ความสำคัญและความจำเป็นของการนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน


ความสำคัญและความจำเป็นของการนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน
 

 


                   
 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่งถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จะเห็นว่านอกจากรัฐจะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีให้ทั่วถึงโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แล้วที่สำคัญการจัดการศึกษาจะต้องมีคุณภาพพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายนอกหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพส่วนหนึ่งของการบริหาร เพื่อเตรียมการรับการประกันคุณภาพจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาซึ่งจะต้องประเมิณคุณภาพภายนอกทุกห้าปี ด้วยความจำเป็นตามนัยดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนจึงเป็นหน่วยงานที่มีความจำเป็นมากที่สุด ในการดำเนินงานให้มีคุณภาพตมมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคมและสาธารณชน

                     ระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป้นระบบที่ดำเนินการให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนด้วยระบบควบคุมคุณภาพกำหนดมาตรฐานและพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐาน ตรวจสอบ ปรับปรุง และประเมินคุณภาพ ซึงโรงเรียนต้องจัดทำธรรมนูญโรงเรียน เพื่อเป็นการวางแผนการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานระยะ 3 ปี ถึง 5 ปี ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อเป็นแผนการนำธรรมนูญโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติจริง การนำแผนไปใช้ การประเมิณตนเองเพื่อปรับปรุงพัฒนาและสรุปรายงานผลดำเนินงานต่อต้นสังกัดและชุมชน ซึ่งการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานนี้โรงเรียนได้รับการนิเทศช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และตรวจสอบผลปฏิบัติงาน จากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ตามนโยบายโรงเรียนสู่มาตรฐาน เพื่อการส่งเสริมและเตรียมการรองรับการประเมินจากองค์กรภายนอก เป็นการสร้างความมั่นใจต่อสาธารณชนว่าโรงเรียนได้รับการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 



                  
  การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียนคืออะไร ?

การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน เป็นยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียน ที่จะทำให้เกิดสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาทั้งด้านปัจจัย กระบวนการและการผลิต ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าเป็นมาตรฐานการศึกษาของหน่วยงานแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับกรม ระดับพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน อันจะมีผลให้เกิดการจัดการศึกษา มีประสิทะภาพ นักเรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย

 

                    ใครได้รับประโยชน์จากการนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน ?

การพัฒนาระบบการศึกษาทั้งด้านปัจจัยกระบวนการ และผลผลิตให้มีสภาพที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐาน ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายของโรงเรียนดังนี้


                    1. นักเรียน
นักเรียนเป็นผู้ที่ได้รับผลโดยตรงจากการจัดการศึกษา การได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ตามมาตรฐานการเรียนการสอน ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปัจจัย สิ่งอำนวยความสะดวก มีแหล่งการเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ ในการเรียนรู้ที่เหมาะสมย่อมทำให้นักเรียนมีโอกาศได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับความถนัดความสนใจ ความสามารถของตนเองเรียนรู้การปฏิบัติจริง แสวงหาค้นพบความรู้ และวิธีการเรียนรู้ ด้วยตนเองมีความสุขในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ แลมีคุณลักษณะครบถ้วนตามหลักสูตร



                
   การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรมีบทบาทอย่างไร ?
การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรุ้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการปฏิบัติตนและการปฏิบัตรงานเพื่อการนำมาตรฐานสู่โรงเรียน ตามเป้าหมายโดยแต่ละฝ่ายพึงมีบทบาทที่เหมาะสมดังนี้

               บทบาทผู้บริหารโรงเรียน


ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากต่อการนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน การจัดการควบคุมกำกับ ให้ดำเนินงานภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ โรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานผู้บริหารควรมีบทบาทดังนี้

                  1. ศึกษา เรียนรู้ พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์ และมีเจตคติที่ดีต่อการนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน สร้างภาวะผู้นำในตนเองให้สามารถทำหน้าที่ที่เป็นุ้นำในการพัฒนาได้อยางชัดเจน เพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธา และการยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

                  2. พัฒนาบุคลากร ทั้งครู อาจารย์กรรมการโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ตระหนักในความสำคัญ รู้ เข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

                  3. ปรับแนวทางการบริหารทางการบริหารโรงเรียนใหม่ เปลี่ยนจากการบริหารแบบผู้บริหารเป็นศูนย์กลางการบริหารแบบทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร่วมคิดวางแผนตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกัน ซึ่งการบริการในลักษณะนี้ใช้ทักษะการทำงานเป็นทีม การกำหนดผู้รับผิดชอบ การวางแผนและการกำกับดูแล และการมีส่วนร่วมปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง

                  4. ทำหน้าที่บริหารจัดการส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้การปรึกษาแนะนำ ดูแลให้โรงเรียน มีการพัฒนาทั้งด้านการบริหาร และการจัดการเรียนการสอนสู่มาตรฐาน โดยการเป็นแกนนำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนมาตรฐานโรงเรียน จัดทำธรรมนูญโรงเรียน จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อนำธรรมนูญโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติ ปฏิบัติตามแผน ประเมินตนเองและสรุปผลการพัฒนาร่วมกัน

                  5. มีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนการสอน ด้วยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการปฏิบัติ นิเทศติดตามช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวกด้านสื่อ อุปกรณ์ วัสดุสิ้นเปลือง แหล่งการเรียนรู้ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน และมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

 


บทบาทของครู
ครู อาจารย์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามาตราฐานการนำมาตราฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียนจะบรรลุความสำเร็จ ถ้าครูผู้สอนปรับเปลี่ยนแนวคิดว่าการจักการการศึกษามิใช่เป็นเพียงหน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมแรง ร่วมใจกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำตามบทบาทหน้าที่ เพื่อพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพพร้อมที่จะทำหน้าที่และเป็นที่พึ่งของตนเองครอบครัวและสังคม นอกจากนั้นครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณืจริงให้มากที่สุดโดยนักเรียนจะต้องเป็ยผู้แสวงหส ค้นหาและสรุปความรู้ด้วยตนเอง ครูทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก และประสานการเรียนรู้ เช่น จัดหาสื่ออุปกรณ์ ขอความร่วมมือจากแหลงการเรียนรู้ เป็นต้น การนำมาตราฐานสู้โรงเรียนและห้องเรียนครูผู้สอนพึงมีบทบาทที่สำคัญดังนี้

       1. ศึกษาเรียนรู้หลักการ กระบวนการนำมาตราฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน และวิธีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole school Approach ; WSA) เพื่อให้ตระหนักเและเข้าใจใตนบทบาทหน้าที่ของตนเองอละผู้ที่เกี่ยวข้อง
       2. มีบทบาทร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตราฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมกำหนดมาตรฐานโรงเรียน จัดทำธรรมนูญโรงเรียนและแผนปฏิบัติการประจำปี นำแผนไปปฏิบัติจริง ประเมินตนเองและสรุปรายงาน     และมีบทบาทสำคัญในการประเมินตนเองและสรุปรายงาน และมีบทบาทสำคัญในการประเมินตนเองด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐาน
      3. มีจิตสำนึกมุ่งมั่น และเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการจักกระบวนการเรียนรู้ให้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญตามมารตฐานการเรียนการสอน
      4. จัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เพื่อให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนในความรับผิดชอบทั้งด้านความรู้ความสามารถ ความถนัดความสนใจ ปัญหาความต้องการและการพัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียนเพื่อสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน
      5. ศึกษาข้อมูลชุมชนในด้านต่างๆ เช่นปัญหาความต้องการด้านการจัดการการศึกษาของชุมชน แหล่งทรัพยากร ปัจจัย ภูมฺปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่สามารถนำมาใช้ประโยชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ เพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชน นักเรียนได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต
      6. ประสานกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนเรียนรู้ของบุตรหลาน ทั้งด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้
      7. ศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝนัฒนาตนเองให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นนักเรียนเป็นสำคัญ ตามาตราฐานการเรียนการสอน โดยเริ่มจากการฝึกจัดกระบวนการเรียนกลุ่มประสบการณ์ วิชาเนื้อหาที่ตนเองมีความถนัดความสนใจเป็นพื้นฐานก่อน โดยพยายามสรรหากิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเรียนรู้จากการสัมผัสและปฏิบัติจริง มิใช่เรียนรู้โดยมีครูและหนังสือแบบเรียนเป็นแหล่งความรู้เท่านั้น วางแผนการเรียนรู้แล้วจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแผนที่วางสังเกตพพฤติกรรมและผลการเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนแล้วนำมาวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อย เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แล้วจึงขยายแนวคิดในการจัดประสบการ์เรียนรู้ไปสู่กลุ่มประสบการณ์วิชาและเนื้อหาอื่นๆ การฝึกฝนพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้แบบเน้นนักเรียนเป็นสำคัญได้ เป็นการพัฒนางานในหน้าที่การสอนทำให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพได้ในที่สุด
     8. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองให้นักเรียน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
     9. จัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ความถนัดความสนใจพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณธรรมค่านิยม ด้านสุนทรียภาพ

    10.วัดประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายผลการประเมินมาปรับปรุงการเรียนของนักเรียนและการสอนของครู


บทบาทของนักเรียน

การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน เป็นเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะครบถ้วนตามมาตราฐานคุณภาพนักเรียน ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง รวมทั้งตัวของนักเรียนต้องมีบทบาทในการร่วมพัฒนาและพัฒนาตนเองด้วยดังนี้

  1. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตราฐานตามความเหมาะสม เช่นร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความต้องการในด้านต่างๆ ของนักเรียน เสนอแนวทางการพัฒนาและร่วมประเมินผลการพัฒนา เป็นต้น
  2. รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ใฝ่เรียน ศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  3. ร่วมวางแผนการเรียนรู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เต็มคามสามารถและร่วมประเมินการเรียนรู้

 

                  บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา
การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียนต้องปรับกระบวนการบริหารจากผู้บริหารเป็นศูนย์กลางการบริหาร เป็นการบริหารแบบกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบไปสู่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นคณะบุคคลที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริงจึงก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐาน โดยควรมีบทบาทดังนี้

  1. ศึกษาเรียนรู้ หลักการกระบวนการการนำมาตราฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียน และวิธีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole school Approach) เพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ และรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
  2. ร่วมกิจกรรมการพัฒนาทุกขั้นตอน เช่น กำหนดมาตรฐานโรงเรียน ธรรมนูญโรงเรียนพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปี สนับสนุนช่วยเหลือดูแลและติดตามกำกับการดำเนินตามแผนของสถานศึกษา และร่วมประเมินผลการพัฒนา
  3. ร่วมตัดสินใจวินิจฉัย ให้ความเห็นชอบการดำเนินงานทางการศึกษาในด้านต่างๆ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น
  4. สนับสนุนทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือโรงเรียน และให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเรียนการสอน การบริหารงานการเงินบัยชี การปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่ ฯลฯ
  5. เป็นแกนนำประสานความร่วมมือกับองค์กรนท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
  6. รวมประเมินผล และชื่นชมประชาสัมพันธ์ในความสำเร็จของการพัฒนาโงเรียนสู่มาตรฐาน

 


บทบาทของผู้ปกครองและชุมชน
           ผู้ปกครองและชุมชน จัดว่าเป็นผู้รับผลผลิตกาจการจัดการศึกษาโดยตรง บทบาทของผู้ปกครองและชุมชนที่เหมาะสม จเป็นการส่งเสริมสนัยสนุนให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพตามมาตรฐานโดยพึงมีบทบาทดังนี้

  1. ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมในการพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐานและร่วมกิจกรรมการพัฒนาตามความเหมาะสม เช่น ร่วมกำหนดนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานโรงเรียนและแนวทางการพัฒนาโรงเรียน ฯลฯ
  2. มีส่วนร่วมในการศึกษาของบุตรหลานของตนทั้งโรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน เช่น ให้ข้อคิดเห้อนเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ให้ข้อมูลด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น คุณลักษณะ ความรู้ความสามารถ ความถนัดความสนใจ ให้ความอนุเคราะห์อำนวนความสะดวกช่วยเหลือดูแลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน เช่น จัดหาสื่ออุปกรณื แหล่งความรู้ร่วมเป็นวิทยากร ฯลฯ ร่วมประเมินผงการเรียนรู้ของบุตรหลานเพื่อให้ทราบผบการพัฒนาที่แท้จริงที่ปรากฏกับนักเรียนทั้งด้านความรู้ความคิด คุณธรรมค่านิยม ความประพฤติและการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ฯลฯ
  3. ให้ความร่วมือในการควบคุมดูแลแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ด้านความประพฤติ ด้านสุขภาพจิต และการเรียน เป็นต้น
  4. สนับสนุนการดำเนินตามแผน โครงการกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ในลักษณะต่างๆ เช่นให้ความอนุเคราะห์ด้านวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ แรงงานและกำลังความคิด เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามที่กำหนดในธรรมนูญโรงเรียน
  5. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาโรงเรียน รวมทั้งชื่นชมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน

 

                บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ(เขตพื้นที่การศึกษา) เป็นหน่วยงานดูแลโรงเรียนนอกเหนือจากการกำหนดนโบาย มาตรการ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้

  1. สร้างจิตสำนึกและค่านิยมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุกฝ่ายในหน่วยงาน
  2. พัฒนามาตรฐานโรงเรียนในแต่ละระดับให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัยหา ปัจัยและยริหารของพื้นที่ให้มากที่สุด โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม
  3. กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน ตรวจสอบการบริหาร และการจัดการเรียนรู้เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพ และมาตรฐานเป็นไปตามนโบายของชาติ
  4. พัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติและภาวะผู้นำ ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี
  5. พัฒนาระบบเครื่อข่าย ข้อมูลสารสนเทศ ให้เป็นปัจจุบัน และครอบครัวข้อมูลทั้งในเชิงกายภาพ แลคุณภาพที่สมารถนำไปใช้ได้สะดวก รวดเร็วสำหรับงานทุกระดับ
  6. ประสานเชื่อมโยง อำนวยความสะดวก สนับสนุนและส่งเสริมให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งและสามารถบริหารจัดการด้วยตนเองได้ โดยเป็นศูน์ประสานเครื่อข่ายการพัฒนา ทั้งด้านการบริหาร ด้านวิชาการ นวัฒกรมม ข้อมูลข่าวสารสนเทศระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน และโรงเรียนกับชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ
  7. จัดทำแผนการติดตาม กำกับ นิเทศโรงเรียน กำหนดแนวปฏิบัติการตรวจสอบประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยกำหนดรูปแบบ เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน เพื่อรับรองโรงเรียนที่มีคุณภาพที่พึงประสงค์ และใช้ผลการเก็บรวบรวมเพื่อการพัฒนาเน้นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายและโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑืการประเมิน
  8. ประกาศเกียรติคุณแก่รางวัลโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ในการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           การนำมาตรฐานสู่โรงเรียนและห้องเรียนเป็นยุทสาสตร์บริหารที่จะทำให้สถาพที่พึงประสงค์ของการจัดการการศึกษาเกิดขึ้น หรือปฏิบัติจริงในโรงเรียน เช่นผู้บริหารดรงเรียน ครู อาจารย์ กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ฯลฯ ต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำ ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในทุกระบบของโรงเรียน โดยมีเป้าหมายไปสู่วิสัยทัศที่ทุกฝ่ายร่วมกันกำหนด


           

ที่มา http://arc.nstru.ac.th/be/sc1.html




00108 โดย kruinter.com 2009-04-28 02:41:15 v : 3357



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา