หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา


หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา

 

          ในการปฏิบัติการใด   ก็ตาม เมื่อยังมิได้มีการค้นคว้า ทดลอง วิจัย ที่มีการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเกิดความมั่นใจได้ว่า เมื่อกระทำอย่างนี้ แล้วจะบังเกิดผลเป็นอย่างนั้น ในเบื้องแรก มนุษย์ก็มักจะตั้งข้อสันนิษฐาน (Assumption) เอาไว้ก่อน แล้วจึงไปหาข้อพิสูจน์ (Proof) มายืนยันว่า สิ่งที่ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้นั้น ถูกต้องหรือผิด หากถูกต้อง และเมื่อมีการกระทำซ้ำ ในลักษณะเดียวกันนั้น ไม่ว่าจะกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผลที่ได้รับก็จะออกมาในรูปเดียวกันหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ทำการค้นคว้าทดลองก็สามารถตั้งสิ่งที่ตนศึกษาค้นพบใหม่นั้นขึ้นมาเป็นทฤษฎี (Theory) ใหม่ได้

การเจริญปัญญา ตามแนวพุทธธรรม

          มนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ก่อนที่จะเชื่ออะไร จะต้องมีเหตุมีผล จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนเสมอ พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตโต) ปัจจบันคือพระธรรมปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์จะต้องสร้างทัศนคติที่มีเหตุผล ไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงเพราะฟังตาม กันมา ยินดีรับฟังคำสอนทุกฝ่าย ทุกด้าน ด้วยใจเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินสิ่งที่ยังไม่รู้เห็นว่าเป็นเท็จ ไม่ยืนกรานยึดติดแต่สิ่งที่จนรู้หรือคิดเห็นเท่านั้นว่าถูกต้องเป็นจริง เมื่อรับฟังทฤษฎี คำสอน ความคิดเห็นของผู้อื่นแล้ว พิจารณาเท่านที่เห็นด้วยปัญญาตนว่า เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และเห็นว่าผู้แสดงทฤษฎี คำสอนหรือความเห็นนั้น เป็นผู้มีความจริงใจ ไม่ลำเอียง มีปัญญา จึงเลื่อมใสรับเอามาเพื่อคิดหาเหตุผลทดสอบความจริงต่อไป แล้วนำสิ่งที่ใจรับมานั้น มาขบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วนำสิ่งที่ใจรับนั้น มาบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งถูกต้องแท้จริงอย่างแน่นอน จนซาบซึ้งด้วยความมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนเองมองเห็นแล้ว พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติพิสูจน์ทดลองให้รู้เห็นความจริงประจักษ์ต่อไป และถ้ามีความเคลือบแคลงสงสัย ก็รีบสอบถามด้วยใจบริสุทธิ์ มิใช่ด้วยอหังการมมังการ พิสูจน์เหตุผลให้ชัดเจน เพื่อให้ศรัทธานั้นมั่งคงแน่นแฟ้น เกิดประโยชน์สมบูรณ์  (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:650)

          หมายเหตุ กาลามสูตรนั้น เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พวกกาลามะในแคว้นโกศล ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล มีความดังนี้

          กาลามชนทั้งหลาย จงอย่ายึดถือโดยการฟังตาม กันมา อย่ายึดถือโดยการถือสืบ กันมา อย่ายึดถือโดยการเล่าลือ อย่ายึดถือโดยการอ้างตำรา อย่ายึดถือโดยตรรก อย่ายึดถือโดยการอนุมาน อย่ายึดถือ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่ายึดถือเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่ายึดถือเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ และอย่ายึดถือเพราะนับถือว่า สมณะนี้คือครูของเรา (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:651)

ทฤษฎี : ความหมาย

          ปทานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายของคำทฤษฎีไว้ว่า ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ

          และในปทานุกรมเว็บมาสเตอร์ ก็กล่าวถึง Theory ไว้ว่า

          A formulation of apparent relationships or underlying principles of certain observed phenomena which has been verified to some degree.

          หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ชัดเจน ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น หรือหลักการที่กำหนดขึ้นมาจากการที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในระดับหนึ่ง และ

 

Branch of an art or science consisting in a knowledge of its principles and methods rather than in is practice

          หมายถึง ศิลป์หรือศาสตร์สาขาหนึ่งที่ประกอบไปด้วยความรู้ต่าง ที่เกี่ยวกับหลักการและวิธีการมากกว่าที่จะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติการ

ทฤษฎี : การบริหารการศึกษา

          มีผู้ให้คำนิยามไว้ว่า ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิด (Concepts) คติฐานหรือข้อสันนิษฐษน (Assumption) และข้อยุติโดยทั่วไป (Generalization) ที่อธิบายพฤติกรรมขององค์การ อย่างเป็นระบบ และมีความสัมพันธ์ต่อกัน

          แต่สำหรับข้อสมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง การตั้งข้อกำหนด หรือข้อสมมติที่คิดหรือคาดว่าน่าจะเป็นขึ้นมา แล้วพยายามศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาข้อสรุปมาพิสูจน์ให้จงได้ว่า ข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้น จริงหรือไม่จริง

พัฒนการของทฤษฎีในการบริหารการศึกษา

          ความเกี่ยวข้องของทฤษฎีที่เข้ามาสัมพันธ์กับการบริหารการศึกษานั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านสังคมศาสตร์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด,เอลตัน มาโย และเอฟ เจ รอธลิสเบอร์เกอร์ได้เปิดทัศนะใหม่แห่งการศึกษาการบริหาร แต่สงครามได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์สังคมหันเหไปจากการทดลองในห้องปฏิบัติการไประยะหนึ่ง ในระยะนั้น นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา และนักมานุษยวิทยาก็ต้องเข้าจัดการกับปัญหาด้านต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา เมื่อสงครามสิ้นสุด นักค้นคว้าเหล่านี้ก็หันมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง

          ในปี 1947 มีการประชุมแห่งชาติของศาสตราจารย์แห่งการบริหารการศึกษา (National Conference of  Professors of Educational Administration NCPEA)  ซึ่งการประชุมในครั้งนั้น ที่ประชุมได้ต

00021 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-03-09 23:05:43 v : 10177



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา