การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์


การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์
(Assessing Needs to Identify Instructional Goal (s)

โดย....สุวิทย์  บึงบัว
นิสิตปริญญาเอก เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

     ในกระบวนการเรียนการสอนนั้นจุดสำคัญที่จะบ่งชี้ความสำเร็จจากการเรียนการสอน คือ การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ซึ่งจะป็นทิศทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการสอน รวมไปถึงการวัดผล ประเมินผล อันเป็นตัวบอกถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ

     1. การกำหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นไปที่ตัวเนื้อหา โดยให้ผู้เรียนได้รับรู้ เข้าใจเนื้อหา เน้นการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนให้เข้าใจตรงกัน การกำหนดวัตถุประสงค์แบบนี้ได้รับความนิยมมายาวนานตั้งแต่อดีต และในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่เสมอ
     2. การกำหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นไปที่ด้านเทคโนโลยี โดยให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งนักออกแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่มักจะใช้วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์แบบนี้มากกว่าแบบแรก เพราะวิธีการนี้เป็นการค้นหาปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของผลลัพธ์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้เรียน หรือกระบวนการเรียนการสอน นักออกแบบการเรียนการสอนจะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินและวิเคราะห์ถึงปัญหาในกระบวนการของระบบ การค้นหาสาเหตุของปัญหารวมไปถึงการหาทางออกในปัญหาที่ค้นพบ ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการเรียนรู้ด้วย

     สิ่งที่เป็นปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน คือ การจัดการความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การแก้ไขปรับปรุงจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการประเมินผล ดังนั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ผู้เรียนให้สามารถทำตามที่ออกแบบได้ ระบบการเรียนการสอนต้องออกแบบให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ พัฒนาทักษะได้ และเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงได้ต่อไป
     ตัวอย่าง 1  บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเปลี่ยนระบบการทำงานจากแบบนั่งโต๊ะทำงานในสำนักงานทั่วๆ ไป มาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จึงวางแผนวิธีการทำงานดังนี้

 1. การหาช่างเทคนิคเข้ามาทำงานในบริษัท ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพนักงานมากขึ้น
 2. การคัดเลือกบุคลากรที่มีอยู่ในสำนักงานอยู่แล้ว เข้ารับการฝึกฝน อบรม

     จากวิธีการทำงานทั้ง 2 วิธีดังกล่าว วิธีที่ 2 ประสบผลสำเร็จในการทำงานมากกว่าวิธีแรก เพราะวิธีที่ 1 นั้นเป็นการแก้ปัญหาภายนอก มิใช่ปัญหาที่เกิดจากองค์กร บุคลากรที่มีอยู่ไม่ได้รับการพัฒนาความรู้ใหม่ แต่มีช่างเทคนิคคอยช่วยเหลือตลอดเวลา เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาระหว่างบุคคลได้อีกด้วย ส่วนวิธีที่ 2 นั้นเป็นการแก้ปัญหาภายในองค์กร การพัฒนาบุคลากรเป็นการสร้างคุณค่าให้กับพนักงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีความสุข ความขัดแย้งระหว่างบุคคลจึงลดน้อยลง ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระกวนการจริงจึงเป็นการแก้ปัญหาที่มีคุณค่ามากหว่าการนำปัจจัยภายนอกเข้าช่วยในการแก้ปัญหา ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
     ตัวอย่าง 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการให้นักเรียนสอบผ่านเกณฑ์ให้ได้ 95% ซึ่งเกณฑ์เดิมที่มีอยู่คือ 85% จึงคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาดังนี้

 1. ผู้บริหารให้ครูไปเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาศักยภาพครู
 2. จ้างครูเก่งๆ จากที่อื่นมาสอนนักเรียนเพิ่มเติม
 3. เปลี่ยนรูปแบบการสอบ โดยให้นักเรียนทุกคนได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน

      จากวิธีการทั้ง 3 แบบ ปรากฏว่าไม่มีวิธีใดจะช่วยให้สัมฤทธิ์ผลตามเกณฑ์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน เมื่อนักออกแบบการเรียนการสอนเข้ามาวิเคราะห์ปัญหา จึงทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่สัมฤทธิ์ผลเพราะไม่ได้หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง คำแนะนำที่ทางโรงเรียนได้รับคือ สิ่งที่โรงเรียนต้องการให้นักเรียนเป็นจริงๆ คืออะไร ทักษะอะไรบ้างที่นักเรียนสอบตก ให้โรงเรียนค้นหาสาเหตุให้พบ การจ้างครูพิเศษมาสอนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ การแก้ปัญหาต้องแก้ไปที่จุดๆ นั้นประสบปัญหาจริงๆ 

Concept
     การออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทางในการหาวิธีการในการปรับปรุงพัฒนา เช่น การทำงานในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีหัวหน้าแผนกเพราะวิเคราะห์ถึงปัญหาที่จะสะท้อนออกมาจากการทำงานของพนักงานแผนกต่างๆ ปัญหาบางอย่างสามารถแก้ไขได้โดยความช่วยเหลือจากฝ่ายฝึกอบรมซึ่งมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหา ตัวอย่างการวิเคราะห์เช่น

 
Should ---------- สิ่งที่ควรจะทำ
 Is ---------------- สิ่งที่เป็นอยู่

     การจะมองเห็นปัญหาต้องมีการวิเคราะห์ตนเองก่อน ซึ่ง Should และ Is นั้นมีความหมายต่างกันและมุมองต่างกันหากวิเคราะห์ให้ดีก็จะพบช่องว่างเกิดขึ้นระหว่าง 2 คำนี้ นั่นคือ “ความต้องการ” ผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรม ถ้าศึกษาแล้วจะอธิบายถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นซึ่งจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของคน หลักฐาน สาเหตุ และอาจจะพบวิธีการแก้ปัญหาได้ในตัวเอง
Robinson Model ได้อธิบายการวิเคราะห์การพฤติกรรมเพิ่มเติม คือ

รวบรวมข้อมูล ------------>  หาความจำเป็น ------------------>  วิธีการ

     จาก Model ดังกล่าวจะเห็นว่าการรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องกระทำ เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์ เมื่อนำมาวิเคราะห์จะค้นพบปัญหาเบื้องต้น เมื่อหาความจำเป็นออกมาได้ก็จะพบความต้องการที่แท้จริงในระบบ จากนั้นจึงจะสามารถกำหนดวิธีการอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมาจากเบื้องต้น ดังนั้นการหาความจำเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบการเรียนการสอน ในอดีตนั้นใช้วิธีการสำรวจแล้วกำหนดวิธีการต่างๆ ขึ้นมา ปัจจุบันใช้วิธีการหาความจำเป็นหลายวิธี บางครั้งต้องอาศัยการวิจัยจึงจะค้นพบความจำเป็นที่แท้จริง “การหาความจำเป็น” จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการออกแบบการเรียนการสอน

การกำหนดเป้าหมายบทเรียนให้ชัดเจน
     Mager ได้กล่าวว่าเป้าหมายในการออกแบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นนามธรรม ดังนั้นนักออกแบบการเรียนการสอนไม่สามารถหาวิธีการวัดผลได้ชัดเจน ส่วนมากแล้วจะวัดผลการเรียนโดยนำความสำเร็จในการเรียนเป็นเกณฑ์ในการวัดผล วิ๊การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนจึงมีข้อที่ต้องพิจารณาถึง ดังนี้
 1. เป็นสิ่งต่างๆ ที่บุคลากรในหน่วยงานต้องสามารถทำได้
 2. การเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำหรือต้องมี
 3. ตรวจสอบเป้าหมายแต่ละข้อที่กำหนดขึ้น ว่าจำเป็นหรือไม่ หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องทำเลย ซึ่งเป็นข้อพึงระวังที่นักออกแบบการเรียนการสอนต้องพิจารณาให้ครอบคลุม

ผู้เรียน, เนื้อหา, เครื่องมือ  ในกระบวนการเรียนการสอนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการซึ่งไม่อาจขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ดังนี้
 1. ผู้เรียนคือใคร ---------------------- ต้องการเรียนอะไร
 2. เนื้อหาเป็นอย่างไร ---------------- มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
 3. เครื่องมือที่ใช้มีอะไรบ้าง -------- ตอบสนองต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถตอบสนอง ดังนี้
 1. ผู้เรียนจะได้รับความรู้อะไรบ้าง
 2. ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหามีอะไรบ้าง
 3. การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
 4. เครื่องมือตอบสนองต่อผู้เรียนอย่างไรบ้าง

เกณฑ์ในการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
 1. สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองผู้เรียนตามความต้องการ ได้หรือไม่
 2. การยอมรับ การปฏิบัติตาม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ จริงหรือไม่
 3. ผู้เรียนมีความพร้อม ในการเรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

ข้อพึงระวังในการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
 - นักออกแบบการเรียนการสอนต้องมีความมั่นใจว่า ผู้เรียนมีความพร้อมจริงในการออกแบบแต่ละเนื้อหา
 - เป็นการยากที่จะบอก คำนวณระยะเวลาที่สำเร็จในการเรียนได้
 - นักออกแบบการเรียนการสอนต้องออกแบบให้ยืดหยุ่น ในระยะเวลาต่างๆ ได้
 - นักออกแบบการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยดูลักษณะเฉพาะของโรงเรียนนั้นๆ
 - ในการออกแบบกาเรียนการสอนจะต้องมีการ Try Out มิเช่นนั้นแล้วจะประสบความสำเร็จเฉพาะกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น
 - ในการออกแบบการเรียนการสอนจะต้องอาศัยทีมในการทำงาน ไม่สามารถทำตามลำพัง เช่น ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์สาขาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นต้น

 



00197 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-09 18:53:40 v : 2487



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา