อืทธิพลเงินหยวน


อิทธิพลเงินหยวนกับการค้าชายแดนในลุ่มแม่น้ำโขง: Influences of Chinese Yuan in GMS Zone


 

 

 

โดย อาคม สุวรรณกันธา

 

เลขานุการ คณะกรรมการ คสศ.*

 

            นับเป็นปรากฎการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เมื่อโฆษกธนาคารประชาชนจีนหรือธนาคารกลางของจีนประกาศ เพิ่มความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวน เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา อันเป็นกระบวนการหนึ่งของการปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนของจีน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เงินหยวนเป็นหน่วยเงินในการชำระบัญชีระหว่างประเทศ และมีอิทธิพลสำคัญในเศรษฐกิจโลกได้

 

            ทั้งนี้ มีการสะท้อนว่าการปรับตัวครั้งนี้ของจีน เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศจีนกำลังพัฒนา และฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศพัฒนาที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแทนอย่างเห็นได้ชัด ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนขาดความยืดหยุ่น ก็จะเป็นการจำกัดอิสรภาพของนโยบายเงินตราของจีนอย่างมาก และไม่เป็นผลดีต่อการปรับปรุงเศรษฐกิจภายในประเทศ และเหตุผลสุดท้ายคือวิกฤติการเงินระดับโลกทั้งจากสหรัฐและยุโรปเองไม่น่าไว้วางใจที่จะส่งผลโดยตรงต่อจีน

 

            สิ่งที่จีนต้องทำคือต้องออกนโยบายพิเศษเพื่อป้องกันเศรษฐกิจในประเทศของตนจากวิกฤตการเงินที่กำลังระบาดลุกลาม และจะช่วยให้ผู้กำกับนโยบายมีความสามารถที่จะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มค่าเงินหยวนอาจจะยืดหยุ่นตามความสัมพันธ์ของเงินยูโรกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

            ผลดีที่ตามมาคือการประกาศยืดหยุ่นค่าเงินหยวน จะเป็นการเพิ่มกระตุ้นการลงทุนในจีนมากขึ้น   รวมถึงเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของจีนให้เติบโตขึ้นในระยะยาว และ จะทำให้ค่าเงินหยวนเป็นเงินตราสากล (International Currency)

 

 

            ต้องยอมรับว่าการเคลื่อนไหวของจีนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในการเคลื่อนไหวทางการเงินของจีน แต่หากน่าสนใจว่าจีนได้กระตุ้นและผลักดันให้ค่าเงินหยวนมีอิทธิพลต่อการค้าระหว่างประเทศมาตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา  

 

            กล่าวคือจากการประชุมคณะมุขมนตรีจีน ที่มีนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551  รัฐบาลจีนได้อนุญาตให้ทดลองใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินหักชำระบัญชีการค้าระหว่างประเทศในเขตมณฑลกวางตุ้ง และเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำฉางเจียง (บริเวณนครเซี่ยงไฮ้,มณฑลเจียงซู และมณฑลเจ้อเจียง) เพื่อทำการค้ากับฮ่องกงและมาเก๊า และอีกเขตหนึ่ง คือ เขตปกครองตนเองของชนชาติจ้วงกว่างซี และมณฑลยูนนานเพื่อทำการค้ากับประเทศกลุ่ม GMS และอาเซียน 10 ประเทศ

 

            สำหรับ โครงการนำร่องใช้เงินสกุลหยวนทำการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนสอดรับการที่ทางการจีนอนุญาตให้ชาวจีนที่อยู่บริเวณชายแดนสามารถข้ามไปซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (การค้าชายแดน) ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3,000 หยวน/ต่อคนโดยไม่ต้องเสียภาษี เป็นวันละไม่เกิน 8,000 หยวน/ต่อคน การเพิ่มวงเงินนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เดือน 1 พฤศจิกายน 2551 แล้ว

 

            ในข้อเท็จจริงแล้ว การใช้เงินสกุลหยวนในการค้าระหว่างประเทศตามแนวชายแดนได้ใช้อย่างไม่เป็นทางการมานานแล้ว เช่น ฮ่องกง หรือในเขตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ เวียดนาม พม่า หรือแม้แต่ชายแดนไทยที่ติดกับประเทศพม่า แต่ยังไม่มีความแพร่หลายเพียงพอที่จะเรียกได้ว่าเป็นเงินสกุลหลักได้ เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนเพียงน้อยนิดในมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของจีนเท่านั้น

 

 

            นอกจากนี้ การค้าชายแดนเหล่านี้ซื้อขายกันโดยใช้เงินสดเป็นสื่อกลาง ไม่ได้ชำระเงินผ่านระบบธนาคารเหมือนการค้าระหว่างประเทศทั่วไป จึงไม่ได้อิงมูลค่าหรือคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามหลักของธนาคารแต่อย่างใด

 

            ล่าสุดทางการจีนก็ออกมาตรการล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2553  ทางกรมศุลกากรของ สป.จีน ได้อนุมัติมาตรการการคืน/ยกเว้นภาษีให้แก่การค้าชายแดนมูลค่าน้อยที่ทำการคำนวณราคาด้วยสกุลเงินหยวน โดยการขอคืนภาษีนอกจากวิสาหกิจจะต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการชำระภาษีแล้ว ยังต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการคำนวณบัญชีด้วยสกุลเงินหยวนประกอบด้วย ซึ่งเป็นการตอกย้ำการขยายอิทธิพลของเงินหยวนอย่างแท้จริง

 

            สอดคล้องจากข้อมูลสถิติการค้าชายแดนกับกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า การค้าระหว่างจีนกับประเทศเวียดนามมากกว่าร้อยละ 90 ใช้สกุลเงินหยวนในการชำระเงิน นอกจากนี้ สกุลเงินหยวนสามารถใช้ได้ทั่วประเทศเวียดนาม  และธนาคารแห่งชาติเวียดนาม (The State Bank of Vietnam) ได้เปิดบริการการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฝาก-ถอนสกุลเงินหยวน

 

 

 

ขยายพื้นที่นาร่องชาระเงินหยวนเพื่อการค้าต่างประเทศและการลงทุน

 

            กระทั่ง ในวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ธนาคารกลางจีน (PBC) กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ศุลกากร สรรพากร และคณะกรรมการกากับดูแลสถาบันการเงิน สป.จีน จึงร่วมแถลงข่าวขยายพื้นที่นาร่องชาระเงินหยวนเพื่อการค้าต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าและอานวยความสะดวกด้านการลงทุน โดยขยายจาก 5 เมืองหลักเป็น 20 มณฑล/มหานคร/เขตปกครองตนเอง ได้แก่ มหานครปักกิ่ง มหานครเทียนจิน (เทียนสิน) มองโกเลียใน เหลียวหนิง เจียงซู เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ซานตง หูเป่ย กวางสี ไห่หนาน (ไหหลา) ฉงชิ่ง เสฉวน ยูนนาน จี๋หลิน เฮยหลงเจียง ทิเบต ซินเจียง และกวางตุ้ง (ทั้งมณฑล) โดยมีความเคลื่อนไหวในปี 2553 ที่สำคัญดังนี้

 

1.)  ขยายจำนวนบริษัทนาร่องเพิ่มขึ้น

 

            รัฐบาลจีนอนุญาตให้ผู้ประกอบการในจีน 365 บริษัท แยกเป็นบริษัทในมณฑลกวางตุ้ง (เมืองกวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ และตงกวน)273 บริษัท และจากมหานครเซี่ยงไฮ้ 92 บริษัท  เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 PBC และหน่วยงานภาครัฐของจีนได้ประกาศไม่จากัดประเทศในการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าต่างประเทศ เป็นการสร้างขอบเขตการค้าด้วยสกุลหยวนให้กว้างขึ้น

 

2.)  การจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินคุนหมิง

 

            วันที่ 27 กรกฎาคม 2553 รัฐบาลมณฑลยูนนานและเมืองคุนหมิงได้จัดสัมมนา Dianchi Cooperation for Opening Asia (DCOA) First Annual Meeting เรื่อง Dianchi Conference on Cross-border Financial and Monetary Cooperation Channel Development ที่เมืองเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการนาร่องใช้เงินสกุลหยวนชาระเงินเพื่อการค้ามณฑลยูนนาน และแผนงานเปิดศูนย์บริการทางการเงินคุนหมิง (Financial Service Center และ RMB Settlement Center) การเปิดตัวโครงการนี้ มีการลงนามความร่วมมือการชาระเงินสกุลหยวนระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ และธุรกิจภาคเอกชน

 

            โดยสรุปแล้ว นับตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2552 - 30 มิถุนายน 2553 มีการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าระหว่างประเทศแล้ว 106.6 พันล้านหยวน โดยในครึ่งแรกของปี 2553 มีการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าระหว่างประเทศแล้ว 70.6 พันล้านหยวน เป็นการค้าต่างประเทศของมณฑลกวางตุ้งที่ 51.1 พันล้านหยวน และของมหานครเซี่ยงไฮ้ที่ 19.5 พันล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 72.3 และร้อยละ 27.7 ของการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าต่างประเทศ ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ที่มีมูลค่าเพียง 36 พันล้านหยวน อย่างไรก็ตามการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าระหว่างประเทศของจีนส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมการค้ากับฮ่องกงถึงร้อยละ 75 ของปริมาณการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด

 

 

 

 

 

วิเคราะห์บทบาททิศทางเงินหยวนในอนาคต

 

             ทิศทางการผ่อนคลายการใช้เงินสกุลหยวนมากขึ้นของทางการจีนผ่านการขยายขอบเขตการใช้เงินสกุลหยวนในด้านต่างๆ ตลอดจนการออกตราสารทางการเงินสกุลเงินหยวนมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการบริหารจัดการสภาพคล่องเงินหยวน จะส่งผลให้การใช้เงินหยวนแพร่หลายมากขึ้น สะท้อนถึงทิศทางการดาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเงินหยวนของทางการจีนอย่างชัดเจน กล่าวคือ ทางการจีนกาหนดยุทธศาสตร์ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

 

             1. ระยะแรก ใช้เงินหยวนชาระเงินเพื่อการค้าต่างประเทศ

 

             2. ระยะที่สอง พัฒนาเงินหยวนให้สามารถทาธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้

 

             3. ระยะที่สาม พัฒนาให้เงินหยวนเป็นสกุลเงิน ที่สามารถใช้เป็นทุนสารองระหว่างประเทศได้อีกสกุลเงินหนึ่งของโลก

 

            ด้านการค้าระหว่างจีนกับประเทศพม่า มีปริมาณเงินสกุลเงินหยวนไหลเวียนระหว่างประเทศมากกว่า 1,000 ล้านหยวน/ปี  

 

            ขณะที่การค้าชายแดนไทย-จีนในเขตภาคเหนือมีมูลค่ารวม 5,008.2 ล้านบาท คิดเป็น 0.41% ของการค้าไทย-จีนทั้งประเทศ  จึงมีแนวโน้มว่าการนำเงินหยวนเข้ามาใช้ในการค้าขายระหว่างไทยกับจีนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

            ดังนั้น ผลดีหากจีนเปิดให้ใช้หยวนมาเป็นสื่อกลางการค้าชายแดนได้ก็จะทำให้การค้าเข้าสู่ระบบทันที พ่อค้าก็ไม่ต้องเสียค่าแลกเปลี่ยนเงิน 3 ครั้ง จากบาทเป็นดอลลาร์ จากดอลลาร์เป็นหยวน รวมทั้งไม่เสียส่วนต่างจากการซื้อขายเงินหยวนที่แต่ละธนาคารจะคิดแตกต่างกันไปด้วย

 

 

 

ปัญหาอุปสรรคการใช้เงินหยวนในตลาดการเงิน

 

            การชาระเงินสกุลหยวนผ่านธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมายังมีปริมาณธุรกรรมการชาระเงินหยวนเพื่อการค้าไม่มากนัก จากสาเหตุดังนี้

 

1.     เดิมทางการจีนกาหนดจานวนบริษัทร่วมโครงการนาร่องน้อยเพียง 365 บริษัท และกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ 5 เมืองหลัก (เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ ตงกวน) อย่างไรก็ตาม นโยบายการผ่อนคลายการชาระเงินสกุลหยวนเพื่อการค้าเมื่อมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายบริษัทนาร่องและขยายพื้นที่นาร่องเป็น 20 พื้นที่ จะสนับสนุนธุรกรรมการชาระเงินหยวนเพื่อการค้าของไทยในระยะต่อไป

 

2.     ลูกค้าธนาคารไทยคุ้นเคยการใช้ดอลลาร์ สรอ.และไม่แน่ใจการชาระเงินสกุลหยวน เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์โครงการ ทาให้การใช้สกุลเงินหยวนเพื่อการชาระเงิน ยังเป็นที่รู้จักน้อย

 

3.     ผู้ประกอบการไทยยังมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่รับทาธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันมีเพียงธนาคารกสิกรไทยที่รับทาธุรกรรม Forward สกุลหยวน ขณะที่ผู้ประกอบการจีนที่ค้าด้วยสกุลหยวน ไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และได้รับการยกเว้นภาษีจากการส่งออกสินค้าเป็นสกุลเงินหยวนได้

 

4.     อัตราแลกเปลี่ยนยังไม่จูงใจเท่าที่ควร spread อัตราซื้อ-ขายเงินหยวน ยังกว้าง เมื่อเทียบกับการชาระเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม spread อัตราซื้อ-ขาย ขึ้นกับปริมาณธุรกรรมการชาระเงินหยวน ซึ่งในระยะต่อไปเมื่อมีปริมาณธุรกรรมมากขึ้นจะทาให้อัตราซื้อ-ขายเงินสกุลหยวนแคบลงกว่าปัจจุบัน

 

5.     การชำระผ่านตลาดนอกระบบมีต้นทุนต่ำกว่ามาก โดยอัตราซื้อ-ขาย บาท/ หยวนในตลาดแลกเปลี่ยนนอกระบบแตกต่างกัน 0.01 บาท เช่นอัตรารับซื้อ 4.71  บาท/หยวน และอัตราขาย 4.72 บาท/หยวน ขณะที่อัตราที่ธนาคารพาณิชย์ไทยรับซื้อ-ขาย ต่างกันประมาณ 0.15 บาท เช่น อัตราซื้อ 4.64875 อัตราขาย 4.79750 บาท/หยวน เป็นต้น

 

6.     การชำระผ่านสถาบันการเงินต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบรายชื่อ สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ชำระผ่านธนาคารพาณิชย์ต้องยื่นเรื่องให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยส่งเรื่องให้ทางการจีนพิจารณาก่อนว่าสามารถทำการค้าเป็นเงินหยวนได้หรือไม่ โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ขณะที่การชำระผ่านตลาดเงินนอกระบบสามารถโอนชำระเงินภายในเวลา 1 ชั่วโมง

 

7.     พ่อค้าจีนได้ประโยชน์โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่พ่อค้าไทยยังต้องรับภาระความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สนใจใช้บริการดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจุบันบางธนาคารเริ่มทำการรับซื้อ Forward เงินหยวนแล้ว

 

8.      ทางการจีนขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ ทำให้ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงินในต่างประเทศ ไม่ทราบ กฎระเบียบต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีรายชื่อบริษัทนำร่องที่ได้รับอนุญาตเผยแพร่ทั่วไป ซึ่งทางการจีนก็มิได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศคู่ค้าต่างๆ ทราบ

 

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะให้เงินหยวนเกิดในเวทีการค้า

 

            อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนให้เกิดการชาระเงินสกุลหยวนและบาทเพื่อการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาสกุลเงินประเทศที่สาม จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการผลักดันจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

 

1.   ทางการจีนควรออกกฎระเบียบให้ชัดเจนและเปิดกว้างมากขึ้น อาทิ ยกเลิกการกาหนดรายชื่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้สามารถทาการค้าเป็นสกุลหยวน เพื่อให้มีผู้มีส่วนร่วมในตลาดได้มากขึ้น อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะขยายความลึกและความกว้างของตลาดมากกว่าที่จะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผู้เล่นบางราย นอกจากนั้น ทางการจีนควรสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการของประเทศคู่ค้าที่ทาการค้าด้วยเงินสกุลหยวน เช่น ลดภาษีนาเข้าจีนในสินค้าที่ชาระเงินเป็นสกุลหยวน เช่นเดียวกับที่สร้างแรงจูงใจด้านภาษีส่งออกให้กับผู้ประกอบการจีน

 

2.   ภาครัฐและภาคเอกชนทั้งจีนและไทย ควรเร่งประชาสัมพันธ์การชาระเงินสกุลหยวนในประเทศไทยและต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียดโครงการดังกล่าว โดยเรื่องของข้อมูลข่าวสาร นับเป็นประเด็นสาคัญอย่างมาก เพราะบ่อยครั้งที่พบว่าความไม่เข้าใจเกิดจากการสื่อสารยังไม่ทั่วถึง

 

3.   ธนาคารพาณิชย์ไทยควรหาช่องทางที่ช่วยภาคเอกชนปิดความเสี่ยงจากการชาระเงินสกุลหยวน เช่น การให้บริการป้องกันความเสี่ยงสกุลเงินหยวน เช่นเดียวกับดอลลาร์ สรอ.

 

4.   ธนาคารพาณิชย์ควรปรับลด spread อัตราการซื้อขายเงินสกุลบาท/หยวนจูงใจให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงไปใช้สกุลหยวนชาระเงินแทนดอลลาร์ สรอ.มากขึ้น

 

 

 

 

นัยสำคัญต่อ GMS

 

             ปัจจุบันเงินหยวนมีการไหลออกสู่ต่างประเทศในปริมาณมากขึ้น   ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มมีการถือครองเงินหยวนเพิ่มมากขึ้น เช่น เวียดนาม รัสเซีย เกาหลีเหนือ พม่า ลาว ฮ่องกง เป็นต้น โดยเฉพาะในฮ่องกงนั้น มีเงินหยวนไหลเวียนอยู่มากถึง 70,000 ล้านหยวน จีนได้ทำข้อตกลงสว็อปเงินกับหลายประเทศ อาทิเช่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย รัสเซีย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา รวมมูลค่าการสว็อปเงิน 650,000ล้านหยวน  เป็นนัยยะสำคัญว่าประเทศข้างต้นให้ความสำคัญต่อเงินหยวนเพิ่มขึ้น

 

            ขณะที่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีปัญหา หลายประเทศจึงหันมาใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินในการติดต่อการค้ามากขึ้น  และรัฐบาลจีนกำลังมีโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศอื่นๆ โดยใช้เงินสกุลหยวน เพื่อผลักดันให้เงินหยวนมีการใช้กันอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเงินช่วยเหลือ และเงินลงทุนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

 

            นัยยะสำคัญ การที่จะให้เงินหยวนเป็น international currency ได้นั้น ก็ต้องมีขั้นตอน คืออย่างแรก ต้องให้เงินหยวนสามารถเป็นสื่อกลางในการค้าขายได้ก่อน หลังจากนั้นก็สามารถนำเงินหยวนไปใช้เพื่อการลงทุนได้ และขั้นตอนสุดท้ายคือทุกประเทศยอมรับให้เงินหยวนเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเงินคงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 10-20 ปี เพราะอิทธิพลของสหรัฐฯ ได้แผ่ขยายไปทั่วโลกมาเป็นเวลานาน จึงเป็นการยากที่จะบั่นทอนอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐลงได้ภายในระยะเวลาอันสั้นได้

 

            และแน่นอนหากจีนเปิดให้ซื้อขายสินค้าด้วยเงินหยวนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือในตลาดโลกมากขึ้น จะทำให้จีนสามารถคุมกลไกการค้าในอาเซียนได้มากขึ้น อิทธิพลทางการค้าของจีนจะสูงขึ้นอีกมหาศาล จึงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่าจีนจะก้าวอย่างไรต่อไปในเวลาที่บีบคั้นทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

 

 

 

* คสศ.: คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ

 

อ้างอิงธปท.ภาคเหนือ



01198 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2011-12-08 13:00:26 v : 3040



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา