พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่น


พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่น

 

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
วัยรุ่น (Adolescent) หมายถึง ช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รวมทั้ง มีการพัฒนาทางเพศที่สมบูรณ์ (full sexual maturation)

 

แม้การเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นจะแตกต่างกันในแต่ละเพศในแต่ละบุคคล และในแต่ละยุคสมัย กล่าวคือ เด็กหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กผู้ชาย โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี และในแต่ละประมาณ 10 ปี ที่ผ่านไป เด็กจะเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นเร็วขึ้นประมาณ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้ให้ คำนิยามด้านอายุของวัยรุ่น ว่าครอบคลุมถึงบุคคลในช่วงอายุ 10-19 ปี

 

ในช่วงระยะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (puberty) ของวัยรุ่นนั้น จะมีพัฒนาการทางเพศที่สำคัญ คือ
  1. การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศปฐมภูมิ (primary sex characteristics) คือ การพัฒนาของระบบสืบพันธุ์ให้สามารถสร้างเซลสืบพันธุ์ได้ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของอัณฑะ (testis) และองคชาติ (penis) ในเด็กชาย และการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ (ovary) มดลูก (uterus) และช่องคลอด (vagina) ในเด็กชาย
  2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) ซึ่งเป็นลักษณะ ทางเพศประกอบอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของเต้านม รูปร่าง ขนตามรักแร้ หัวเหน่า และการเปลี่ยนแปลงของเสียงในเพศชาย แผนภาพที่ 1 แสดงถึงลำดับการเปลี่ยนแปลงสำคัญในช่วงวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของร่างกายมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อวัยรุ่น และสามารถนำไปสู่ความหมกมุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยที่ความช้า/เร็วของการเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูงร่วมวัยร่วมกับอิทธิพลของค่านิยมสังคม จะส่งผลต่อการรับรุ้และยอมรับตนเอง (self perception and self acceptance) รวมถึง การนำไปสู่รูปแบบพฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมทางสังคมอื่น ๆ ของวัยรุ่นได้

 

พัฒนาการทางเพศในเพศหญิง
ในประเทศแถบตะวันตก เด็กหญิงมีประจำเดือนครั้งแรก (menarche) ที่ช่วงอายุประมาณ 10-16 ปี แต่ในบางกลุ่มประเทศ เด็กหญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกที่อายุมากกว่านี้ เช่นใน Papua New Guinea เด็กหญิงมีประจำเดือนที่ช่วงอาย 18-20 ปี ความแตกต่างของอายุที่เริ่มเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นนี้ ได้รับอิทธิพลจากอาหารสภาพการทำงานและสภาพคุณภาพชีวิต โดยพบว่า เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ดีขึ้น เด็กจะเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นได้เร็วขึ้น ดังนั้น ในระยะเวลาที่มีการพัฒนาทางวัตถุอย่างรวดเร็วในระยะที่ผ่านมา ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงพบว่าเด็กได้เข้าส่ความเป็นวัยรุ่นรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน (Baker and Bellis 1995)

 

นอกเหนือจากอิทธิพลจากโภชนาการและคุณภาพชีวิตที่ถือเป็นปัจจัยทางชีวภาพแล้ว ยังมีการศึกษาที่พบว่าปัจจัยด้านอารมณ์ก็ส่งอิทธิพลต่ออายุที่เริ่มมีประจำเดือนเช่นกัน กล่าวคือ Aro และ Taipale (1987) พบว่า เด็กหญิงในครอบครัวที่มีความขัดแย้งและปราศจากพ่อมีแนวโน้มมีประจำเดือนเร็วกว่าเด็กหญิงอื่น ๆ รวมทั้งเด็กหญิงกลุ่มนี้จะเริ่มต้นมีเพศสัมพันธ์ ใช้สุราและบุหรี่เร็วกว่าเด็กหญิงอื่น ๆ ด้วย การศึกษานี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนว่า การมีประจำเดือนนั้น เป็นภาวะขึ้นที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ (dependent variable) (Belsky et al., 1991) ทั้งในส่วนของปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางพฤติกรรมที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

 

และในทางตรงข้าม พฤติกรรมทางเพศเหล่านี้ ก็จะส่งอิทธิพลย้อนกลับไปสู่การเร้าความขัดแย้งในครอบครัวให้รุนแรงขึ้น โดยพฤติกรรมปัญหาในเด็กหญิงลักษณะดังกล่าว จะพบได้ในโรงเรียน สหศึกษามากกว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนหญิงล้วน การศึกษานี้จึงอาจสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มเพื่อนยังมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของเด็กหญิงอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ยังพบว่า มุมมองของเด็กหญิงที่มีต่อการมีประจำเดือนยังส่งผลต่อพฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์อีกด้วย ในเด็กหญิงที่ทัศนคติด้านลบต่อการมีประจำเดือนและมีประจำเดือนเร็วกว่ากลุ่มเพื่อนฝูงมีแนวโน้มจะรับรู้ประสบการณ์ครั้งแรกของการมีประจำเดือนในฐานะของสถานการณ์ด้านลบ (Brooks – Gunn and Reiter, 1990) ทั้งนี้ การมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าเด็กอื่นจะสัมพันธ์กับการเพิมของปัญหาทางจิตใจของเด็กหญิง โดยส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่เด็กหญิงรายนั้น ๆ จะมีเวลาในการเตรียมตัวน้อยกว่าเพื่อนร่วมวัย ประกอบกับการมีประจำเดือนทำให้เด็กหญิงต้องเผชิญกับความคาดหวัง ความเครียด รวมทั้งสิ่วแวดล้อมแบบใหม่โดยที่ยังขาดความพร้อมทางด้านจิตใจ (Ge et al., 1996)

 

หลังจากมีประจำเดือนแล้ว มีแนวโน้มว่าเด็กหญิงจะเริ่มใส่ใจต่อการควบคุมอาหารเพื่อรักษา รูปร่าง ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า การควบคุมอารมณ์นี้เป็นผลมาจากทัศนคติที่ดีต่อความผอมของรูปร่างมากกว่าที่จะเป็นผลจากอิทธิพลทางการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Rutter and Rutter 1992)

 

พัฒนาการทางเพศในเด็กชาย
เด็กชายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศ ช้ากว่าเด็กหญิงประมาณ 18-24 เดือน ทั้งนี้ พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กชาย จะส่งผลต่อสถานภาพในกลุ่มเพื่อนฝูงอย่างชัดเจน กล่าวคือ เด็กชายที่มีพัฒนาการของร่างกายเร็ว จะได้รับการยอมรับจากเพื่อนฝูงและมีภาพลักษณะแห่งตน (Self-image) ที่ดี ซึ่งในด้านจิตใจนั้น อาจอธิบายได้จากการที่ความ “เป็นหนุ่ม” เป็นลัญลักษณ์ของความแข็งแรงและสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการขยายเผ่าพันธ์ (Weisfileld et al., 1987)

 

นอกจากนี้ ยังมี ข้อน่าสังเกตชัดเจนว่า พ่อแม่มีแนวโน้มแสดงท่าทีและความคาดหวังที่แตกต่างต่อการ “เป็นหนุ่ม” ของลูกชาย และการ “เป็นสาว” ของลูกสาว เด็กหญิงมักได้รับความร๔และการบอกกล่าวเกี่ยวกับการมีประจำเดือนครั้งแรกจากแม่หรือบุคคลที่สนิทสนมอื่น ขณะที่เด็กชายมักไม่มีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับ “ความสามารถในการสร้างอสุจิครั้งแรก” (Spenmarche) กับพ่อของตน (Durkin 1995).

 

พฤติกรรมทางเพศ
พฤติกรรมทางเพศครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่อยู่ภายใน (covert behavior) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็น อาทิเช่น ความคิด ค่านิยม ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมที่ถูแสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจน (overt behavior) เช่น การคบเพื่อนต่างเพศ จนกระทั่งถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศ

 

การศึกษาโดยทั่วไป พบว่า เด็กชายและเด็กหญิงวัยรุ่น มีแนวโน้มการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างกัน เด็กชาย 95% มีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbate) ขณะที่เด็กหญิงมีอัตราของพฤติกรรมนี้ประมาณ 60% นอกจากนี้สภาวะทางสังคมยังส่งต่อต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายหญิงอีกด้วย วัยรุ่นในประเทศตะวันตกเริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ระยะวัยรุ่นตอนต้นหรือวัยรุ่นตอนกลาง (Katchadourian, 1990) การศึกษาโดย (Brook Advisory Service) ในสหราชอาณาจัก เมื่อปี 1998 สะท้อนว่าวัยรุ่น 20% มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 16 ปี และส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เมื่ออายุ 17 ปี สภาพการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับที่พบในยุโรปในภาพรวม จากการศึกษาของ (Capaldi และคณะ 1996)

 

ระยะเวลาที่วัยรุ่นชายมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจะสัมพันธ์กับองค์ประกอบดังนี้
  • การเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายของวัยรุ่นเร็ว
  • สถานภาพสมรสของพ่อแม่ เช่น การหย่าร้างและมีคู่ครองใหม่ของพ่อแม่
  • การมีพฤติกรรมก้าวร้าวเกเรรุนแรง
  • การใช้สารเสพติด
ในส่วนของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้น พบว่า หลังมีการคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ แพร่หลายและใช้บริการได้ง่ายขึ้นในปี 1975 มีผลให้การตั้งครรภ์ลักษณะนี้ลดลงชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์นั้น ได้พบปัจจัยที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องดังนี้

 

  • การด้อยการศึกษา
  • ความยากจน
  • ปัญหาอารมณ์
  • การเป็นบุตรของมารดาวัยรุ่น
สิ่งที่พบได้ชัดเจนอีกประการหนึ่งในประเทศตะวันตก คือ เมื่อมีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแล้ว วัยรุ่น ที่มาจากย่านยากไร้ขาดแคลนมีแนวโน้ม สูงที่จะคงสภาพการตั้งครรภ์ต่อไปจนให้กำเนิดทารก ในขณะที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตา แม้ในภาวะปัจจุบัน พ่อแม่ในประเทศส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มที่จะห่วงใยต่อการเปลี่ยนแปลงที่กี่ยวข้องกับเพศและเพศสัมพันธ์ในลูกสาวมากกว่าในลูกชาย ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ แม้ว่าค่านิยมของสังคมที่มีต่อเพศหญิงในประเทศต่าง ๆ จะมีความแตกต่างหลากหลาย แต่แนวคิดที่มองเห็นบทบาทเพศชายเปรียบเสมือนผู้ล่า (predator) นั้น กลับเกิดขึ้นอย่างคล้ายคลึงกันในทุกภูมิภาพของโลก ด้วยคำอธิบายทางชีวสังคมและเหตุผลต่าง ๆ นานา นอกจากนี้ ยังพบว่า เพศหญิงและเพศชาย ยังมีค่านิยมหรือแบบแผนความคิดในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน (Zani 1991) รายงานว่า เพศชายมักรับรู้ประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกของตนในฐานะสิ่งที่พึงพอใจและภาคภูมิ ในขณะที่เพศหญิงมักมีความรู้สึกวิตกกังวลอย่างยิ่ง (Gordon and Gilgnn, 1987) อย่างไรก็ตาม (Durkin 1995) ได้เสนอว่า ค่านิยมตลอดจนแบบแผนความคิดนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ ความแตกต่างเช่นนี้ได้ลดลงเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

 

เพศศึกษากับพฤติกรรมทางเพศ
การมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ ทั้งในส่วนของความตระหนักรู้ในตน (Self-awarness) ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) ความรับผิดชอบในตนเอง (Self-responsibility) รวมถึงการเรียนรู้การชะลอความพึงพอใจ (delayed gratification) ทั้งนี้ หากวัยรุ่นได้มีความรู้ความเข้าใจถึงอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง จะช่วยให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมได้มากขึ้น ความรู้ความเข้าใจดังกล่าว ควรรวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

 

  • พัฒนาการทางเพศ (human sexuality development)
  • สุขอนามัยทางเพศ (sexual health)
  • พฤติกรรมทางเพศ (sexual behaivor)
  • สัมพันธภาพ (relation)
  • ทักษะที่จำเป็นของบุคคล (personal skill)
  • สังคมและวัฒนธรรม (Social and culture)
  • บทบาททางเพศ (Gender role)
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการจัดให้มีการสอนสาระด้านเพศศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวเบื้องต้น แก่ช่วงวัยต่าง ๆ ของเด็กก่อนที่จะก้าวสู่ความเป็นวัยรุ่นที่สามารถมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม บทบาทการสอนในโรงเรียนนั้น เป็นเพียงองค์ประกอบที่ช่วยเติมเต็ม และยังต้องอาศัยการเตรียมการและติดตามจากครอบครัว และทุกฝ่ายของสังคมอย่างใกล้ชิดด้วย

 

เอกสารอ้างอิง
  • Tanner J.M. Foetus into Man. London : open Books. 1978.
  • Baker, R. R. and Bellis, M.A. Human Sperm Competition : Copulation, Masturbation and Infidelity. London : Chapman & Hall.
  • Aro H. and Taipale V. The Impaet of timing of puberty on psychosomatic symptoms among 14 to 16 year old finnish girls. Child development, 1987 : 58, 261-268
  • Belsky. J, Steinberg L. and Draper P. Childhood experience, interpersonal development and reproduction stritye : an evolutionary theory of socialisation . Child Development. 1991 : 62, 647-670
  • Brooks - Gunn, J. and Reiter E.O. The role of pubertal processes. In S.S feldman and G.R. Elliot (eds), At the threshold : The Developing Adolescent, Cambridge : Cambrridge University Press. 1990
  • Ge X, Conger R D and Elder GH. Coming of age too earyly : pubertal influences on girl’s verlnerablity to psychological distress. Child Development. 1996 : 67, 3386-3400.
  • Rutter M and Rutter M. Developing Mind’s : Challenge and Continuity acorss the lifespin. Harmondsworth : Penguin. 1992
  • Weisfield, G.E., Muczenski D.M., Weisfield C.C. and Omakr D.R. stability of boys social success among pecrs oven an eleven year period. In J.A. Meacham (ed.), Interpersonal Relations : Family, Peers, Friends. Basel : Karger. 1987
  • Durkin K. Development Social Psychology : From Infancey to old age. Oxford : blackwell 1995
  • Katchadourian H. Sexuality. In S.S. Feldman and G.R. Elliot (eds). At the Threshold : The Developing Adolescent. Cambridge : Cambridge University Press. 1990
  • Brook Advisory service. Teenagers and Sex : A Briefing Paper. London : Brook Adviory Centres. 1998

    ที่มา : http://icamtalk.com



  • 00207 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-15 22:43:55 v : 19715



    ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

     

    เว็บทางการศึกษา
    ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
    ข่าว The Nation
    ข่าว CNN
    ข่าว BangkokPost


    มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
    บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
    มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
    ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
    GURU Online
    พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
    ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
    การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
    กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
    ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
    KARN.TV
    รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
    ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
    ห้องสมุด มสธ.
    IGCSE ติว IELTS
    TOEIC ติว GED
    IELTS ติว TOEIC
    TDC : Thai Digital Collection
    สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



     

    เรียนพิเศษโคราช

    พัฒนาระบบโดย
    ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

    จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

    ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา