ลดคอเรสเตอรอล ด้วยนำลูกพรุน


ลดคอเรสเตอรอล ด้วยนำลูกพรุน

น้ำพรุน ทำมาจาก ผลพลัมแห้ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก เป็นที่รู้จักและนิยมนำมารับประทานกันเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปและในอเมริกาเหนือ ลักษณะที่นำมารับประทาน มีทั้งรับประทานเป็นผลสด นำมาตากแห้ง ทำเป็นน้ำพรุน และนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ในปัจจุบันประเทศทางแถบเอเชียให้ความสนใจในพรุนมากขึ้น เนื่องจากคุณค่าทางอาหารและประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทาน พรุน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มาจาก พรุน

ส่วนประกอบที่มีคุณประโยชน์ของ พรุน สกัดเข้มข้น (ลูกพรุน)
- วิตามิน บี2 (Ascorbic Acid) ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด, กระบวนการสร้าง, ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์, เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการมอง ผิวหนัง เล็บ และผม
- วิตามิน ซี (Ascorbic Acid) สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นส่วนประกอบพิเศษที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลาย เมื่อเซลล์ถูกทำลายโอกาสในการเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น วิตามิน ซี มีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นการที่พรุนมี Anti-oxidant ในปริมาณสูงจะช่วยทำให้ร่างกายต่อต้านแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น มีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์เม็ดเลือดแดง ช่วยให้ร่างกายต่อต้านแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น
- วิตามิน อี เป็น Anti-oxidant ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาของออกซิเจนที่ไม่สมบูรณ์ภายในร่างกาย ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ช่วยยืดอายุของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ช่วยบำรุงสายตา
- แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน รักษาระดับการเต้นของหัวใจ ช่วยระบบประสาทให้ปกติ
- เหล็ก (Iron) เป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง พรุนแห้ง ๑ ขีด มีธาตุเหล็ก ๒.๗๘ มิลลิกรัม จึงเป็นแหล่งของธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์
๑. มีกากใยธรรมชาติ Dietary fiber จำนวนมากหลายชนิด ซึ่งเป็นทั้งชนิดที่ละลายน้ำได้ และละลายน้ำไม่ได้ ยังมีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอลได้
๒. ลดไขมันในเลือด (LDL cholesterol)
๓. มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงจำนวนมาก
๔. เป็นอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี แหล่งที่ดีของธาตุเหล็ก และไฟเบอร์ หรือกากใยอาหาร
๕. น้ำลูกพรุนแม้จะมีรสหวานแต่ประกอบไปด้วยน้ำตาลหลายชนิด ฟรุคโตสและซอร์บิทอล ซึ่งไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว
๖. ช่วยระบายรักษาอาการท้องผูกได้อย่างปลอดภัย ทั้งในผู้ใหญ่และแม้ในเด็กเล็ก (แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ควรปรึกษาแพทย์ด้วยเสมอ)

ข้อควรระวังในน้ำลูกพรุน
เนื่องจากน้ำ ลูกพรุน มีโปแตสเซียมสูง จึงไม่ควรรับประทานในผู้ป่วยโรคไตวาย ระยะหลังที่ได้รับการ ล้างไต แต่ถ้าไม่ได้เป็นโรคไตชนิดนี้ก็จะรับประทานได้โดยปลอดภัย และไม่ทำให้เป็นโรคไตใดๆ ทั้งสิ้น รับประทานจะมีผลดีต่อสุขภาพ โดยไม่ทำให้เกิดโรคไตวายแต่อย่างใด นอกจากนี้น้ำลูกพรุน มีส่วนช่วยระบาย จึงไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมาก เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ในบางคน ไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆ รับประทานครั้งละ ๑๕-๓๐ ซีซี ต่อคน น้ำลูกพรุนจึงเป็นอาหารที่มีประโยชน์มีวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรสชาติอร่อย น่ารับประทาน และยังช่วยระบาย ซึ่งนับเป็นยาระบายที่ปลอดภัยแม้ในเด็ก เป็นน้ำผลไม้ที่มีผู้นิยมรับประทานทั่วโลก ดังนั้นนับเป็นน้ำผลไม้ที่มีคุณประโยชน์ และน่าลองรับประทานเป็นอย่างยิ่ง

                                                                                 ศักดิ์ชัย  ภู่เจริญ

ที่มา  http://www.teenpath.net/teennature/Content.asp?Sub=11&ID=00146



00182 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-09 16:14:05 v : 2498



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา