关羽 กวนอู


            

          “กวนอู” หรือชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า “กวนอวี่(关羽)” ได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างสูงจากชาวจีนในปัจจุบัน ในทางลัทธิเต๋าได้ยกย่องให้กวนอูเป็น “เซียน” แห่งความภักดีและซื่อสัตย์ อีกทั้งยังถือว่าเป็น “เทพ” แห่งโชคลาภ เรียกกันว่า “อู่ไฉเสินเย่” หรือ “ไฉซิงเอี๊ยบู้(武财神爷)” ในขณะที่ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานยกย่องให้กวนอูเป็นโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เรียกกันว่า พระสังฆรามโพธิสัตว์ หรือ “เจียหลานผูซ่า” (伽蓝菩萨)

          คติการนับถือกวนอูเป็นเสมือนดั่งประหนึ่งเทพเจ้านั้น มีที่มาเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1102 ในสมัยราชวงศ์ซ่ง รัชสมัย ซ่งฮุยจงฮ่องเต้ โดยได้พระราชทานอวยยศบรรดาศักดิ์ให้กวนอูเป็น “จงฮุ่ยกง(忠惠公)” หมายถึง เทพผู้ภักดี นับตั้งแต่นั้นมา ในทุกราชวงศ์หลังจากนั้นคือ ราชวงศ์หยวน, หมิง และชิง ก็ได้มีการถวายบรรดาศักดิ์ให้แก่กวนอู จนมีฐานะเป็นดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่งของจีน ชาวบ้านทั่วไปจะเคารพเทิดทูนกวนอูเป็นอย่างสูง และมักเรียกท่านว่า “กวนเซิ่งตี้จวิน(关圣帝君)”, “กวนกง (关公)” , “กวนตี้ (关帝)”, “กวนเหล่าเย่ (关老爷)” , “กวนเอ้อเย่ (关二爷)” และ “กวนเอ้อเกอ(关二哥)” เป็นต้น

          ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ในประเทศจีนมีศาลเจ้าของกวนอูเป็นจำนวนมาก และยังแพร่หลายในไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งในประเทศต่าง ๆทั้งในเอเชียและยุโรป ที่มักจะมีศาลกวนอูอยู่ตามแหล่งชุมชนชาวจีนทั่วทุกมุมโลก

          ในประวัติศาสตร์จริงของกวนอู เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในปลายราชวงศ์ฮั่นและสมัยสามก๊กที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันดี กวนอู(กวนอวี่) มีชื่อรองว่า “กวนหวินฉาง(关云长)” เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ ฟุตจีนหรือประมาณ ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอกมีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ

กวนอูได้เข้าร่วมสัตย์สาบานเป็นพี่น้องกับเล่าปี่และเตียวฮุย จากนั้นมา ก็ได้ออกสู้รบทำศึกด้วยความห้าวหาญ และมีส่วนช่วยให้เล่าปี่ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งก๊กสู่ (จ๊กก๊ก) วีรกรรมต่าง ๆ ในสมัยสามก๊กของกวนอูเป็นที่เล่าขานสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน สร้างความประทับใจให้แก่ชาวจีนอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น เมื่อภาพลักษณ์แห่งกวนอูได้สะท้อนผ่านงานทางด้านศิลปะทั้งจิตรกรรมและประติมากรรมจึงมักปรากฏรูปของกวนอูในบุคลิกของขุนศึกผู้เหี้ยมหาญและซื่อสัตย์ ส่วนใหญ่แล้วจะสร้างกวนอูมีใบหน้าสีแดง หนวดเครายาวจรดอก สวมอาภรณ์สีเขียว มีใบหน้าที่กล้าหาญและดุดัน

          ภาพแห่งกวนอูในฐานะของเทพเจ้าแห่งสงคราม จึงเป็นสัญลักษณ์สิริมงคลในความหมายของการต่อสู้ชิงชัย และมักสวมชุดเกราะห้ามังกรพร้อมง้าวมังกรเขียวงานศิลปหัตถกรรมเกี่ยวกับกวนอูจึงมีรูปแบบและลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และได้รับการกราบไหว้บูชาในความหมายที่แตกต่างกันไปด้วย คือ

                   

          “ลี่กวนกง(立关公)” หรือ “กวนอูยืน” เป็นคำเรียกรูปเคารพกวนอูในท่ายืน สองตาเขม็งเพ่งมองไปเบื้องหน้า มือขวามักจะถือง้าวมังกรเขียวไว้ข้างกาย มีท่วงท่าที่องอาจงามสง่าพร้อมออกศึก นับเป็นรูปเคารพกวนอูที่พบเห็นกันมากที่สุด และได้รับการประดับบูชาไว้ตามอาคารบ้านเรือนและบริษัทสำนักงานปกติแล้วจะต้องวางรูปกวนอูยืนในตำแหน่งที่หันหน้าออกหน้าบ้าน แต่จะไม่วางไว้ตรงหน้าประตูทางเข้า โดยจะวางไว้บริเวณภายในบ้านแล้วค่อยหันหน้าออกสู่ด้านนอก เชื่อกันว่า จะช่วยขับไล่สิ่งชัวร้ายนานาและภัยอุปสรรคทั้งมวลให้ผ่านพ้นไป เพราะหากมีสิ่งชั่วร้ายใด ๆ เข้ามาสู่ประตูบ้านแล้ว เมื่อเห็นรูปกวนอูยืนอยู่ด้านใน ก็จะหลีกลี้หนีไปไกลแสนไกล

                

          “ฉีหม่ากวนกง(骑马关公)” หรือ “กวนอูขี่ม้า” เป็นรูปกวนอูในท่าควบขับบนหลังม้าที่กำลังโผนโจนทะยาน เป็นท่วงท่าก่อนออกทำศึกสงคราม ดังนั้น การวางรูปเคารพกวนอูในแบบลักษณะนี้ จะเท่ากับการประกาศศึกกับศัตรู ปกติแล้วนิยมตั้งรูปกวนอูในท่าควบขับบนหลังม้าเพื่อสะท้อนถึงความหมายของการต่อสู้แข่งขันทางธุรกิจการค้า หากตั้งประดับไว้ก็จะประสบชัยชนะเหนือคู่แข่งทั้งปวง

                      

          “กวนกงเย่ตู๋ (关公夜读)” หรือ “กวนอูอ่านตำรายามราตรี” เป็นรูปกวนอูในท่าอ่านตำรา มือหนึ่งถือตำราหนังสือม้วนพับไว้อีกมือหนึ่งจะลูบเคราในลักษณะท่วงท่าสมาธิระหว่างการอ่านตำรา ดังนั้น การวางรูปเคารพกวนอูในลักษณะแบบนี้ จะเป็นเคล็ดในความเชื่อว่า หากตั้งไว้ ณ ตำแหน่งของการศึกษาตามหลักฮวงจุ้ยแล้วก็จะทำให้ประสบชัยชนะในการศึกษาเล่าเรียนและสามารถสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ดั่งใจปรารถนา

          ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าเวลาจะพ้นผ่านไปนานนับร้อยนับพันปี ความเชื่อความศรัทธาในเทพเจ้ากวนอูที่มีฐานะเสมือนหนึ่ง “เทพแห่งความซื่อสัตย์” “เทพเจ้าแห่งโชคลาภ” และ “เทพแห่งสงคราม” จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์สิริมงคลที่หยั่งรากฝังลึกอยู่ในคติความเชื่อของชาวจีนมาทุกยุคทุกสมัย และเป็นที่สักการบูชามาตราบจนปัจจุบัน



01146 โดย วลัยลักษณ์ ภู่เจริญ 2011-10-18 21:10:15 v : 9957



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา