เมื่อผู้หญิงอยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่


     เมื่อผู้หญิงอยากเป็นใหญ่

                                                                    โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์     ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

   เสียงเรียกร้องของผู้หญิงทั่วโลกขอสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย

                    

                            ผู้หญิงทั่วโลกได้เรียกร้องกันมาหลายศตวรรษเพื่อขอสิทธิเสรีภาพให้เท่าเทียมชาย   เสียงเรียกร้องเริ่มเห็นผลเมื่อมีการผลักดันในระดับสหประชาชาติ โดยมีการออกกฎหมายและข้อตกลงหลายฉบับเริ่มจาก   ปีพ.ศ.2491 เมื่อสหประชาชาติได้ออกปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองหญิงชายมีเสรีภาพเท่าเทียมทั้งเกียรติและสิทธิ ปี2509 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางการเมืองของสตรี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมือง ระบุให้โอกาสเท่าเทียมแก่สตรีในการรับราชการ ปี2510 ปฏิญญาสากลว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ให้โอกาสบทบาทด้านเศรษฐกิจสังคมการเมือง ปี2516 สหประชาชาติกำหนดปีสตรีสากล ปี2518 ปฏิญญาสากลว่าด้วยความเสมอภาคของสตรีในการมีส่วนร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์สันติภาพและปี2528 ยุทธศาสตร์ไนโรบีย้ำให้ขยายบทบาทสตรีในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อย มีส่วนร่วมสร้างชาติ เปิดให้เป็นทูต

 

เสียงร้องจากหญิงไทย

               

                     ในส่วนประเทศไทยได้เริ่มรับสิทธิ์อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญไทย ปี2540มาตรา 30  รับรองความเท่าเทียมหญิงชาย และมาตรา 80 รัฐต้องส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชาย นอกจากนี้ยังมีองค์กรและหน่วยงานที่เป็นปากเป็นเสียงแทนหญิงไทย ได้แก่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติในปี2543ได้ออก10 มาตรการพิเศษ  เสนอรัฐบาลรับไปดำเนินการ ได้แก่ 1.รณรงค์ให้เพิ่มอัตราส่วนสตรีร่วมตัดสินใจในทางการเมือง  2.ให้สตรีออกเสียง ลงสมัคร ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3.ให้สตรีออกเสียงได้อย่างอิสระ 4.สตรีได้รับความสำคัญทางการเมือง 5.สร้างเครือข่ายสนับสนุนสตรีมีตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับ6.จัดทำบัญชีรายชื่อสตรีที่คุณสมบัติเหมาะสม  7. รวบรวมสถิติบทบาทสตรีในองค์กรระดับสูง 8.ส่งเสริมสตรีให้ได้รับตำแหน่งสำคัญในองค์กรนิติบัญญัติ ตุลาการ 9.ให้สตรีมีบทบาทให้คำปรึกษาสตรีที่สมัครเลือกตั้ง  และ 10. เพิ่มสัดส่วนสตรีในตำแหน่งผู้นำร้อยละ30

 

ข้อค้นพบที่สำคัญสำหรับผู้หญิง

 

                    นอกจากการใช้กฎหมายเป็นตัวผลักดันให้ผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพทัดเทียมผู้ชายแล้ว ยังมีความพยายามอีกหลายวิธีที่จะสนับสนุนบทบาทของหญิงและยุทธศาสตร์สำหรับช่วยผู้หญิงให้ก้าวหน้า ดังเช่นUNFPA ได้กำหนดวันประชากรโลก 11 กรกฎาคม 2548เป็น ปีแห่งการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และได้ชูความเสมอภาคทางเพศสามารถขจัดความยากจนให้หมดไปด้วยยุทธวิธี 4 ประการ คือ

                    1.ทำให้ผู้หญิงได้รับการศึกษาสูงขึ้นโดยการลดการแต่งงานเมื่ออายุน้อย   การยินยอมให้วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีโอกาสได้เรียนต่อ การให้ทุนการศึกษ การให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์ รวมถึงการลดอัตราการเจริญพันธุ์  และลดอัตราการเจ็บป่วย 

                  2. เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจเปิดให้ผู้หญิงเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ช่วยให้เพิ่มรายได้  เลี้ยงตนเองและครอบครัวมากขึ้น   ผู้หญิงที่วางแผนในเรื่องการเว้นช่วงการมีบุตร จะมีโอกาสที่ดีกว่าเมื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้หญิงและเด็กหญิงสามารถเข้าถึงแหล่งทางเศรษฐกิจด้วยแล้ว ก็ยิ่งส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่ทำกินและการเงินมากยิ่งขึ้นไปอีก การให้ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับสูง  และให้เข้าสู่การจ้างงานอย่างเป็นทางการ  ทำให้ผู้หญิงสามารถเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น

                 3. ส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิสตรี  ผู้หญิงมีสิทธิกำหนดจำนวนบุตรและการเงิน ช่วงห่างการมีบุตร เป็นการกระจายพลังอำนาจของผู้หญิงไปสู่ความเสมอภาคทางเพศ     ถ้าผู้หญิงไม่มีความเสมอภาคทางเพศในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ ก็อาจเป็นต้นเหตุสำคัญของการเพิ่มขึ้นของอัตราตายในผู้หญิงขณะตั้งครรภ์และคลอด ข้อสำคัญ  การติดเชื้อเอชไอวี และเอดส์จะกลับมาเพิ่มขึ้นอีก  เนื่องจากผู้หญิงไร้อำนาจในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ และไร้อำนาจในการต่อรองการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ในกรณีของเด็กผู้หญิงที่แต่งงานเร็วหรือตั้งครรภ์ก่อนถึงวัยอันควร  ความไม่เท่าเทียมทางเพศจะเป็นอุปสรรคสำคัญ เด็กผู้หญิงเหล่านั้นไม่สามารถเรียนต่อจนจบการศึกษา  และยังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคอีกด้วย

                 4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็น   สิทธิขั้นพื้นฐานของความเสมอภาคทางเพศ  ผู้หญิงต้องมีพลังอำนาจในการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจทางการเมืองและการพัฒนาอย่างเต็มที่  การกระทำรุนแรงทางเพศ ทำให้บทบาทการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้หญิงลดลง  เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะไม่สามารถใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ได้อย่างเต็มที่ 

 

                   ข้อมูลโลกที่น่าสนใจในเรื่องความเสมอภาคทางเพศปี 2548 ยังพบว่า1) การเข้าถึงการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสในประเทศที่กำลังพัฒนาได้เพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 60  ซึ่งคู่สมรสเหล่านี้กำลังใช้วิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่อยู่ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละการใช้วิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่ในปี พ.ศ. 2503  ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 15 เท่านั้น   2) ปัจจุบันประชากรโลกมีถึง 6.5 พันล้านแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นที่กำลังตั้งครรภ์จำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมา ผู้หญิงวัยรุ่นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา  และมีจำนวนมากเช่นกันที่อาศัยอยู่ในถิ่นยากจนสตรีได้เข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวเพียงอย่างเดียว ลดการตายของมารดาหลังคลอดได้ถึงร้อยละ 25  และลดการตายของเด็กได้ร้อยละ 20  การให้บริการระหว่างคลอดที่มีประสิทธิภาพ  ลดการตายของมารดาลงถึงร้อยละ 74  ในแต่ละวัน มีวัยรุ่นหญิงเกินกว่า 70,000 คนแต่งงาน    และมีประมาณ 40,000 คนที่คลอดบุตร  เกินกว่า 1 ใน 3 ของวัยรุ่นหญิงอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี ในกลุ่มประเทศที่อยู่ในแถบทะเลทรายซาฮารา (Sub –Saharan  Africa)  ติดเชื้อเอชไอวี  ซึ่งอยู่ในสัดส่วนเดียวกับวัยรุ่นชาย      องค์การยูนิเซฟได้ รายงานว่ามีเด็ก121 ล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และในกลุ่มนี้เป็นเด็กผู้หญิงถึง 65 ล้านคนหรือร้อยละ 54   มีผู้หญิงถึง 600 ล้านคนทั่วโลก ที่ไม่มีการศึกษา  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายที่มีเพียง 320 ล้านคนเท่านั้น  จากสถิติทั่วโลก มีผู้หญิงถึง 1 ใน 3 ที่ถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูกบังคับขืนใจให้ร่วมเพศ  รวมถึงถูกกระทำรุนแรงรูปแบบต่าง ๆ ข้อน่าสังเกตก็คือ สตรีถูกบังคับขืนใจหรือถูกกระทำรุนแรงจากคนใกล้ตัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากสามีหรือสมาชิกชายในครอบครัว  ยิ่งกว่านั้นสถิติยังบอกอีกว่า สตรี1 ใน 4ถูกกระทำรุนแรงขณะกำลังตั้งครรภ์

                     นอกจากนี้ที่ประชุมระดับโลกปี2549 ยังห่วงใยเกี่ยวกับสตรี 12 ประเด็น ได้แก่ 1. สตรีกับความยากจน  2. สตรีและเศรษฐกิจ 3. สตรีกับสิ่งแวดล้อม 4. การศึกษาและฝึกอบรมของสตรี 5. สตรีและสุขภาพอนามัย   6. ความรุนแรงต่อสตรี7. สตรีและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ 8. สตรีในอำนาจและการตัดสินใจ 9. กลไกเชิงสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรี 10. สิทธิมนุษยชนของสตรี 11. สตรีกับสื่อมวลชน และ 12.การช่วยเหลือเด็กผู้หญิง   ที่ประชุมได้สรุปว่าหากสามารถส่งเสริมได้ครบทั้ง12ประเด็น  ก็จะช่วยให้บรรดาสตรีทั่วโลกมีโอกาสได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี

ผู้หญิงไทยอยากก้าวหน้าเป็นผู้นำต้องสร้างต้องสร้างตนเอง

 

                                อุปสรรคของสตรีไทยในการสร้างความก้าวหน้ามาจาก 1. ค่านิยมของสังคมที่ให้หญิงเชื่อมโยงกับงานบ้าน 2. ความเชื่อมั่นของสตรีเอง 3.ขาดความรู้และฐานข้อมูลเพื่อความสำเร็จของชีวิตและ

4. การสร้างความยอบรับในที่ทำงาน

                               ต่อไปนี้คือคุณลักษณะพิเศษที่จะส่งเสริมผู้หญิงไทยให้เป็นผู้นำทุกวงการ1.คุณลักษณะเฉพาะตัว : มีพละกำลังไม่เหน็ดเหนื่อย  รับผิดชอบ กล้าแสดงออก  ซื่อสัตย์ เชื่อมั่นตนเองและฉลาดในการตัดสินใจ  2.พฤติกรรมที่แสดงออก: กระตือรือร้นในการทำงาน พอใจในการทำงาน ให้ความสำคัญกับงาน

ปรับตัวกับงานและผู้ช่วยทีม มีเป้าหมายในการทำงาน ผสมวิธีทำงานของตนไปกับทีม และมีวิธีแก้ไขข้อขัดแย้ง

3.คุณลักษณะทางกายภาพ:  สวยสมวัย หน้าตาดี  บุคลิกดี และปรับตัวเก่ง  4.ภูมิหลังทางสังคม: มีการศึกษาดี

เด่นในสังคม คล่องตัว มีอาชีพมีรายได้ และมีความรับผิดชอบในครอบครัว

                         ดังนั้นสตรีจึงต้องพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ    โดย1 เริ่มจากเข้าใจทักษะการทำงานในฐานะผู้ทำงาน 2. พัฒนาบุคลิกภาพขั้นพื้นฐาน การแต่งกาย และ การปรากฏตัวต่อหน้าผู้อื่น 3. การปรุงแต่งควบคุมวุฒิภาวะทางอารมณ์ 4. การจัดการแก้ปัญหายามเผชิญเหตุ 5. ทักษะการบริหารจัดการในฐานะผู้นำ และ6. การขายแนวคิดจูงใจผู้อื่น

 

 จุดอ่อนของสตรีมักอยู่ที่การควบคุมอารมณ์

 

                          ผู้หญิงมักถูกมองว่าอ่อนแอ อ่อนไหว และไม่อดทน ผู้หญิงจึงต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์   หากควบคุมตนองได้ดีจะได้เปรียบคนอื่น จึงควรเริ่มต้นปรับปรุงตนเองโดยเริ่มจากการมารู้จักธรรมชาติของอารมณ์ซึ่งมีหลากหลายเช่น:โลภ,โกรธ,หลง,ฮึกเหิม,รื่นเริง,เหงาหงอย     อารมณ์มีระดับความรุนแรง   ได้แก่  มาก ,ปานกลาง,และ น้อย  ารมณ์มีขั้นตอนเป็นลำดับกระบวนการเช่น อมยิ้ม ยิ้มเห็นฟัน หัวเราะ มีกลุ่มอารมณ์ :กลุ่มโกรธ เกลียด อิจฉาและ แค้น   กลุ่ม เศร้า ซึม เบื่อ และท้อ กลุ่มสนุก คะนอง เบิกบาน และผ่อนคลาย  อารมณ์แสดงออกได้หลายวิธี : ซ่อนเร้น เปิดเผย หรือเก็บกด อารมณ์ปรับปรุงได้ : อารมณ์เรียนรู้ได้ ทำให้เบาบางลง      นอกจากนี้ขอให้ข้าใจกระบวนการจัดการกับอารมณ์   ซึงมี5ขั้นตอน ได้แก่  1. รู้ว่าจะเกิดอารมณ์อะไรกับตนเอง  2. วิเคราะห์แยกแยะลำดับขั้นตอนอารมณ์ที่จะตามมาได้เช่นอารมณ์โกรธ  : เริ่มจาก สะดุดฉุนกึก- เลือดขึ้นหน้า - มือไม้สั่น - ต้องการระบายออก -  ผ่อนคลาย 3. อ่านอารมณ์ผู้อื่นได้ 4. ควบคุมอารมณ์ของตนไว้ และ 5. แสดงออกได้เหมาะสม   อารมณ์ที่ทำให้ผู้หญิงต้องระมัดระวังและหลีกลี่ยง คือการ ร้องไห้ต่อวงประชุม  นินทาต่อหน้าผู้คนและ กริยาปากตลาด

 

     ส้มไม่เคยหล่นบน เท้าผู้หญิง   ผู้หญิงต้องอึดมากกว่าคนอื่น



00137 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-05-25 00:33:24 v : 3432



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา