ทำอย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง


 

 

ผู้ประกอบการควรทำอย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง
 

            วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ที่กำลังลุกลามไปทั่วโลกขณะนี้ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในสหรัฐและยุโรบเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย และเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลง 


      วิกฤตการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว ประกอบกับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง สร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการในประเทศไทยว่า


      สถิติในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาได้ยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยและอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะปี พ.ศ.2544 ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวเพียงร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2543 ส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยติดลบถึงร้อยละ 10.12 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ดังนั้นหากเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี พ.ศ.2552 มีแนวโน้มขยายตัวติดลบ จึงเป็นไปได้ว่า การส่งออกของไทยจะชะลอตัวอย่างรุนแรง และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด การส่งออกของไทยอาจหดตัวลง


      สัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกของไทยปรากฏขึ้น โดยอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2551 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยเป็นการลดลงในเชิงปริมาณมากกว่าลดลงด้านราคา และคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดลงจากเดิม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เฟอร์นิเจอร์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
      เช่นเดียวกับการค้าภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว ทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุนและทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นจนไม่กล้าใช้จ่าย การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวจะทำให้รายได้ของภาคการผลิตและธุรกิจท่องเที่ยวชะลอตัวลง ส่งผลทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการหรือปลดแรงงานออกจำนวนมาก ความต้องการสินค้าและบริการภายในประเทศจึงชะลอตัวลง


      นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีความเสี่ยงขาดสภาพคล่อง เพราะสถาบันการเงินเริ่มมีสภาพคล่องตึงตัว และระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติหันมาระดมทุนในประเทศมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหาแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น


ในภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองเช่นนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นต้องให้ความระมัดระวังในการบริหารต้นทุนและรายได้มากขึ้น โดยพยายามลดต้นทุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้มากที่สุด โดยเฉพาะต้นทุนการเก็บสต็อกวัตถุดิบและสินค้า รวมทั้งเน้นการส่งออกไปยังตลาดที่ยังพอมีกำลังซื้อ เช่น จีน ตะวันออกกลาง เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการขายในตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวมากกว่าสหรัฐฯและยุโรปจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าของไทยอย่างไรและรุนแรงเพียงใด    การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย (โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีน) มีแนวโน้มชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียถึงร้อยละ 70 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

 

ที่มา  http://www.kriengsak.com/



00165 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-06-02 22:32:21 v : 2642



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา