที่ชาว Sumerian รู้จักประดิษฐ์ขึ้นใช้นั้น ได้เพิ่งอุบัติเมื่อประมาณ 5,000 ปีมานี้เอง

ทฤษฎีมานุษยวิทยาปัจจุบันเชื่อว่า เสียงดนตรีเสียงแรกคงเป็นเสียงตะโกนที่มนุษย์ใช้ในการส่งสัญญาณเวลามีภัย และมนุษย์ได้ พบว่าเวลาที่เขาเปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลงแล้วเปล่งเสียงไปกระทบผนังถ้ำหรือหน้าผา ความกึกก้องของเสียงสะท้อน คงทำให้เขาตกตะลึงด้วยความตื่นเต้น และเมื่อเขาตะโกนซ้ำๆ โดยให้เสียงมีความถี่และความดังต่างๆ กัน เขาก็ได้พบว่าเสียง สะท้อนมีความชัดและจังหวะที่หลากหลาย จากนั้นมนุษย์คงได้เริ่มรู้จักจังหวะดนตรี โดยวิธีปรบมือ กระทืบเท้า ใช้มือตีขอนไม้ เป็นจังหวะ ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า ขอนไม้เป็นอุปกรณ์ดนตรีชิ้นแรกที่มนุษย์รู้จักใช้ในการให้จังหวะ

หรือเมื่อถึงเวลาล่าสัตว์ นายพรานยุคดึกดำบรรพ์บางคนที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลอาจใช้วิธีเป่าเปลือกหอยขนาดใหญ่ เพื่อบอกตำแหน่ง ของตนและเหยื่อ เพราะเขาได้พบว่าเสียงเป่าหอยสามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าเสียงตะโกน ดังนั้นคนเหล่านี้อาจใช้จังหวะการเป่า เป็นสัญญาณสื่อสารถึงกันได้เช่น ส่งเสียงดังสองครั้งแสดงว่าเหยื่ออยู่ทางซ้าย หรือสัญญาณเสียงสามครั้งแสดงว่าเหยื่ออยู่ทางขวา เป็นต้น

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่า มนุษย์สร้างดนตรีขึ้นมาอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่น ใช้ในการล่าสัตว์หรือในพิธีเทวบูชา หรือเพื่อ ความสำราญ

เมื่อความสามารถในการสร้างสรรค์ของมนุษย์มีมากขึ้น มนุษย์ได้พบว่าก้อนหินในถ้ำเวลานำมากระแทกกัน สามารถให้เสียงที่ทำให้ ตนรู้สึกสุขได้หรือเวลาเอาหนังสัตว์ที่แห้งมาขึงให้ตึง แล้วใช้ไม้ตีเขาจะได้ยินเสียงสูงๆ ต่ำๆ และถ้าเขานำหนังสัตว์ไปขึงปิดปากภาชนะ แล้วตีด้วยไม้หรือมือ ภาชนะดังกล่าวจะทำให้เขาได้ยินเสียงดังกังวาน นี่คือเทคโนโลยีการทำกลองรุ่นแรกๆ

ส่วนคนที่ชอบยิงธนูก็ได้พบว่า สำหรับคันธนูที่มีเชือกขึงเวลาเขาดีดเชือกจะมีเสียงเกิดขึ้น และถ้าเขาเปลี่ยนตำแหน่งของเชือกแล้ว ดีดใหม่เสียงที่ได้ยินจะดังไม่เหมือนเดิม

นี่คืออุปกรณ์ที่เราทุกวันนี้รู้จักกันในนามว่า พิณ ซึ่งนักโบราณคดีก็ได้เห็นภาพของพิณโบราณปรากฏบนผนังกำแพงเมือง Ur ของชาว Sumerian ที่มีอายุประมาณ 4,600 ปี และที่ผนังหลุมฝังศพของฟาโรห์ Nebamun ที่เมือง Thebes ในอียิปต์ก็มีภาพ แสดงนักดนตรีกำลังเล่นอุปกรณ์ดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า lute (พิณที่มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า) เมื่อ 3,400 ปีก่อนนี้ คัมภีร์ไบเบิล มีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า psaltery ซึ่งทำด้วยกล่องไม้ที่มีเชือกพาดเหนือกล่อง และสามารถให้เสียงได้ เวลาคนเล่นดีดเชือก

ส่วนอุปกรณ์ดนตรีประเภทขลุ่ยนั้น คงเกิดจากการที่มนุษย์โบราณได้พบว่า เวลาเขาบริโภคไขกระดูกที่มีในกระดูกสัตว์แล้ว กระดูก กลวงที่ถูกเจาะเป็นรูเวลาเป่าจะให้เสียงได้เช่นกัน

เมื่อมนุษย์รู้จักทำอุปกรณ์ดนตรีเหล่านี้และพบว่ามันสามารถให้เสียงได้ต่างๆ นานา คงมีความรู้สึกว่าอุปกรณ์ดนตรีเป็นอุปกรณ์ลึกลับ ที่คนพิเศษเท่านั้นจะสามารถเล่นมันได้ และนี่ก็คือที่มาของบรรดาพ่อมดแม่มดทั้งหลายที่อ้างความศักดิ์สิทธิ์ของตัวเอง โดยการร้องเพลง เต้นระบำและตีเป่าอุปกรณ์ดนตรีในเวลาเดียวกัน

ในเวลาต่อมา ความก้าวหน้าทางอารยธรรมของมนุษย์ ได้ผลักดันให้กระบวนการทำอุปกรณ์ดนตรีเพื่อการละเล่น เปลี่ยนสภาพจาก งานอดิเรกที่คนทำอุปกรณ์ไม่จริงจังหรือตั้งใจอะไร มาเป็นงานอาชีพชนิดหนึ่งที่มีความเป็นศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ในเวลาต่อมาก็ได้พบว่า อุปกรณ์ที่มีรูปร่างและความสามารถในการทำเสียงต่างๆ กันนี้ เวลาถูกนำมาเล่นพร้อมกัน จะทำให้คนฟัง ได้ยินเสียงดนตรีที่มีความไพเราะ นุ่มนวล แต่การที่จะได้ยินเพลงที่ไพเราะจับใจเช่นนั้นวงดนตรีนั้นต้องมีคนควบคุม และนี่ก็คือ ที่มาของผู้อำนวยเพลง

เมื่อการสร้างอุปกรณ์ดนตรีและเทคนิคการเล่นดนตรีได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น มนุษย์ก็รู้สึกคุ้นเคยกับเสียงดนตรีมากขึ้น ดังนั้น ตามสถานที่ต่างๆ ก็มีการเล่นดนตรีมากขึ้น เช่น ในขบวนสวนสนามก็มีการใช้ดนตรีประกอบ ในพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ ก็มีการเล่นดนตรี หรือเวลากองทหารเข้าประจัญบานก็มีเสียงดนตรีนำและแม้กระทั่งคนขายของก็นิยมใช้เสียงดนตรีในการโฆษณา เพราะได้พบว่า เสียงดนตรีที่ดีและดังจะทำให้ลูกค้าสนใจและธุรกิจรุ่งเรือง และในพิธีกรรมทางศาสนาบางศาสนาก็มีการร้องเพลง แต่สำหรับ ศาสนาบางศาสนาการร้องเพลงในศาสนสถานคือกิจกรรมต้องห้ามเพราะถือว่าเป็นการลบหลู่สถานศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น

ความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันต่อดนตรีมีหลายประเด็น เช่น

เมื่อประมาณ 4 ปีก่อนนี้ G. Shaw และ F. Rauscher แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ Irvine ได้เสนอรายงานวิจัยที่แสดงให้ เห็นว่า ดนตรีสามารถทำให้คนมีความสามารถในการวิเคราะห์หาความเป็นเหตุเป็นผลได้ดีขึ้น โดยเขาทั้งสองได้พับกระดาษซ้อนกัน หลายชั้นแล้วตัดมุมของกระดาษที่พับนั้นออก จากนั้นเขาได้ให้นิสิตมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม บอกให้ได้ว่าแผ่นกระดาษที่ถูกตัดมุมออกไปนั้น เมื่อนำมากางออกจะมีรูปร่างอะไร


 


เขาได้พบว่าเมื่อเขาให้นิสิตกลุ่มแรกฟังเพลงของคีตกวี Mozart นาน 10 นาทีก่อนลงมือตัดกระดาษและ ให้นิสิตกลุ่มที่สองฟังเพลงทั่วไปแต่เพียงเล็กน้อย ส่วนนิสิตกลุ่มที่สามเขาไม่ได้ให้ฟังเพลงใดๆ เลย เขาได้พบว่านิสิตกลุ่มที่ได้ฟังเพลงของ Mozart สามารถทำนายภาพของรูในกระดาษได้ดีที่สุด เขาจึงสรุปผลการทดลองว่า การฟังดนตรีสามารถ ช่วยให้คนฟังมีเหตุผลและมีจินตนาการในการผูกโยง ความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้ดี ซึ่งความ สามารถเช่นนี้เป็นความสามารถที่นักหมากรุก นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องมี

และมี Shaw ได้ทดลองให้เด็ก 78 คนที่มีอายุ 3-4 ปี นำ jigsaw 4 ชิ้นมาเรียงต่อกันให้เป็นรูปอูฐ เขาได้พบว่า เด็กที่ได้รับการ ฝึกฝนด้านเปียโนนาน 10 นาที สามารถติดต่อ jigsaw ได้ถูกและรวดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้ยินได้ฟังเพลงอะไรถึง 34%

ทฤษฎีปรากฏการณ์ Mozart ที่ว่าดนตรีและความสามารถทางคณิตศาสตร์นี้ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากในวงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จิตวิทยา และดนตรี

ล่าสุด K. Steel แห่งมหาวิทยาลัย Appalachian State ที่เมือง Boone ในรัฐ North Carolina ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่สนใจ เรื่องนี้ได้รายงานผลการวิจัยของเขาในวารสาร Psychological Science ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2542 ว่าดนตรีไม่สามารถ ทำให้คนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด หรือพูดอีกนัยหนึ่งปรากฏการณ์ Mozart ไม่มี

ในวารสาร Science ฉบับที่ 291 ประจำวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 D. Drayna National Institute on Deafness and Other Communication Disorders ได้รายงานว่า ถึงแม้คนบางคนจะมีความสามารถสูงในการได้ยิน แต่ถ้าเสียงโน้ต ดนตรีที่เขาได้ยินนั้น ถูกเปลี่ยนไปตัวสองตัว ทั้งๆ ที่เพลงนั้นเป็นเพลงที่เขาคุ้นเคย เขาก็อาจบอกไม่ได้ว่าเพลงที่เขาได้ยินนั้นได้ถูก ดัดแปลงไปบ้างแล้ว เขาจึงสรุปว่าความเข้าใจการรับรู้ระดับเสียงดนตรีในคน คงจะทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าสมองของคนทำงาน อย่างไร

แต่ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่ได้จากการรายงานนี้ก็คือ การใช้ความสามารถในการบอกความผิดปกติของเสียงคนตรีที่คุ้นๆ นี้ Drayna คิดว่า มีสาเหตุจากพันธุกรรมในคนๆ นั้น ครับ

 


ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 ที่มา http://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/music_life.html



00228 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-27 16:02:05 v : 2717



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา