อัจฉริยะ : พันธุกรรมและ/หรือสภาพแวดล้อม


อัจฉริยปัจจัย  : พันธุกรรมและ/หรือสภาพแวดล้อม

เราใช้ตัววัดอะไรในการบอกความสามารถระดับอัจฉริยะของคน คะแนนสอบ  คะแนน  IQ หรือปริญญา  นักจิตวิทยาได้รู้มานานแล้วว่า  คะแนนหรือกระดาษใบดังกล่าวไม่สามารถชี้บอกความสามารถระดับอัจฉริยะได้  เพราะการสอบส่วนใหญ่เป็นการทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้วยกระดาษและปากกา ในช่วงเวลาสั้นๆ ในเมื่อความเป็นอัจฉริยะของคนมีหลายรูปแบบ เช่น ความสามารถด้านดนตรี วาดรูป ด้านการประพันธ์หรือประดิษฐ์และผลงานประเภทนี้ต้องใช้เวลาในการสร้างสรรค์นาน ดังนั้นข้อสอบทั่วไปจะไม่สามารถวัดความสามารถระดับอัจฉริยะของคนที่มีพรสวรรค์ด้านนี้ได้เลย

 

           

นักจิตวิทยาจึงได้พยายามตอบคำถามว่า  อัจฉริยปัจจัยมีอะไรบ้าง  การที่ใครจะเป็นอัจฉริยะได้ต้องมีพรสวรรค์หรือพรแสวงกันแน่  หรือทั้งสองอย่าง

 

          Thomas  Edison  นักประดิษฐ์เอกของโลก  ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เครื่องฉายภาพยนต์ ฯลฯ ได้เคยกล่าวว่า  ใครก็ตามสามารถเป็นอัจฉริยะได้หากคนคนนั้นมีความพยายาม 99% และพรสวรรค์ 1%  ตัวเลข 99%  นักจิตวิทยาปัจจุบันไม่เห็นด้วย  เพราะคิดว่าปัจจัยด้านพันธุกรรม สรีระ และการฝึกฝนอย่างจริงจังก็มีบทบาทไม่น้อย  ในการที่จะทำให้คนคนหนึ่งประสบความสำเร็จสูงสุด  นอกจากนี้นักจิตวิทยาแทบทุกคนก็ยังมีความเห็นว่า  คนที่จะเป็นอัจฉริยะได้จะต้องมียีน (gene) อัจฉริยะในตัว และถ้าไม่มียีนนี้  ถึงจะพยายามสักเพียงใดเขาก็ไม่มีวันจะไปถึงดวงดาว

 

          ซึ่งเราทุกคนก็คงเห็นด้วยว่า  ความพยายามแต่เพียงอย่างเดียวถึงให้บวกแรงจูงใจแล้วเสริมด้วยแรงผลักดันสักปานใด  เราก็ไม่มีวันที่จะแต่งซิมโฟนีได้ไพเราะและลึกซึ้งเหมือน Beethoven  เราก็ไม่มีความสามารถจะเตะลูกฟุตบอลได้ดีและน่าอัศจรรย์เหมือน Pele และถึงแม้จะให้นั่งทำงานกับ  Einstein และให้ Einstein  สอนและฝึกนานสักปานใด  เราก็ไม่มีวันจะพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป  และเราก็รู้อีกว่าโลกมีคนนับล้านที่ได้เคยเห็นผลไม้ตกจากต้นก่อน Newton  แต่ก็มี Newton  เท่านั้นที่รู้ว่า  การที่เป็นเช่นนี้เพราะแอปเปิลถูกโลกดึงดูด  ซึ่งการ  "ตรัสรู้" เช่นนี้ไม่ได้มาจากการฝึกฝนแต่อย่างใด

 

          แต่การที่จะสรุปฟันธงลงไปว่ายีนอัจฉริยะต้องมีอยู่ในคนคนนั้น  เขาจึงจะเป็นอัจฉริยะได้  และคิดว่าสภาพแวดล้อมไม่มีบทบาทเลยนั้นก็ไม่ถูก  เพราะนั่นก็เหมือนกับการสรุปว่า คนดำเท่านั้นที่สามารถวิ่งได้เร็ว  หรือคนขาวเท่านั้นที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้  เพราะ Roger  Bannister  ผู้พิชิตระยะทาง 1 ไมล์ได้ภายในเวลาน้อยกว่า  4 นาทีเป็นคนขาวหาใช่คนดำ  และ Hideki Yukawa นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นคนญี่ปุ่นที่ไม่ใช่คนขาว เป็นต้น

 

          Anders  Ericsson  นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย  Florida  State ในสหรัฐอเมริกา  เป็นนักวิชาการผู้หนึ่งที่สนใจใฝ่รู้ในเรื่องนี้  เขากลับเชื่อว่าใครก็ตามสามารถจะแสดงความเป็นอัจฉริยะได้  หากได้รับการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นเวลานานอย่างน้อย  10 ปี  โดย Ericsson   ได้อ้างว่า Mozart ก็ไม่สามารถจะเป็น Mozart  ที่โลกยอมรับได้  หากไม่ได้รับการฝึกฝนหนักตั้งแต่เด็ก

 

          แต่โลกก็มีตำนานมากมายที่กล่าวถึง   บุคคลระดับอัจฉริยะ  เช่น  Gauss ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกว่า  สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ประเภทบวกลบได้ด้วยตนเองก่อนเข้าโรงเรียน หรือ Mozart เองก็สามารถจะเล่นดนตรีได้ก่อนที่จะมีครูสอน เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างทั้งสองนี้ขัดแย้งกับทฤษฎีของ Ericsson  แต่ Ericsson   ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า  ตัวอย่างที่ยกมากล่าวถึงนี้เป็นตำนาน  ที่อาจปราศจากมูลความจริง ดังนั้น  Ericsson จึงมีความเห็นว่า ในการที่จะศึกษาค้นหาอัจฉริยปัจจัย  เราควรสนใจศึกษาจากบุคคลปัจจุบันที่กำลังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้มากกว่า

 

          Ericsson ไม่เชื่อเรื่องพรสวรรค์  แต่เขาเชื่อว่า อัจฉริยชนเป็นบุคคลพิเศษที่สามารถใช้สมองส่วนที่ทำหน้าที่บันทึกความจำระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง  ซึ่งความทรงจำชนิดนี้เป็นปัจจัยที่จำเป็นมากในการทำงานระดับสูง

 

          เมื่อเร็วๆ นี้ N.Tzourio - Mazoyer แห่งมหาวิทยาลัย Caen ในฝรั่งเศสได้วัดคลื่นสมองของเด็กอัจฉริยะที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ ขณะคำนวณและเขาก็ได้พบว่าเด็กคนที่ชื่อ Rudiger Gamm สามารถคำนวณรากที่ห้าของเลขสิบหลักได้โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที และคำนวณคำตอบของเลขสองหลักที่ยกกำลังเก้าได้โดยใช้เวลาไม่ถึงนาทีเช่นกัน  หรือเมื่อถูกบอกให้หารเลขจำนวนหนึ่งด้วยเลขอีกจำนวนหนึ่ง Gamm ก็สามารถให้คำตอบที่มีเลขทศนิยมถึง 60  ตำแหน่งได้ในทันทีทันใด ซึ่งผลการศึกษาของ Tzourio - Mazoyer  นี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร  Nature Neuroscience ประจำเดือนมกราคม ปี ..2543 จึงถือได้ว่างานวิจัยของ Tzourio - Mazoyer  เป็นความพยายามครั้งแรกของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาสมองของอัจฉริยะขณะทำงาน

 

เทคนิคที่ Tzourio - Mazoyer  ใช้ในการศึกษาเรื่องนี้มีชื่อเรียกว่า  positron emission tomograph หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PET เธอได้พบว่าขณะคำนวณตัวเลข Gamm ใช้พื้นที่ของสมองมากกว่าคนปกติ  ในขณะที่คนปกติใช้สมองประมาณ 12 ส่วน  แต่ Gamm  ใช้สมองมากกว่าคนปกติอีก  5 ส่วน ซึ่งสมอง 5 ส่วนที่เกินนี้เป็นสมองส่วนที่ทำงานด้านการบันทึกความทรงจำระยะยาว

 

ดังนั้น  จึงดูเหมือนว่า  Gamm   ต้องใช้สมองส่วนนี้จึงทำงานได้เร็วและถูก  และนั่นก็หมายความว่ากรณีของ Gamm   คือประจักษ์หลักฐานที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ความคิดของ Ericsson 



00226 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-27 15:18:24 v : 2584



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา