ผู้นำโรงเรียนกับการกำหนดทิศทาง


ผู้นำโรงเรียนกับการกำหนดทิศทาง

 

                                                                                                          

                                                                                                              

                การกำหนดทิศทางของโรงเรียนเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เป็นครูใหญ่จะต้องทำให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาของตน การกำหนดทิศทาง (Direction setting) ที่ดี ควรครอบคลุมภารกิจ 3 ด้านอย่างชัดเจน ได้แก่

1.    การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building shared vision) ของโรงเรียน

2.             การสร้างฉันทามติร่วมกันต่อเป้าหมาย(Developing consensus about goals)

3.             การกำหนดความคาดหวังต่อผลงานไว้สูง (Creating high performance expectations)

บทบาทของครูใหญ่ในการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School vision)

        ในฐานะผู้นำโรงเรียน ครูใหญ่ควรใช้พฤติกรรมการเป็นผู้นำแบบการเปลี่ยนสภาพ  

        (Transformational leadership) เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School vision) ดังนี้

1.             ช่วยให้เพื่อนร่วมงานเข้าใจและตระหนักถึงวัตถุประสงค์รวมของโรงเรียน

2.             ริเริ่มให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่คณาจารย์ให้ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

3.             สนับสนุนให้การยอมรับต่อวิสัยทัศน์ดังกล่าวอย่างจริงใจและไม่ใช้วิธีบังคับคนอื่นมิให้แสดงทัศนะของตน

4.             ทำให้วิสัยทัศน์เกิดความน่าสนใจ น่าท้าทายแก่คณะครู อาจารย์ พร้อมทั้งเสนอให้เห็นว่า วิสัยทัศน์ดังกล่าวมีโอกาสสำเร็จสูง ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันและยอมเปลี่ยนแปลงวิธีทำงานใหม่

5.             ช่วยขยายความและตีความหมายของวิสัยทัศน์ให้เป็นรูปธรรมในลักษณะกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติทั้งด้านการเรียนการสอน และงานสนับสนุนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน

6.             ช่วยสร้างความเข้าใจแก่คณะครู อาจารย์ให้สามารถมองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบทภายนอกที่กำลังเปลี่ยนแปลงกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

7.             ช่วยสร้างมุมมองของคณะครู อาจารย์ถึงพันธกิจที่สำคัญของสังคม (Social mission) เช่น ค่านิยมทางสังคมเรื่อง ความเสมอภาค (Equality) ความยุติธรรม(Justice)และความสัตย์ซื่อถือคุณธรรมยึดมั่นหลักการ (Integrity) เป็นต้น ดังนั้นในฐานะที่โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม พันธกิจของโรงเรียน (School mission) จะต้องสอดคล้องกับค่านิยมที่เป็นพันธกิจของสังคม

8.             ผู้บริหารโรงเรียนต้องใช้ประโยชน์ในทุกโอกาสที่มี เพื่อการสื่อความหมายเรื่องวิสัยทัศน์ของโรงเรียนให้คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ

บทบาทของครูใหญ่ในการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (School goal setting)

1.             ให้แนวทางและกระบวนการในการจัดทำเป้าหมายของโรงเรียนแก่คณะครู รวมทั้งการวิเคราะห์ทบทวนเป้าหมายโรงเรียน ด้วยวิธีเน้นกระบวนการแก้ปัญหา(Problem  solving process) การวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา

2.             เน้นการใช้การทำงานของครูเป็นทีมงานและรายบุคคลในการจัดทำหรือวิเคราะห์ทบทวนความคืบหน้าของเป้าหมายดังกล่าว

3.             ช่วยปรับให้เป้าหมายของกลุ่มหรือครู อาจารย์ รายบุคคล มีความสอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายรวมของโรงเรียน

4.             สร้างมติร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายของโรงเรียนและเป้าหมายกลุ่ม โดยจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่จะบรรลุเป้าหมายไว้ชัดเจน

5.             เมื่อต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญและกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น จะต้องยึดเอาเป้าหมายเป็นเกณฑ์เพื่อการตัดสินใจนั้น

6.             กระตุ้นคณะครูในฐานะผู้มีส่วนกำหนดเป้าหมายโรงเรียน ให้ตรวจสอบทบทวนตนเองว่า มีความงอกงามด้านวิชาชีพขึ้นเพียงไร เมื่อต้องปฏิบัติไปสู่เป้าหมายนั้น

7.             ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูถึงแนวทางพัฒนาให้เกิดความงอกงามด้านวิชาชีพแก่ครู

8.             ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาด้านวิชาชีพของครูอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน


บทบาทของครูใหญ่ในการกำหนดความคาดหวังต่อผลงานไว้สูง
(Creating hign performance expections)

1.             คาดหวังให้ครูเป็นผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ ทำงานหนักขึ้นและมีความเป็นมืออาชีพ คุณลักษณะเหล่านี้ยังใช้เพื่อการคัดเลือกครูใหม่อีกด้วย

2.             ทุกคนต้องเอาใจใส่และทุ่มเทต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน

3.             สร้างวัฒนะธรรมคุณภาพที่มุ่งความเป็นเลิศของผลผลิต และบริการที่มีคุณภาพของโรงเรียน

4.             ปฏิเสธที่จะยอมผลงานใด ๆ ที่เป็นระดับชั้นสอง

5.             มุ่งมั่นและผูกพันต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนสูง

6.             แสดงทัศนะของตนต่อสาธารณชนได้ชัดเจนว่า อะไรคือ สิ่งที่ดีและถูกต้อง

7.             แสดงถึงการให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของเรื่อง ความยุติธรรม ประชาธิปไตย ชุมชน ความเป็นเลิศและความเสมอภาค เป็นต้น

ที่มา  สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์  http://suthep. cru.in.th/



00010 โดย ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2009-03-01 21:51:05 v : 3547



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา